Biznews

“เวียดนาม” ขุมทองใหม่ธุรกิจความงาม

เวียดนามถือเป็นอีกหนึ่งประเทศอันดับต้นๆ ที่น่าลงทุนและมาแรงในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และยังได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ มากมายจึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปทำการค้าหรือลงทุนในเวียดนาม

นอกจากนี้รัฐบาลเวียดนามยังค่อนข้างเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนคล้ายๆ BOI ของไทย ทำให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะมีนักลงทุนจากประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและเอเชียเข้าไปลงทุนในเวียดนามเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 90 ล้านคน และร้อยละ 60 เป็นคนวัยหนุ่มสาวที่มีกำลังซื้อ และนิยมสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางถึงระดับบน รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ๆ

สำหรับตลาดความสวยความงาม เวียดนาม อาจจะเป็นกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีมูลค่าตลาดน้อยที่สุด เมือ่เทียบกับประเทศอื่นๆ อาทิ ฟิลิปปินท์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีสัดส่วนตลาดความงามที่น่าสนใจคือ เครื่องสำอางมีมูลค่าการนำเข้าสูงที่สุดในบรรดากลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามอื่นๆ และหากมองลึกลงไปในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง พบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ครีมกันแดด และโลชั่น ได้รับความนิยมมากที่สุด


ภาพรวมตลาดและธุรกิจความงามในประเทศเวียดนาม

อุตสาหกรรมความงามของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือ เวียดนาม เติบโตก้าวกระโดด มีอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 30 โดยเฉพาะในกลุ่มมีผู้รายได้ระดับปานกลาง ซึ่งจะมีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 33 ล้านคนในปี พ.ศ. 2565

ปัจจุบัน เวียดนาม มีประชากรสูงกว่า 95 ล้านราย ร้อยละ 30 เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ millennials มีความรู้ สนใจใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รักการดูแลรักษาสุขภาพ ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และชอบผลิตภัณฑ์หรือบริการนำเข้าจากต่างประเทศ

ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2560 ชาวเวียดนามซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวนำเข้าจากต่างประเทศรวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (198,000 ล้านบาท) สูงกว่าปี พ.ศ. 2559 ถึง 3 เท่า

ปัจจัยสนับสนุนสำคัญเกิดจากการเติบโตของศูนย์การค้าของต่างชาติและท้องถิ่น รวมถึงร้านค้าสาขาที่จำหน่ายเครื่องสำอาง เช่น Medicare, Guardian, and Pharmacity ที่มีการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก

ส่วนแบ่งตลาด ตลาดธุรกิจความงามนำเข้าจากต่างประเทศมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 90 และครองตลาดบนทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็น ตลาดธุรกิจความงามภายในประเทศ จับตลาดล่างเป็นหลัก เนื่องจาก สินค้าและบริการภายในประเทศไม่มีเงินทุนในการพัฒนาและวิจัยสินค้าบริการ ขาดแคลนนวัตกรรม การโฆษณาและการตลาด

ตลาดออนไลน์ : ร้อยละ 50 ของสินค้าอุปโภคและบริโภคที่คนนิยมซื้อบนโลกออนไลน์คือ สินค้าความงาม โดยเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิวหน้าเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยสินค้ากลุ่มความงาม เป็นตลาดที่กำลังหอมหวนมากในเวียดนาม ใครที่สามารถเข้าไปตลาดได้ก่อน ย่อมสร้างการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ได้ก่อน นำเทรนด์ตลาดได้


ช่องการลงทุนธุรกิจความงามในประเทศเวียดนาม

ภาพรวมส่วนแบ่งตลาดธุรกิจความงามในเวียดนาม

ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 13

สินค้าและบริการนำเข้าที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวเวียดนาม สามารถจำแนกได้ดังนี้
ฮานอย ชื่นชอบสินค้าและบริการนำเข้าจาก ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี
ดานัง ชื่นชอบสินค้าและบริการนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา
โฮจิมินห์ ชื่นชอบสินค้าและบริการนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส

ทำไม แต่ละพื้นที่จึงชื่นชอบสินค้านำเข้าแตกต่างกัน เป็นผลจากประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ควบคู่กับรุกตลาดก่อนใครในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีตลาดสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่จับตามองของเวียดนามไม่น้อยเช่นกัน

สำหรับโอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทย ขอนำเสนอ 3 เทรนด์ที่เกิดขึ้นในเวียดนามดังนี้

• เทรนด์แรก : Upgraded Demand สินค้าและบริการกลุ่มไฮเอ็น เติบโตมากขึ้นในเวียดนาม จำนวนรถยนต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ใน 3 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเวียดนาม มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และใช้บริการอินเตอร์เน็ต

• เทรนด์สอง : Women are more conscious about beauty health โดยผลวิจัยพบว่า
ผู้หญิงต้องการความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มขึ้น
แฟนหรือสามีอยากให้ตนเองดูดี จะได้ไม่เสียหน้า เวลาพาไปพบเพื่อน
ความสวยช่วยสร้างความมั่นใจ และสร้างความประทับใจให้แก่คนที่พบเห็น

• เทรนด์สาม : the Y Generation
คนเจน Y เริ่มหันเข้าสู่วัฒนธรรมห้าง หมายถึง อะไรๆ ก็ไปห้างสรรพสินค้า
คนเจน Y เริ่มเสพติดการท่องเที่ยว และใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น
กระแสต่างๆ ทั้งเรื่อง แบรนด์ ความคิดใหม่ เทรนด์ใหม่ หรือ Net Idol หรือ Icon เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
กระแสภาพยนตร์ ดารา ละครเกาหลีเข้าไปมีบทบาทมากในเวียดนาม เกือบ 20 ปีแล้ว
คนเวียดนามอยากยกระดับตนเองจากระดับฐานะทางเศรษฐกิจจาก C D เป็น A B ดังนั้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกว่าเขาเหล่านั้นอยู่ในระดับ A B จะเป็นแรงจูงใจที่ได้รับความสนใจหรือตอบสนองมาก

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าความงาม แบ่งเป็นสัดส่วนตามลำดับดังนี้
General Trade (52%) ได้แก่ ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องสำอาง
Modern Trade (20%) ได้แก่ ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต
Direct Sale (17%) ได้แก่ การขายตรง
Boutique (11%) ได้แก่ ศูนย์ความงาม

โอกาสทางการค้าในเวียดนามที่น่าสนใจ
1. ตลาดมีแตกย่อยในหลายส่วน ดังนั้น การเข้าไปตลาดเวียดนามจะต้องเลือกส่วนแบ่งตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการของนักธุรกิจ
2. ผู้บริโภคเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปทั้งระดับความรู้ ความต้องการ เป็นโอกาสที่จะนำสินค้าและบริการเข้าไปแนะนำตลาด
3. ธุรกิจความงามในมุมมองของผู้บริโภคเวียดนาม มองว่าไม่ใช่สินค้าจำเป็นแต่เป็นสินค้าหรูหรา
4. สินค้าที่จะไปเปิดตลาดในเวียดนาม ควรเป็นสินค้าที่เคยเปิดตลาดแล้วในไทยหรือที่อื่น เนื่องจากผู้บริโภคเวียดนามมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัย หากเป็นสินค้าใหม่เลย อาจสร้างความกังวลในตัวสินค้าหรือบริการดังกล่าว
5. ผู้บริโภคต้องการผลลัพธ์จากใช้สินค้าหรือบริการทันที


3. พฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนาม

พฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนามในกลุ่มธุรกิจความงาม มีความเชื่อว่าหากรูปลักษณ์ดี จะส่งผลต่ออาชีพ และรายได้ที่ดีขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มบล็อกเกอร์ และศิลปินดารา ทั้งนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ สุภาพสตรีที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี รักการแต่งหน้า บำรุงผิวพรรณ ซึ่งมีประชากรประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรหญิงทั้งหมดของเวียดนามเลยทีเดียว

ผลการสำรวจล่าสุดปี พ.ศ. 2559 (2016) การยอมรับสินค้าประเภทความงามเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ต้องการแค่เพียงพื้นฐาน เริ่มสนใจในสินค้าปลีกย่อยมากขึ้น ได้แก่ แป้งรองพื้น ครีมล้างเครื่องสำอาง โทนเนอร์ล้างหน้า ครีมกันแดด ขณะเดียวกัน สินค้าระดับพรีเมียมด้านความงามก็เข้าตลาดเวียดนามเพิ่มขึ้นในกลุ่ม ครีมบำรุงผม ครีมบำรุงผิว ตลอดจนธุรกิจบริการด้านความงามอย่าง สปา ซาลอน และคลินิกความงาม

กลุ่มสินค้าความงามที่เพิ่งเข้าตลาดใหม่ มักจะได้รับความนิยมซื้อและใช้จากกลุ่มเป้าหมายเพศหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี สินค้าที่เลือกซื้อชิ้นแรกของกลุ่มนี้คือ โฟมหรือครีมล้างหน้า ช่องทางการสื่อสารหลักได้แก่ การแจกตัวอย่างสินค้า การส่งเสริมการขายในโรงเรียน, โรงภาพยนตร์, โรงอาหาร หรือ ศูนย์อาหาร และการเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรมต่างๆ

การพิชิตใจกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างเทรนด์ใหม่ ปลุกกระแสความต้องการ สร้างการรับรู้ในกลุ่มเป้าหมายก่อน จึงจะสามารถเข้าตลาดได้ง่าย สำหรับแบรนด์ขนาดเล็ก จะสามารถแข่งขันกับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดได้ จำเป็นต้องสื่อสารหรือสร้างจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นส่วนผสมหรือสูตรที่พิเศษ หรือข้อเสนอพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในเวียดนาม

ทัศนคติของผู้บริโภคเวียดนาม สินค้าความงามนำเข้าจากต่างประเทศเป็นที่ชื่นชอบมากกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากมีความหลากหลายและราคาที่มากกว่า ต่างจากสินค้าท้องถิ่นที่เน้นการลดราคาเยอะๆ อ้างผลลัพธ์ที่เห็นได้รวดเร็ว และใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ

4. ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจความงามสำหรับนักธุรกิจไทยในเวียดนาม

สำรวจตลาด
หาโอกาสมาดูตลาดที่เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่านว่าเป็นอย่างไรบ้างในเวียดนาม เช่น มีสินค้าที่ตรงหรือคล้ายกับกลุ่มที่ท่านตั้งใจจะทำธุรกิจอยู่มากน้อยแค่ไหน ความต้องการในตลาดเน้นไปที่อุตสาหกรรมประเภทใด อาจจะต้องใช้เวลาสำรวจตลาดในงานแฟร์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อ ท่านจะได้ทราบว่า ตลาดปัจจุบันวางสินค้าไว้ในระดับไหน มีกี่ระดับ ราคาและรูปแบบการบริการเป็นอย่างไร ใช้โมเดลการขายแบบไหน เพื่อตัดสินใจวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของท่านว่าถ้ามาแล้วจะวางกลยุทธ์ในการขายอย่างไร และยังได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจริงๆว่าเค้าเลือกใช้อย่างไร และท่านอาจได้พบบริษัทที่ท่านอยากให้เค้าเป็นตัวแทนขาย หรือเค้าสนใจจะเป็นตัวแทนขายให้ท่าน ในงานแฟร์เหล่านี้

การตั้งบริษัทในเวียดนาม หรือ จัดหาผู้แทนจำหน่าย หรือ ผู้ร่วมลงทุน
หลังจากที่มีข้อมูลทางการตลาดแล้ว ต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินธุรกิจที่นี่อย่างไร เช่น จัดตั้งบริษัทที่เวียดนามแบบเป็นทุนต่างชาติ100% (ไทย100%) หรือ จัดตั้งแบบร่วมทุนกับบริษัทเวียดนามทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบธุรกิจที่ท่านจะดำเนินการที่นี่เป็นอย่างไร มีโรงงานผลิตหรือไม่ ใช้พนักงานกี่คน หรือนำเข้าสินค้าจากไทยแล้วทำตลาดเอง หรือขายผ่านตัวแทน หรืออื่นๆ ลองทำ feasibility ดูก่อน ข้อมูลเพิ่มเติมตามอ่านได้ที่ http://www.thaiembassy.org/hochiminh/th/thai-people/2264

การขอใบอนุญาตทำการค้า
ดำเนินการจดทะเบียนขออนุญาตลงทุน ขออนุญาตทำการค้า และจดชื่อบริษัท ในขั้นตอนนี้ควรใช้บริษัทกฏหมายที่รับดำเนินการด้านนี้เป็นผู้จัดการให้ เพราะจะมีความชำนาญทั้งทางด้านเอกสารและมีเอกสารที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก อีกทั้งจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐของเวียดนามได้ดีกว่า (ในขั้นตอนนี้ สามารถประสานงานกับ VEAS ในการให้คำแนะนำและประสานงานได้)

การจัดหาสถานที่ตั้งทำการ
การเตรียมเรื่องสถานที่ตั้งของบริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะธุรกิจของท่าน ในกรณีที่เตรียมไม่ทัน ทางบริษัทกฎหมายสามารถแนะนำให้ท่านเช่าใช้ที่อยู่ชั่วคราวเพื่อประกอบการจดทะเบียนไปก่อนได้ และเมื่อใดที่สถานที่ของท่านพร้อม ค่อยแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ การจ้างบุคลากร การเตรียมสรรหาบุคลากรชาวเวียดนามเข้าทำงานตามโครงสร้างองค์กรที่ท่านกำหนด ขั้นตอนนี้เริ่มได้ไปพร้อมๆกับการเตรียมสถานที่ตั้งของบริษัท ทำควบคู่กันไปได้เลย โดยที่เวียดนามมีบริษัทให้คำปรึกษาด้านการสรรหาบุคคลากรอยู่หลายบริษัท ซึ่ง VEAS สามารถให้คำแนะนำกับท่านได้ (แต่ข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้งทำการ เพราะพนักงานที่ท่านจะจ้าง จะให้ความสำคัญกับที่ตั้งบริษัทของท่านด้วย)

การเปิดบัญชีธนาคาร
ถ้าขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำการค้าเรียบร้อยแล้ว เตรียมเปิดบัญชีลงทุน ที่เวียดนามมีธนาคารไทยที่พร้อมให้คำปรึกษา เช่น SCB, BBL, และเตรียมการจดทะเบียนผู้เสียภาษี การขออนุญาตทำตราประทับบริษัท และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องทางการค้า ในขั้นตอนนี้ท่านจะใช้บริการของบริษัทที่ปรึกษาทางด้านภาษี หรือพนักงานของท่านชาวเวียดนามที่มีประสบการณ์ก็สามารถทำได้

เรื่องอื่นๆ
เรื่องอื่นๆ เช่นการเตรียมเอกสารการทำงานของคนไทย เช่น Work permit, Residential card, และที่พัก

5. สิ่งที่ ”ควรและไม่ควรปฏิบัติ” ในธุรกิจความงามในเวียดนาม

การดำเนินธุรกิจในตลาดเวียดนามสำหรับผู้ประกอบการไทยเบื้องต้น ขอให้พิจารณา 4 ประการดังนี้

1. เน้นคุณภาพและความปลอดภัย : ผู้บริโภคเวียดนามให้ความสนใจและความสำคัญต่อฉลาก ประเทศที่ผลิตมาก กระแสการรักษาสุขภาพ ข่าวลือและของปลอมที่มีส่วนผสมสารอันตราย ดังนั้น แบรนด์หรือบริษัทที่ก่อตั้งมานาน หรือ มีชื่อเสียงในตลาดจะได้เปรียบในตลาด

2. อย่ามองข้าม กระแสนิยม : กระแสส่วนผสมจากธรรมชาติ เป็นกระแสหลักทั่วโลก จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับตลาดเวียดนาม ที่ผู้บริโภคก็อิงจากกระแสนี้เช่นเดียวกัน

3. ข้อเสนอที่แตกต่าง สิทธิพิเศษ : นโยบายการค้าระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม ทำให้นักธุรกิจไทยได้รับสิทธิพิเศษมากมายด้านภาษี ดังนั้น การเข้าตลาดเวียดนาม ไม่ต้องกังวลเรื่องคู่แข่งในประเทศ แต่สิ่งที่จะสร้างความโดดเด่นนั่นคือ ประเภทของสินค้าหรือบริการควบคู่ไปกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะนำเสนอไปยังผู้บริโภคได้อย่างแตกต่างและน่าสนใจกว่า

4. อย่าลืมสื่อสารบนโลกออนไลน์ด้วย : การสื่อสารแบรนด์บนโลกออนไลน์ในเวียดนามเป็นสิ่งจำเป็น เพราะผู้บริโภคชาวเวียดนามใช้ในการแสวงหาข้อมูล อ่านรีวิว เข้าถึงข้อมูลด้านราคา สถานที่จัดจำหน่ายบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบิวตี้บล็อกเกอร์และเว็บขายของออนไลน์ในเวียดนามก็กำลังเติบโตขึ้น ดังนั้น นักธุรกิจไม่ควรมองข้ามกลุ่มนี้ เพื่อให้ครอบคลุมทุกช่องทางการรับรู้ของผู้บริโภค

6. “ช่องทางลัด” ในการดำเนินธุรกิจความงามในเวียดนาม

(หมายเหตุ) รวบรวมข้อมูลจาก
1. บริษัทวิจัย KANTAR
2. In-Cosmetics Asia
3. the Vietnam Essential Oils, Aromatherapy, and Cosmetics Association
4. the Thai Business (VIETNAM) Association

จากปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดทั้งมวล โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส เปิดทางลัด จัดงาน Inter Beauty Vietnam 2019 เชิญชวนนักธุรกิจไทย รุกตลาดความงามในเวียดนาม

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ เก็คส์ บริษัทชั้นนำระดับนานาชาติในการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการกลุ่ม CLMV เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมความงามของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือ เวียดนาม เติบโตก้าวกระโดด มีอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 30 โดยเฉพาะในกลุ่มมีผู้รายได้ระดับปานกลาง ซึ่งจะมีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 33 ล้านคนในปี พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน เวียดนาม มีประชากรสูงกว่า 95 ล้านราย ร้อยละ 30 เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ millennials มีความรู้ สนใจใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รักการดูแลรักษาสุขภาพ ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และชอบผลิตภัณฑ์หรือบริการนำเข้าจากต่างประเทศ

ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2560 ชาวเวียดนามซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวนำเข้าจากต่างประเทศรวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าปี พ.ศ. 2559 ถึง 3 เท่า ปัจจัยสนับสนุนสำคัญเกิดจากการเติบโตของศูนย์การค้าของต่างชาติและท้องถิ่น รวมถึงร้านค้าสาขาที่จำหน่ายเครื่องสำอาง เช่น Medicare, Guardian, and Pharmacity ที่มีการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก

พฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนามในกลุ่มธุรกิจความงาม มีความเชื่อว่าหากรูปลักษณ์ดี จะส่งผลต่ออาชีพ และรายได้ที่ดีขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มบล็อกเกอร์ และศิลปินดารา ทั้งนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ สุภาพสตรีที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี รักการแต่งหน้า บำรุงผิวพรรณ ซึ่งมีประชากรประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรหญิงทั้งหมดของเวียดนามเลยทีเดียว

บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด จึงได้จัดงานแสดงสินค้าและบริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีความงาม หรือ Inter Beauty Vietnam ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการฮานอย หรือ Hanoi International Center for Exhibition (HICE) ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม พ.ศ. 2562

การจัดงานครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการทั่วโลกสนใจเข้าร่วมชมงานกว่า7,000 ราย ร่วมแสดงงานกว่า 230 แบรนด์

อย่างไรก็ตาม การจัดงาน Inter Beauty Vietnam จะช่วยผู้ประกอบการหลายด้าน อาทิ เป็นช่องทางในการเปิดตัวสินค้าและบริการให้แก่กลุ่มเป้าหมายชาวเวียดนามในวงการธุรกิจความงามได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่ม เป็นช่องทางจับคู่ธุรกิจ (Business matching) โดยจัดหาผู้ซื้อ ผู้แทนการค้า ผู้แทนจัดจำหน่าย ผู้ร่วมลงทุนของเวียดนาม มาพบกับผู้ประกอบการไทย สร้างมูลค่าธุรกิจและการขายอย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นช่องทางการสื่อสารการตลาดให้แก่ธุรกิจสู่ตลาดการค้าเวียดนาม และกลุ่ม CLMV เป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจความงามของนักธุรกิจไทยและเวียดนามให้สามารถผลักดันธุรกิจให้เติบโตไปได้อย่างยั่งยืน เป็นต้น

Inter Beauty Vietnam จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการฮานอย หรือ Hanoi International Center for Exhibition (HICE) ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม พ.ศ. 2562

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: