Shelf life สั้น ต้นทุนสูง!’โฟร์โมสต์’สุดยื้อ ปิดโรงงานพาสเจอไรซ์

บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตนมโฟร์โมสต์ เผยแพร่เอกสารแถลงการณ์ ชี้แจงกรณีเลิกผลิตและทำตลาดนมพาสเจอไรซ์ในประเทศไทย โดยระบุว่า
บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์ ”ยุติการผลิตและจัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรส์”
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กแฟนเพจโฟร์โมสต์ ได้ตอบข้อความแฟนคลับที่เข้าไปถามถึงนมยี่ห้อดังกล่าวว่าหาซื้อได้ยากในช่วงเวลานี้ ว่า บริษัทฯ จะยุติการผลิตและการจัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ยังคงสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอื่น ๆ ของโฟร์โมสต์ที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้ตามปกติ
“ขอแจ้งว่าเป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบตามแนวทางการดำเนินธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ โดยบริษัทจะมุ่งเน้นการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลาย สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น” แฟนเพจโฟร์โมสต์ ระบุ
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า อายุนมพาสเจอร์ไรส์ นมพาสเจอร์ไรส์ เก็บไว้ได้เพียง 3 วัน เพราะการพาสเจอร์ไรส์ทำลายจุลินทรีย์ได้ไม่หมด หากเก็บนานๆจุลินทรีย์จะเพิ่มขึ้นมาก เมื่อดื่มเข้าไปอาจทำให้ท้องร่วงได้ อย.จึงได้กำหนดให้มีอายุแค่ 3 วัน
โฟร์โมสต์ เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงาน และกำกับดูแลคุณภาพโดยกลุ่ม รอยัลฟรีสแลนด์ คัมพินา (Royal Friesland Campina) กลุ่มสหกรณ์โคนมรายใหญ่ จากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเบลเยียม ปัจจุบันมีบริษัทในเครือกว่า 34 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยบริหารงานโดย บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพินา (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
โฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) เริ่มดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและนมคืนรูป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 โดยก่อตั้งบริษัท โฟร์โมสต์ อาหารนม (กรุงเทพฯ) จำกัด [1] พร้อมทั้งเปิดโรงงานแห่งแรกขึ้น ที่บริเวณหลักสี่กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เพิ่มผลิตภัณฑ์นมข้นหวานและนมข้นจืด ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการส่งออก ไปยังกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์, เขตปกครองพิเศษฮ่องกง, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมยูเอชที และในปี พ.ศ. 2536 เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวยูเอชที
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2535 โฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) ขายธุรกิจไอศกรีมให้แก่วอลล์ เนื่องจากต้องการบริหารธุรกิจหลัก คือจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ โฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) ยังเคยดำเนินธุรกิจ ร้านจำหน่ายไอศกรีม ศาลาโฟร์โมสต์ ซึ่งเปิดสาขาอยู่กับโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์สยาม เป็นต้น แต่ปัจจุบันยุติกิจการนี้แล้ว
30มิถุนายน2565 บริษัท โฟร์โมสต์ได้ยุติการดำเนินธุรกิจนมพาสเจอร์ไรซ์ในประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นที่กลุ่มผลิตภัณฑ์นมที่สามารถเก็บได้ยาวนานมากยิ่งขึ้นแต่ยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอื่นๆ ของแบรนด์โฟร์โมสต์ ที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้ตามปกติ ทั้งโฟร์โมสต์ ยูเอชที โฟร์โมสต์ โอเมก้า เป็นต้นและจะยังคงผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่นมพาสเจอร์ไรซ์ตามปกติ
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 พบว่า บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2537 ทุนปัจจุบัน 220 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 388 อาคารเอสพี ชั้นที่ 5 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด การผลิตน้ำนมสด (ยกเว้นน้ำนมดิบ)ปรากฏชื่อกรรมการ ดังนี้
นายอาณัติ อาภาภิรม
นายวิภาส ปวโรจน์กิจ
นางลิซ่า เซียว
นายโอฬาร โชว์วิวัฒนา
นายราชเทพ นฤหล้า
นางสาริณี ชุ่มชื่นสุข
นายอาเมีย มูเนีย
นายสรพล โสนุตมางค์
ทั้งนี้ นมโฟร์โมสต์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมภายใต้ตราสินค้า “โฟร์โมสต์” ในประเทศไทย และส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอินโดจีน รวมถึงเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโคนม ภายใต้ตราสินค้าอื่นๆ ได้แก่ นกเหยี่ยวฟอลคอน เดบิค เรือใบ มายบอย โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ และมีโรงงาน 2 แห่ง ที่สำโรง สมุทรปราการ และหลักสี่ กรุงเทพฯ
นับเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 8 ปี