“แฮกกาธอน”หมัดเด็ดเทสโก้สู้ศึกค้าปลีก
ในฐานะผู้นำวงการค้าปลีกในประเทศไทย “เทสโก้ โลตัส” ที่ดำเนินงานโดยบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2537 เพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) โดยใช้ชื่อว่า “ห้างโลตัส” (Lotus Supercenter) โดยเปิดให้บริการสาขาแรกที่ศูนย์การค้าซีคอนแสควร์ บนถนนศรีนครินทร์
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541-2543 เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคเอเชีย จนกลายเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ทำให้ร้านค้าปลีกในประเทศไทยประสบปัญหาทางการเงิน และมียอดขายลดลงประมาณร้อยละ 20 ถึง 30
จากสถานการณ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2541 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มเทสโก้จากสหราชอาณาจักร อันนำไปสู่การสร้างธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ภายหลังการเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ จากจุดเริ่มต้นนี้เองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จนกลายเป็น “เทสโก้ โลตัส” จวบจนปัจจุบัน
ปัจจุบันเทสโก้ โลตัส มีสาขาทั้งหมดประมาณ 1,900 สาขาทั่วประเทศ และสิ้นปีนี้คาดว่าจะทะลุถึง 2,000 สาขาเป็นอย่างน้อย โดยมีร้านค้า 5 ฟอร์แมตเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า ได้แก่ พลัส มอลล์, เอ็กซ์ตร้า, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด และ เอ็กซ์เพรส โดยให้บริการลูกค้ามากกว่า 15 ล้านคนในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนั้น เทสโก้ โลตัส ยังมีช่องทางจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 2 ช่องทาง คือ เทสโก้ โลตัส ช้อป ออนไลน์ ซึ่งมีสินค้ามากกว่า 20,000 รายการ รวมถึงอาหารสด สินค้าอุปโภคบริโภค และ ร้านค้าของเทสโก้ โลตัส บนเว็บไซต์ลาซาด้า ซึ่งมีสินค้ามากกว่า 12,000 รายการ อาทิ ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม
ด้วยความที่อุณหภูมิค้าปลีกที่ดุเดือดอยู่ตลอดเวลา การคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่โดนใจและตรงใจในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายคือสิ่งที่ทุกค่ายต้องการและปรารถนาเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน
เช่นเดียวกับเทสโก้ โลตัส ที่นอกจากเดินหน้าขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 100 สาขาครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ล่าสุด ค่ายนี้ได้คลอดแคมเปญใหม่ล่าสุดด้วยการระดมไอเดียจากกลุ่มสตาร์ทอัพที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ให้เข้ามาร่วมโครงการ ภายใต้ชื่อ “แฮกกาธอน” รายแรกของวงการค้าปลีกไทยเพื่อเเฟ้นหานวัตกรรมตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าในยุคดิจิทัล พร้อมนำไอเดียชนะเลิศต่อยอดธุรกิจเป็นสเต็ปต่อไป
เชื่อแน่ว่า หลายคนคงสงสัยว่า แฮกกาธอนคืออะไร แฮกกาธอน มาจากคำว่า “แฮก” และ “มาราธอน” ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่เหล่านักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และบุคคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาร่วมระดมสมองในการคิดค้นไอเดียและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยสามารถจัดขึ้นเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งวันไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์ติดต่อกัน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมักจะใช้เวลาทั้งหมดในการระดมความคิดเพื่อนำเสนอในวันสุดท้ายต่อคณะกรรมการ เพื่อตัดสินหาผู้ชนะ
งานแฮ็คคาธอน เดี๋ยวนี่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้น มีงานจัดงานแฮ็คคาธอนขึ้นมาหลายครั้งมาก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยรู้จัก และไม่เคยรู้เลยว่าในประเทศไทยมีจัดงานนี้ขึ้นมาหลายครั้งแล้ว
ดังนั้น อันดับแรก เรามาทำความรูจักกับแฮคกาตอนก่อนเลยดีกว่า
แฮ็คคาธอน หรือ ภาษาอังกฤษเขียนว่า Hackathon บางที่ก็บอกว่า มาจากคำว่า Hacker + Marathon
ซึ่ง คำว่า ‘Hacker’ ก็มักจะถูกเข้าใจว่าเป็นพวกนักเจาะระบบต่างๆ เพื่อขโมยข้อมูล หรืออาจจะแค่โชว์เหนือ เรียกว่าฟังดูไม่ดีเท่าไหร่นัก แล้วคำว่า Hack จริงๆแล้วหมายถึงอะไรได้อีก
‘Hacker’ จริงๆแล้วคือคนที่ไม่ค่อยจะพอใจกับสิ่งที่มีให้ใช้อยู่แล้วเท่าไหร่นัก เค้าเลยแฮ็คอันที่เค้าคิดว่าดีกว่าขึ้นมา จะเรียกว่าเป็น Innovator หรือ Engineer ก็ยังได้ ทีนี้พอบวกกับคำว่า Marathon เข้ามา เลยหมายถึงงานที่รวมเอาเหล่าแฮ็คเกอร์มา ‘Hacking’ กันแบบมาราธอน 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง หรือ 36 ชั่วโมงแบบไม่หลับไม่นอนก็ยังมี ซึ่งบริษัทแม่ที่ประเทศอังกฤษนำมาใช้เป็นที่แรกและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีต่อยอดมาเป็น TESCO NOW จึงถูกนำมาใช้ที่ประเทศไทยเป็นที่แรกในเอเชีย
สำหรับการจัดงานแฮกกาธอนอาจยังไม่คุ้นเคยกันมากในเมืองไทยแต่ในเทสโก้ กรุ๊ป ประเทศอังกฤษได้ดำเนินงานมาแล้วหลายปี ซึ่งมีไอเดียที่ถูกนำมาใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นเทสโก้ นาวเป็นบริการขนส่งสินค้าภายใน 1 ชั่วโมงจากเดิมต้องใช้เวลาเกือบครึ่งวัน อีกตัวเรียกว่าเทสโก้ ดิสคัฟเวอรี่ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ร่วมกับเทสโก้ แม็กกาซีน แสดงเนื้อหาแบบอิยเตอร์แอคทีฟซึ่งไอเดียนี้เป็นผู้ชนะจากแฮกกาธอนปีแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลอาจถูกนำมาใช้ในไทยด้วยก็เป็นได้
นอกจากนี้ แฮกกาธอน ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ แฮกเดย์, แฮกเฟสต์ หรือ โค้ดเฟสต์ เป็นอีเวนต์ที่นักเขียนโปรแกรมและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงนักออกแบบกราฟิก, นักออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ และผู้จัดการโครงการ มาช่วยเหลือกันอย่างคร่ำเคร่งในโครงการซอฟต์แวร์[1] ในบางโอกาส ก็มีฮาร์ดแวร์มาเป็นส่วนเสริมเช่นกัน ซึ่งงานแฮกกาธอน มักจะมีอายุระหว่างหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์ บางงานแฮกกาธอนมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ทางสังคม แม้ว่าในหลายกรณีเป้าหมายคือการสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ แฮกกาธอนมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นแบบเจาะจง ซึ่งอาจรวมถึงภาษาโปรแกรมที่ใช้, ระบบปฏิบัติการ, แอพพลิเคชัน, เอพีไอ หรือประเด็นและกลุ่มผู้เข้าชมของโปรแกรมเมอร์ ในกรณีอื่น ๆ อาจไม่มีข้อจำกัดอยู่กับชนิดของซอฟแวร์ที่ถูกสร้างขึ้น
คำว่า “แฮกกาธอน” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “แฮก” และ “มาราธอน” ซึ่งคำว่าแฮกได้รับการนำมาใช้ในความหมายของการเขียนโปรแกรมสำรวจตรวจค้น โดยไม่ได้มีความหมายอ้างอิงถึงอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คำนี้ดูเหมือนว่าจะได้รับการทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระโดยนักพัฒนาของโอเพนบีเอสดี และทีมการตลาดของซัน ซึ่งการใช้นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999
สลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า เทสโก้ โลตัส เป็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมมาเพื่อใช้ในการพัฒนาการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าในยุคดิจิทัล นอกจากนั้นภายในการบริหารจัดการธุรกิจเอง นวัตกรรมยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ความร่วมมือ (partnership) เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมต่างๆ โดยเป็นการดึงจุดแข็งและความเชี่ยวชาญของแต่ละภาคส่วนเพื่อสร้างสรรค์โซลูชั่นที่สามารถตอบความต้องการของลูกค้าและธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ จึงเป็นที่มาของการจัด เทสโก้ โลตัส แฮกกาธอน 2018 ขึ้น ซึ่งเป็นการจัดแฮกกาธอนครั้งแรกของเทสโก้ โลตัส และของวงการค้าปลีกไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ บุคคลจากวงการต่างๆ รวมไปถึงนิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสในการร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่และลูกค้ายุคดิจิทัล
นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล ที่ถูกผลักดันด้วยเมกะเทรนด์ 5 ข้อที่สำคัญคือ 1).ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น 2).ความใส่ใจสุขภาพ 3). โครงสร้างครอบครัวและสังคมผู้สูงอายุ 4). ความสะดวกสบายและประสบการณ์ และ 5). ความยั่งยืน
ทั้งนี้ เทสโก้ โลตัส แฮกกาธอน 2018 จัดขึ้นภายใต้ธีม ค้าปลีกยุคใหม่ สู่ประเทศไทย 4.0 หรือ Revolutionising Retail towards Thailand 4.0 โดยใช้โจทย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อร้านค้าเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีบทบาทกับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างยิ่ง และมีลูกค้าและคนในชุมชนเป็นจำนวนมากใช้บริการในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยมียอดการซื้อสินค้าที่ร้านเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส มากกว่า 415 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งคาดหวังว่า แนวความคิดและนวัตกรรมต่างๆ ที่ได้รับจากการทำแฮกกาธอนครั้งนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับลูกค้าและธุรกิจเทสโก้ โลตัสแล้ว ยังสามารถถูกนำไปต่อยอดโดยร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนรายอื่นๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการยกระดับธุรกิจค้าปลีกโดยรวมของประเทศไทย ให้สามารถเป็นค้าปลีก 4.0 ได้อย่างเต็มตัว
เทสโก้ โลตัส แฮกกาธอน 2018 เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ ทั้งในประเภทบุคคลและทีม ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจสตาร์ทอัพ บุคคลทั่วไปจากทุกวงการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2561 จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 โดยสามารถศึกษษข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครผ่านทาง www.facebook.com/TescoLotusHackathon2018และจะมีการจัดกิจกรรม Open House ในวันที่ 3 มีนาคม 2561 เพื่อเป็นการปฐมนิเทศให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันแฮกกาธอน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจของเทสโก้ โลตัส และได้รับความรู้จากกูรูในสาขาต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ก่อนเริ่มต้นแข่งขันในวันที่ 16-18 มีนาคม ให้เวลาแข่งขันทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้เข้าสมัครได้ระดมความคิดและนำเสนอไอเดียกันอย่างเต็มที่ โดยคณะกรรมการตัดสินประกอบไปด้วย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และผู้บริหารเทสโก้ โลตัส ชิงรางวัลมูลค่า 400,000 บาท ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ ลอนดอน เพื่อไปดูงานที่เทสโก้ แล็บ และพบปะกับผู้บริหารกลุ่มเทสโก้ นอกจากนั้นยังมีรางวัลเงินสดสำหรับทีมที่ได้รับการคัดสรรค์ไอเดียในประเภทต่างๆ รวมมูลค่ารางวัลทั้งหมดกว่า 450,000 บาท
นอกจากรางวัลแล้ว ทางเทสโก้ โลตัสยังเชื่อมั่นว่าโอกาสในการได้ทำงานร่วมกับธุรกิจขนาดใหญ่และการนำไอเดียมาพัฒนาต่อยอดใช้งานจริงภายในร้านค้าของเทสโก้ โลตัส จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยผลักดันวงการสตาร์ทอัพของไทย นอกจากนั้นแล้ว ภายในกลุ่มเทสโก้ มีธุรกิจค้าปลีกอยู่ใน 10 ประเทศ ซึ่งอาจนำมาซึ่งโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพไทยในการก้าวสู่เวทีในระดับโลกอีกด้วย
ถือเป็นการเดินหมากครั้งสำคัญของเทสโก้ โลตัสหลังจากปรับเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ที่เป็นคนไทยคนแรก โดยนำเทคโนโลยีบวกไอเดียสตาร์ทอัพซึ่งกำลังเป็นทีนิยมมาเชื่อมโยงกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของสมรภูมิค้าปลีกไทยในเวลานี้
ที่สำคัญ น่าจะสยบข่าวลือที่ว่าขาย ไม่ขาย ได้อย่างหมดความสงสัยเสียที