โปรโมชั่น/ออนไลน์พ่นพิษฉุดเม็ดเงินโฆษณาต่ำเป้า
จากการเติบโตของสื่อออนไลน์ที่พุ่งพรวดสวนทางกับสื่อหลักแบบเดิมๆ ทั้งสื่อทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ บวกกับการจัดรายการโปรโมชั่นในกลุ่มสินค้าประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มในช่วงหน้าร้อนนี้ที่ร้อนแรงกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมาทำให้ภาพรวมของเมโเงินในอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้ทำท่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากเป้าหมายเดิมที่มีการคาดการณ์กันว่าปีนี้จากสถานการณ์หลายอย่างที่คลี่คลายไปในทางที่ดีน่าจะเป็นผลดีทำให้ตลาดกลับมาเติบโตที่ตัวเลข 2 หลักหลังจากไม่เติบโตมาหลายปีมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขเกิดขึ้น
ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI มองว่า แม้ว่าปัจจัยลบที่มีผลต่ออุตสาหกรรมโฆษณาจะลดน้อยลง แต่หลังจากพูดคุยกับผู้ประกอบการหลายรายพบว่ากำลังซื้อยังไม่กลับมาเต็มที่ ทำให้แบรนด์ยังชะลอการใช้งบเพื่อทำการโฆษณา แต่หันไปใช้กับเรื่องของการจัดรายการโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมและออนไลน์แทน ปัจจัยดังกล่าวจำต้องมีการปรับประมาณการของอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้เติบโตเหลือ 6% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 10%
ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2561 นี้ 5 อันดับอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด ประกอบด้วย
1. โฮมช้อปปิ้งและไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง เติบโตสูงถึง 600% เห็นได้จากตัวเลขในช่วง 2 เดือนแรกปี 2560 อยู่ที่ 117 ล้านบาท ปีนี้เพิ่มเป็น 811 ล้านบาท
2.ภาครัฐ เติบโต 50%
3. กลุ่มเครื่องดื่ม 36%
4. รถปิคอัพ ลดลงประมาณ 29-30%
5. โทรศัพท์มือถือ ลดลง 12%
ส่วนการทำแคมเปญและโปรโมชั่นในช่วงหน้าร้อนนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. – พ.ค. 2561 นี้ พบว่าโดยรวมแล้วมีอัตราการเติบโต 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งตัวเลขติดลบราว 8-10% โดยเมื่อพิจารณาแยกเป็นเดือน มีนาคม 2561 มูลค่า 8,800 ล้านบาท โต 4% เมษายน 8,000 ล้านบาท โต 5% และเดือน พฤษภาคม มีมูลค่า 6,700 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แน่นอนว่าโฮมช้อปปิ้งใช้เงินมากสุด แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มเครื่องดื่มก็แข่งขันกันรุงแรง เนื่องจากเป็นช่วงหน้าขายจึงมีการปล่อยแคมเปญรับซัมเมอร์กันตั้งแต่เมื่อช่วง กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมารวมกันแล้วมากกว่า 40 แคมเปญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ อาทิ เป๊ปซี่ ,โค้ก ,เนส์ทเล่,ไทยเบฟ,อิชิตัน ,โอสถสภา เป็นต้น รวมท้ังค่ายรถยนต์ที่จะมีการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2018 ที่กำลังจะถึงนรี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสัดส่วนของกาใช้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อทีวีจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2559 มีสัดส่วนประมาณ 62% ลดลงเหลือ 56.6% เมื่อปีที่ผ่านมา และ 2 เดือนนี้อยู่ที่ 53% แต่ในเชิงมูลค่ายังนับว่ามีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ ขณะที่สื่อออนไลน์แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากปี 2559 มีสัดส่วน 9% เพิ่มเป็น 4% ในปี 2560 และ 2 เดือนนี้อยู่ที่ 18.6%
ส่วนสื่อนอกบ้านปี 2559 มี 7.7% ลดลงจากปี 2560 ที่มี 9.5% และช่วง 2 เดือนแรกอยู่ที่ 13%
ด้านสื่อสิงพิมพ์และแม็กกาซีนยังมีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยสื่อหนังสือพิมพ์ เคยมีสัดส่วน 9.4% ในปี 2559 ลดลงเหลือ 7.9% เมื่อปีทีผ่านมา และในช่วง 2 เดือนนี้เหลืออยู่ที่ 6.1%
แม้ภาพรวมของการใช้เงินในอุตสาหกรรมโฆษณาจะไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้น แต่การกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังจากซึมมานานก็เป็นนิมิตหมายที่ดีแล้วในเบื้องต้น
หลังจากสื่อหลักโดน Disruption จากเทคโนโลยีชนิดแทบเอาตัวไม่รอดมาแล้ว …..