ส่อง 5 เทรนด์ค้าปลีก “ตามพฤติกรรมลูกค้าให้ทัน คว้าโอกาสการขายได้มากกว่า”
สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจใน ธุรกิจค้าปลีก เรื่องของ “เทรนด์การค้า (Retail Trends)” คงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้อย่างแน่นอน เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าโลกของการค้าและการทำธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามปัจจัยต่าง ๆ ถ้าหากเรารู้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ การปรับตัวและเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

อ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานหลักสูตร Master in Branding and Marketing (MBM) ภาษาอังกฤษ และอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ที่มีชื่อเสียง[1] และผู้แต่งหนังสือ “อัจฉริยะการตลาด“[2] ที่สร้างปรากฏการณ์หนังสือขายดีอันดับหนึ่งนานกว่า 161 สัปดาห์ทั่วประเทศ ได้กล่าวในรายการ#InnovativeWisdom วันจันทร์-ศุกร์ 9.00 น. FM 101.5 MHz สรุป 5 เทรนด์ค้าปลีกประจำปี 2562-2563 ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
1️⃣ วงจรชีวิตของร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ จะสั้นลง
เห็นได้จากการวิวัฒนาการของร้านสะดวกซื้อที่มาจากซุเปอร์มาร์เก็ต เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนเร็ว ค้าปลีกเซ็กเม้นต์ ที่เรียกว่า Category Killer ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่พัฒนามาจากร้านค้าขายสินค้าเฉพาะอย่างจะเกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น ร้านบีทูเอส ร้านอิเกีย ที่เน้นขายเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียว หรือร้านทอยส์ อาร์ อัส ที่ขายชองเล่น เป็นต้น ร้านเหล่านี้พัฒนามาจากค้าปลีกรูปแบบเดิมที่เคยรวมสินค้าทุกอย่างไว้ในที่เดียวกันเปลี่ยนมาเป็นค้าปลีกเฉพาะอย่างที่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่จะตายเร็ว คนจะสนใจในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
2️⃣ ไม่แยก ค้าปลีก-ค้าส่ง ชัดเจน
อุปสรรค >> เจอคู่แข่งใหม่
โอกาส >> เห็นโอกาสใหม่
3️⃣ ไม่แยก online-offline ชัดเจน
หากร้านเรากำลังทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง (ออนไลน์หรือออฟไลน์) ลองศึกษาพฤติกรรมลูกค้าว่ามีแนวโน้มซื้อสินค้าจากการขายอีกแบบหนึ่งแค่ไหน จะได้ไม่เสียโอกาส ห้ามละสายตาจากผู้บริโภคอย่างเด็ดขาด ต้องผนวกออนไลน์กับออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน หรือที่เรียกว่า ON LIFE
4️⃣ Convergence ขายอะไรก็ได้ ตอบสนองลูกค้าก็พอ
พฤติกรรมลูกค้าจะเป็นตัวบอกว่าควรขายสินค้าอะไร มากกว่าประเภทของสินค้า
ไม่ขายสินค้าตาม Category แต่ขายตาม Lifestyle
5️⃣ ร้านค้าปลีกกลายเป็นบริเวณของการใช้ชีวิตและสร้างประสบการณ์
ออกจากกรอบแนวคิดเดิมของการค้าปลีกที่เน้นขายสินค้า เปลี่ยนเป็นเน้นวิถีชีวิตคนที่มาใช้บริการ ยกตัวอย่าง เซ็นทรัล อีสวิลล์ซึ่งเป็นอีกสาขาของค่ายเซ็นทรัลที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ค้าปลีกต้องออกจากแนวคิดเดิมๆ เลิกขายสินค้าแบบเดิมๆ จึงจะอยู่รอดได้
.
ที่มา รายการ #InnovativeWisdom วันจันทร์-ศุกร์ 9.00 น. FM 101.5 MHz
อ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย