Auto

เชฟโรเลตใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพิ่มพื้นที่จัดเก็บของในรถเอสยูวี

ทีมนักออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการออกแบบภายในรถยนต์ของเชฟโรเลต อาทิ เครื่องจำลองแบบเสมือนจริง (VR) แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัย และเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสารและพื้นที่จัดเก็บสัมภาระในรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวี

จากความจำเป็นที่ต้องการจะยกระดับการออกแบบยนตรกรรมระดับโลก การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงนั้นจึงทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวีที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะนิยมเลือกรถเอสยูวี ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ความอเนกประสงค์ของที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 ที่นั่ง และยังมีพื้นที่ในการเก็บสัมภาระที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเหตุผลอื่นๆ ในการเลือกซื้อรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวี

Rapid prototyping processes that literally grow parts out of powder or liquid resin at a fraction of the cost associated with building tools to make test parts were used to help speed the refreshed 2014 Malibu into production.

เชฟโรเลตได้นำเสนอ “เทรลเบลเซอร์” รถเอสยูวี ระดับพรีเมี่ยมสไตล์อเมริกัน ยนตรกรรมที่ได้รับการพัฒนาในระดับโลกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากแนวโน้มความต้องการใช้งานรถยนต์ของลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปสู่การใช้รถเอสยูวีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ทั่วโลก ที่พบว่ายอดขายรถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวีมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 2554 ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

ในขณะที่รถเอสยูวี มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลอย่างเห็นได้ชัด ในเรื่องของการบรรทุกสัมภาระต่างๆ ที่มีขนาดยาวหรือสูง อาทิ เฟอร์นิเจอร์ กล่องขนาดใหญ่ จักรยาน ซึ่งผู้ใช้เทรลเบลเซอร์ รถเอสยูวีระดับพรีเมี่ยมสามารถบรรทุกสิ่งของอื่นๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเดินทางหลายๆ ใบ อุปกรณ์ตั้งแคมป์ หรืออุปกรณ์กีฬา ด้วยขนาดของพื้นที่บรรทุกสัมภาระด้านหลังของรถยนต์ เทรลเบลเซอร์ที่กว้างขวางและเปิดได้กว้าง ทำให้สามารถเก็บและบรรทุกสัมภาระต่างๆ ได้มากขึ้น ประหยัดเวลาในการจัดสิ่งของให้เข้าที่ ซึ่งเปรียบเหมือนการเล่น “เกมส์ตัวต่อเตอติส (Tetris challenge)” ที่ใช้เวลาน้อยกว่าในรถยนต์หรือรถที่ขนาดเล็กกว่า

ในส่วนของเบาะนั่งแบบสามแถวของรถยนต์เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ สามารถพับเก็บได้ง่าย ช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระยามจำเป็น นอกจากนี้ รถยนต์อเนกประสงค์หรือเอสยูวีสุดหรูคันนี้ยังออกแบบที่นั่งเป็นแบบ “ที่นั่งแบบโรงละคร หรือแบบเธียเตอร์ สไตล์” เพื่อให้ผู้โดยสารในเบาะแถวที่สองและสามสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบได้ดียิ่งขึ้น และยังมีช่องระบบปรับอากาศที่สามารถควบคุมแบบแยกอิสระสำหรับผู้โดยสารในเบาะแถวที่สาม

Matthew Davis, Director Global Quality, is immersed in a virtual 3D tour of the Chevrolet Traverse in the Cave Automated Virtual Environment (CAVE) in the Virtual Vehicle Engineering Center (VVEC) at General Motors Tech Center, in Warren, MI, Friday, September 30, 2011. (Jeffrey Sauger/For Chevrolet)

เชฟโรเลตได้นำความคิดเห็นจากลูกค้าที่ได้รับในหลายปีที่ผ่านมา มาพัฒนารถยนต์รุ่นต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนารถเอสยูวีเทรลเบลเซอร์ขึ้นนั้น ทีมออกแบบของเชฟโรเลตได้ทำการวิจัยตลาดรถยนต์เพื่อหาเทรนด์ทั่วโลกในการตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้บริโภคในเรื่องของความกว้างขวางภายในรถยนต์และความอเนกประสงค์ที่กำลังเป็นที่นิยม
ในช่วงเริ่มต้นโครงการดังกล่าว เชฟโรเลตได้นำแนวคิดการออกแบบภายในรถยนต์ มานำเสนอให้แก่กลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าการออกแบบของเชฟโรเลตสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยมีการเก็บข้อมูลสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งในรถยนต์รุ่นปัจจุบันไม่มีก่อนที่จะนำข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้าทั้งหมดมาพัฒนาหรือออกแบบเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือแม้กระทั่งตอบโจทย์ได้เกินความคาดหวังของลูกค้า ทั้งนี้ จากความมุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าดังกล่าว จึงนำมาสู่การเปิดตัว ชุดอุปกรณ์ตกแต่ง “ฟีนิกซ์ อิดิชั่น (Phoenix Edition)” สำหรับเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ในประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยมีทั้งอุปกรณ์สำหรับตกแต่งภายในและภายนอกใหม่

ในระหว่างการดำเนินงานในส่วนการออกแบบดังกล่าว ทีมออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตได้ใช้เครื่องมือดิจิทัล เข้ามาช่วยสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบภายในกับโครงสร้างให้มีความลงตัวมากที่สุด โดยมีการนำส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปจากห้องโดยสาร เพื่อให้นักออกแบบสามารถใส่ช่องเก็บสัมภาระและลูกเล่นต่างๆได้มากขึ้น โดยทั้งหมดนี้ได้ถูกดำเนินการมาตั้งแต่การเริ่มออกแบบรถยนต์แล้ว ซึ่งทุกกระบวนการค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร จนมั่นใจและกลายมาเป็นแนวคิดของการออกแบบภายในที่ลงตัว อย่างในปัจจุบัน

สำหรับชุดเครื่องมือดิจิทัลที่เชฟโรเลตใช้นั้น ประกอบไปด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขั้นสูง เพื่อสร้างแบบจำลองร่างกายของมนุษย์ตามหลักการยศาสตร์ และระบบสภาวะแวดล้อมเสมือนจริงแบบสามมิติ (3D Cave Automated Virtual) ทีมนักออกแบบใช้เครื่องมือคำนวณพื้นที่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษเฉพาะของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ในการวิเคราะห์ข้อมูลการรับรู้ของลูกค้าในเรื่องความกว้างขวางของห้องโดยสาร และจำลองแบบร่างกายของมนุษย์ เพื่อออกแบบห้องโดยสารที่รองรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างที่แตกต่างกัน ตลอดจนรองรับทุกอิริยาบถของผู้ขับขี่ นอกจากนั้น ระบบสภาวะแวดล้อมเสมือนจริงแบบสามมิติยังช่วยออกแบบในการประเมินจุดบอดการสะท้อนและการมองเห็นวัตถุภายในและภายนอกรถ
ทีมนักออกแบบของเชฟโรเลตยังใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในการ “สร้าง” ชิ้นส่วนต้นแบบที่ผลิตจากผงหรือเรซินเหลว โดยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ร่วมกับข้อมูลทางคณิตศาสตร์และเลเซอร์ดิจิทัล ทำให้นักออกแบบสามารถเห็น สัมผัส และทดสอบชิ้นส่วนและระบบแต่ละชิ้นได้ทันทีและมีความแม่นยำ โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ก่อนที่จะผลิตจริง ซึ่งอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายประมาณหลายร้อยหรือหลายพันดอลลาร์
“เมื่อเราได้ข้อมูลคร่าวๆ ของรถโดยรวมแล้ว เราจะนำมาข้อมูลทั้งหมดมาจำลองในรูปแบบ VR เสมือนจริง เพื่อให้ได้มุมมองของผู้บริโภคอย่างแท้จริง และหากมีสิ่งที่จำเป็นต้องปรับก็สามารถทำได้ทันที” มร. เกรก กล่าว “ในเวลาทำงานส่วนใหญ่เราจะทำโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วย เพราะสะดวกรวดเร็ว มีความสมบูรณ์ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งการใช้เทคโนโลยี VR หรือจำลองภาพเสมือนจริงช่วยทำให้เราได้เห็นภาพรถยนต์จริง ก่อนที่จะผลิตเป็นรถต้นแบบหรือแบบรถจำลอง”

หลังจากที่มีการออกแบบภายในรถยนต์เพิ่ม และสร้างภาพดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ทีมนักออกแบบรถยนต์ของเชฟโรเลตจะใช้เครื่องกัดและเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อขึ้นรูปและสร้างชิ้นส่วนต้นแบบก่อนจะนำมาสร้างเป็น “ที่นั่ง” (seating bucks) เสมือนจริงที่ทำจากไม้และโฟม จากนั้นจะทำการประเมินโดยรวม และจึงทำแบบจำลองดินเหนียวเพื่อประเมินแนวคิดของการออกแบบในที่สุด

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: