Biznews

3 กลยุทธ์ : ทางรอดธุรกิจอาหารเสริมในอนาคต

แม้ว่าในช่วงปี 2015-2030 ตลาดอาหารเสริมในไทยจะยังคงมี แนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่องราว 7% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากกระแสรักสุขภาพ รายได้ประชากรที่สูงขึ้น และการขยายตัวของช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ อย่างไรก็ดี อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ พบว่าตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป มูลค่าตลาดอาหารเสริมในไทยจะเริ่ มมีขนาดเล็กลงจากการเข้าสู่สั งคมผู้สูงอายุ

ผลสำรวจของอีไอซีเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม และพืชสมุนไพรในยุคปัจจุบัน พบว่ากลุ่มผู้บริโภคช่วงอายุเกิ น 50 ปีให้เหตุผลว่าอาหารเสริมในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้หยุดบริโภคและหันไปหาวิธีอื่นในการดูแลสุขภาพแทน

เช่น ออกกำลังกายบ่อยขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรั บประทานอาหาร เป็นต้น ประกอบกับกระแสจากธรรมชาติ และความต้องการสินค้าที่มี ความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (personalized) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสินค้าที่ มีในตลาดปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ผู้ บริโภคกลุ่มนี้อีกต่อไป โดยอีไอซีมองว่าหากผู้ ประกอบการไม่มีการปรับกลยุทธ์ ทางธุรกิจ จะส่งผลให้มูลค่าตลาดอาหารเสริ มในอีก15 ปีข้างหน้าลดลงเฉลี่ย 8% ต่อปี ดังนั้น อีไอซีแนะผู้ประกอบการปรับตัวรั บมือกับความท้าทายดังกล่าวด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

กลยุทธ์ประการแรกคื อการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารเสริ มใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้ องการของกลุ่มผู้สูงอายุ จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่าในปี2030 ไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ถึง 20% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งโครงสร้างประชากรที่เปลี่ ยนแปลงไปดังกล่าว ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการบริ โภคอาหารเสริมเปลี่ ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องศึ กษาและทำความเข้าใจกับความต้ องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าที่ ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ สูงอายุได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริ มที่ช่วยบำรุงสมองและความจำ รวมถึงอาหารเสริมที่ช่ วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่ างๆ ที่ส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มผู้สู งอายุ เช่น โรคหัวใจและความดัน กระดูกและข้อเสื่อม เบาหวาน มะเร็ง รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกั บสายตาและการได้ยิน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังมีขายในท้องตลาดค่อนข้างน้อย ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชั ดเจนคือตลาดอาหารเสริมประเภทวิ ตามินรวม ซึ่งมีมูลค่าตลาดมากถึงราว 3 พันล้านบาท แต่กลับพบว่ามีวิตามินรวมสำหรั บผู้สูงอายุอยู่เพียง 3% ของมูลค่าตลาดเท่านั้น สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่ างและโอกาสทางธุรกิจที่ยังเติ บโตได้อีกมากในอนาคต

กลยุทธ์ต่อมาคือ การคิดค้นและพัฒนาอาหารเสริมที่ ใช้วัตถุดิบจากสมุนไพรหรื อสารสกัดจากธรรมชาติ ทดแทนอาหารเสริมสังเคราะห์เพื่ อให้สอดรับกับกระแสคืนสู่ ธรรมชาติ (Back to the Nature) ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งอีไอซีพบว่าในช่วงปี 2011-2015 ตลาดอาหารเสริมที่มาจากธรรมชาติ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมสู งถึง13% ต่อปี ขณะที่อาหารเสริมสังเคราะห์ทั่ วไปเติบโตสะสมเฉลี่ยเพียง 7-8% ต่อปีเท่านั้น (รูปที่ 2) ซึ่งสะท้อนได้อย่างชัดเจนถึ งความเชื่อมั่นของผู้บริ โภคชาวไทยที่มีต่อผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมที่มาจากธรรมชาติ ทั้งในแง่ความปลอดภัย รวมถึงผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่ ต่ำกว่าอาหารเสริมสังเคราะห์ อย่างไรก็ดี เราพบว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมที่มาจากธรรมชาติยั งมีขายในท้องตลาดเพียงไม่กี่ชนิ ดเท่านั้น เช่น ซุปไก่สกัด ผลไม้สกัด หรือสมุนไพรบางชนิด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการวิจั ยและพัฒนาเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพรและสารสกั ดจากธรรมชาติยังมีอยู่น้อย จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ เล่นในตลาดอาหารเสริมในการสร้ างมูลค่าเพิ่มจากสมุนไพรหรื อสารสกัดจากธรรมชาติได้อีกมาก

และกลยุทธ์ประการสุดท้ายคื อการให้บริการผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมเฉพาะบุคคล (personalized supplements) โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลส่ วนบุคคลของผู้บริโภคในรู ปแบบของข้อมูลเชิงกายภาพ หรือ DNA เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำและผลิ ตให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลผ่ านทางเว็บไซด์หรือแอปพลิเคชัน ตัวอย่างเช่น“WellPath” ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในสหรั ฐฯ ที่มีการให้บริการอาหารเสริ มเฉพาะบุคคลผ่านทางระบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคเพียงแค่ลงทะเบี ยนทางเว็บไซต์พร้อมบันทึกข้อมู ลต่างๆ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด อายุ เพศ กิจกรรมชีวิตประจำวัน และเป้าหมายที่ต้องการ และรับบริการสรุปข้อมูลพร้ อมผลวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้ านโภชนาการทางออนไลน์ ซึ่งอาหารเสริมเฉพาะบุคคล 1 เดือนของ WellPath จะมีราคาอยู่ที่ 49.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีราคาแพงกว่าการซื้อวิตามิ นรวมทั่วไปสำหรับ 1 เดือนแค่ราว 10% เท่านั้น ซึ่งโมเดลธุรกิจในลักษณะนี้เป็ นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้ ประกอบการลดค่าใช้จ่ายในการบริ หารจัดการธุรกิจแบบเดิมลงได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการหน้าร้ านและระบบห่วงโซ่อุปทานที่เป็ นต้นทุนหลักของธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศั กยภาพการแข่งขันด้วยการใช้ ประโยชน์จากนวั ตกรรมและเทคโนโลยีนี้ควบคู่กั นไป

ผู้ประกอบการในตลาดอาหารเสริ มควรเล็งปรับกลยุทธ์ทางธุรกิ จเพื่อให้สามารถเติบโตอย่างต่ อเนื่อง จากกระแสรักสุขภาพในไทยส่งผลให้ ผู้เล่นกลุ่มอื่นในธุรกิ จอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ธุรกิจอาหารสุขภาพ เริ่มหันมาพัฒนาสินค้าและบริ การที่ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอาหารหรื อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแร่ ธาตุและวิตามิน (fortified food & beverage) ซึ่งถือเป็นสินค้ าทดแทนอาหารเสริม ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารเสริ มต้องศึกษาทำความเข้าใจความต้ องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเพื่ อสร้างจุดขายที่แตกต่ างและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่ งขึ้น รวมไปถึงการปรับใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือการร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ เล่นอื่นในห่วงโซ่อุปทาน เช่น สถาบันวิจัยสมุนไพร หรือโรงพยาบาล สู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจรู ปแบบใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรี ยบทางการแข่งขันในระยะยาว

การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่ผู้ ประกอบการในธุรกิจอาหารเสริมไม่ สามารถละเลยได้เพราะนอกจากจะเป็นกลยุทธ์ ทางการตลาดที่สำคัญแล้วยังเป็ นการสื่อสารถึงภาพลักษณ์ของสิ นค้าได้อีกด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทุ กชนิดไม่สามารถโฆษณาเพื่อระบุถึ งสรรพคุณของตัวสินค้าได้ ส่งผลให้ผู้เล่นต้องหาวิธีสื่ อสารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางอื่ นแทน ยกตัวอย่างเช่น จุดขายของซุปไก่สกัดที่สื่ อสารถึงภาพลักษณ์ของความสำเร็ จในชีวิตและส่งผลต่อการรับรู้ ของผู้บริโภคในเชิงบวกต่อตัวผลิ ตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การสร้างแบรนด์นี้จำเป็นต้ องอาศัยความต่อเนื่ องและความเหมาะสมตามกลุ่มเป้ าหมายของสินค้าในแต่ละประเภท

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: