เปิด 7 เทรนด์ใหม่กำหนดทิศธุรกิจทศวรรษหน้า

จากยุครุ่งเรืองด้วยการเติบโตเร็วและการทำกำไรสูงต่อเนื่อง มาบัดนี้ ธุรกิจต่างเริ่มคิดถึงความจำเป็นที่จะต้องหาจิตวิญญาณที่แท้จริงให้เจอ เมื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ องค์กรก็ยิ่งต้องกลับไปทบทวนตนเองทั้งด้านเจตนารมณ์และจุดยืนของตนในโลก
ประเด็นเหล่านี้คือ ข้อเสนอแนะในรายงานฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ที่ชื่อว่า Fjord Trends 2020 (ฟยอร์ดเทรนด์ 2020) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 13 จากการประเมินความเป็นไปในอนาคตของวงการธุรกิจ เทคโนโลยีและการออกแบบ จัดทำโดย Fjord ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและนวัตกรรมภายใต้กลุ่มธุรกิจ Accenture Interactive (เอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ)
ปี 2019 นับได้ว่าเป็นปีแห่งความตื่นตัวเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ความเฟื่องฟูและการล่มสลายของธุรกิจอิสระ (gig economy) และเป็นปีแห่งการร่วมแสดงความมุ่งมั่นของซีอีโอชั้นนำของโลกในการกำหนดนิยามใหม่ของความมุ่งประสงค์ขององค์กรของตน (Statement of Purpose of a Corporation) กรอบแนวคิดที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ซึ่งมีปัจจัยเร่งคือเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ผลักดันให้ผู้นำองค์กรต่าง ๆ ต้องหันกลับไปทบทวนหลักการพื้นฐานที่องค์กรของตนยึดถือร่วมกันเสียใหม่ รายงานฉบับนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจกับการเมือง แนวคิดแบบทุนนิยมกับทรัพยากรโลก ตลอดจนเทคโนโลยีกับสังคม ล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันใกล้ชิดอย่างแยกไม่ออกและมีผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน และในตอนนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นนี้แล้ว
รายงาน Fjord Trends 2020 ได้บ่งชี้แนวโน้มใหม่ 7 ด้านที่คาดว่าจะมี
- เติบโตหลากรูปแบบ (Many faces of growth): แนวคิดแบบทุนนิยมกำลั
งเผชิญกับวิกฤตที่เป็นจุดเปลี่ ยน ผลกำไรของธุรกิจไม่ได้นับเป็นตั วชี้วัดการเติบโตเพียงอย่างเดี ยวอีกต่อไป องค์กรจะต้องทบทวนเจตนารมณ์ บทบาทและจุดยืนของตนที่ยั่งยื นและคำนึงถึงสังคมโลก - มองเงินเปลี่ยนไป (Money changers): มุมมองที่เราเคยมีต่
อเงินตราและวิธีการจ่ายเงินเพื่ อแลกซื้อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การทวีบทบาทของเงินดิจิทัล เช่น การอนุมัติจ่ายด้วยลายนิ้วมื อหรือเลนส์ม่านตา ก่อให้เกิดโอกาสอีกมหาศาลสำหรั บผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ รวมทั้งผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด - บาร์โค้ดเดินได้ (Walking barcodes): ปัจจุบัน ตัวจริงของเราสามารถถูกระบุตั
วตนและติดตามได้ง่ายพอ ๆ กับ ‘ตัวตนในโลกดิจิทัล’ ราวกับบาร์โค้ดเดินได้ ด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้ าและร่างกาย ซึ่งนำมาสู่ภาวะที่ต้องเลื อกระหว่างความเป็นส่วนตั วและความสะดวกที่ได้รับ - ผู้คนเปลี่ยนไป (Liquid people): พฤติกรรมผู้บริ
โภคจะเปลี่ยนแปลงไปโดยจะคำนึงถึ งสังคมกับบทบาทของตน และค้นหาความหมายในทุกสิ่งที่ ตนทำมากขึ้น สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาสอี กมากในการมอบประสบการณ์แบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ผู้คนเหล่านี้ได้ - ปัญญาออกแบบได้ (Designing intelligence): ประสบการณ์
ของมนุษย์มีความซับซ้อนขึ้นเรื่ อย ๆ ก้าวต่อไปของการพัฒนาเอไอ (Artificial Intelligence) คือ การออกแบบให้ก้าวไกลไปกว่ าการใช้เป็นเพียงระบบอัตโนมัติ ไปเป็นระบบที่ผสานทั้งภูมิปั ญญาของมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ และทำให้สองส่วนนี้ทำงานร่วมกั นได้ดียิ่งขึ้น - แฝดเสมือนในโลกดิจิทัล (Digital doubles): แฝดเสมือนในโลกดิจิทั
ลกำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิ ตประจำวันของเรามากขึ้น เช่น ดาต้าโมเดลที่รวมเอาข้อมูลส่ วนตัวของเราทั้งหมดในโลกดิจิทัล ช่วยให้เราเข้าถึงความบันเทิ งและมอบประสบการณ์เฉพาะตนต่าง ๆ ได้อย่างตรงใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ เราสามารถควบคุมได้ดียิ่งขึ้นว่ าจะให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนตั วได้บ้างและมากน้อยเพียงใด - ออกแบบอย่างยั่งยืนเพื่อ ‘เราทุกคน’ (Life-centered design): แนวคิดของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป จากการใช้ชีวิตที่มุ่
งตอบสนองเพียงความต้องการของ “ตัวฉัน” ไปเป็นการคำนึงถึงสังคมส่วนใหญ่ หรือ “พวกเราทุกคน” คำถามคือ การออกแบบในอนาคต จะเปลี่ยนแนวทางจากการเน้นที่ตั วผู้ใช้หรือตัวบุคคลเป็นศูนย์ กลาง (User-centered design) ไปเป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงชีวิ ตของคนในสังคมเป็นศูนย์กลาง (Life-centered design) ได้หรือไม่