Biznews

ืทำความเข้าใจ กลยุทธ์ Seasonal VS Unseasonal ปั้นยอดขายได้ทั้งใน/นอกฤดูกาล!

เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว เราจะเริ่มเห็นสงคราม’แคมเปญ’ ดับร้อน ที่มีออกมาจากหลายๆแบรนด์เพื่อกระตุ้นยอดขายกันอย่างคึกคักนับว่าเป็นโอกาสของสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับฤดูร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังสร้างสีสันของช่วงนี้ให้กับผู้บริโภคอีกด้วย แต่สำหรับสินค้านอกฤดูกาลล่ะ? ช่วงนี้จะออกแคมเปญสู้อย่างไรดี?
.
ก่อนเราจะไปวางกลยุทธ์ปั้นยอดผลักดันสินค้าทั้ง ‘ในฤดูกาล’ และ ‘นอกฤดูกาล’ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์การตลาดทั้ง 2 แบบที่ว่ากันก่อน เพราะสำหรับบางธุรกิจที่ไม่มีสินค้าที่เข้ากับฤดูกาลเราก็ยังสามารถสร้างแคมเปญอื่นๆขึ้นมาช่วยกระตุ้นยอดขายได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงการกำหนดฤดูกาลของแบรนด์เอง โดยไม่ต้องพึ่งลมฝนได้อีกด้วย
.
การตลาดตามฤดูกาล (Seasonal Marketing) 
การทำตลาดตามฤดูกาล หรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ
โดยสินค้าแต่ละชนิดก็มักมีฤดูกาลที่ขายดีของตัวเอง
.
กลยุทธ์การตลาดแบบฤดูกาล 
Inside พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า
สิ่งแรกที่แบรนด์ควรทำคือ เข้าใจ ‘Inside’ ของลูกค้าในช่วงนี้นอกจากพิจารณาพฤติกรรมของลูกค้าในช่วงหน้าร้อนแลัว โควิด-19 ก็ยังมีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรมในช่วงนี้เช่นกัน

 Product หา High season ของสินค้า
เลือกสินค้าให้เหมาะกับฤดูกาลแน่นอนว่าประเทศไทยก็ 3 ฤดูคือ ร้อน/ฝน/หนาว รวมถึงเทศกาลวันสำคัญ และกิจกรรมพิเศษต่างๆ ที่มีจัดขึ้นด้วย สินค้าแต่ละประเภทมักมีฤดูกาลทำเงินหรือฤดูกาลขายดีของตัวเอง

Promotion จัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย
ทุ่มทำการตลาดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น แม้จะขายดีอยู่แล้ว ก็ต้องทำ เพราะคู่แข่งเองก็ทำ หากเราไม่ทำเราเองอาจจะหายไปจากตลาดในช่วงนั้น

 Price ปรับราคาสินค้าให้เหมาะกับช่วงเวลา
โดยพิจารณาจากช่วงเวลานั้น เช่นช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่คนมีอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอย มักจะซื้อสินค้าโดยไม่คิดมาก หากเป็นช่วงหลังสงกรานต์ผู้คนใช้เงินเยอะไปก่อนหน้านี้แล้ว ควรเป็นสินค้าราคาประหยัด สินค้าขนาดเล็กลง หรือเอาสินค้าที่ค้างสต็อกมาขายในราคาถูก

 Place เลือกสถานที่ขายให้เหมาะกับช่วงเวลา
เช่น ในช่วงหน้าร้อนนี้ผู้คนมักจะไปหลบร้อนตามห้างสรรพสินค้า
– – – – – – – – – –
 การตลาดนอกฤดูกาล (Unseasonal Marketing)
การทำการตลาดที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าฤดูกาลไหนเทศกาลใดก็ตาม
.
กลยุทธ์การตลาดนอกฤดูกาล 
แบรนด์สร้างฤดูขึ้นเอง
วิธีสร้างฤดูหรือเทศกาลขึ้นเองต้องอาศัยกิมมิกที่แตกต่างออกไป เช่น เรากำหนดเทศกาลจัดโปรโมชั่นเซลล์สินค้าของแบรนด์เอง หรือเราอยากขายชุดว่ายน้ำในหน้าร้อน เมื่อลูกค้ารู้สึกว้าวกับสิ่งที่ได้เห็น พวกเขาอาจตัดสินใจซื้อสินค้าทันที

ถึงไม่มีโปรโมชั่นแต่เน้นบริการ
สิ่งที่จะทำให้สินค้าขายได้ในช่วงที่ลูกค้าไม่ต้องการซื้อ หรือช่วงที่ไม่มีความพิเศษ เช่น ไม่มีโปรโมชัน หรือไม่มีส่วนลด คือ การบริการลูกค้าที่ดี เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจจนตัดสินใจซื้อโดยไม่พึ่งโปรโมชั่น

เน้นสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านำมาซึ่งความจงรักภักดีต่อแบรนด์
แม้พวกเขาจะยังไม่ซื้อสินค้าในเวลานี้ แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้สินค้าจะนึกถึงแบรนด์ขึ้นมาทันที การเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น สินค้าที่ซื้อบ่อย สินค้าที่ชื่นชอบ จากนั้นนำเสนอขายสินค้านั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม

เน้นการสื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอให้แบรนด์อยู่ในสายตาลูกค้า
แบรนด์ไม่ควรสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้แบรนด์อยู่ในสายตาลูกค้าและถูกพูดถึงอยู่เสมอ กระแสสินค้าจะได้ไม่หายไปจากท้องตลาด
.
อย่างไรก็ตามด้วยพฤติกรรมของคนไทยอย่างที่รู้กันดีว่าผู้บริโภคคนไทยนั้นเบื่อง่าย ดังนั้นจึงต้องมีแคมเปญใหม่มากระตุ้นความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาแบรนด์อาจจะต้องทำแคมเปญ Seasonal Marketing และ Unseasonal Marketing ขึ้นมาควบคู่กันไปด้วย

 

 

 

ที่มา  PriceZa  Insight

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
X
%d bloggers like this: