Biznews

ส่องอุตสาหกรรมสื่อกับทิศทางการใช้เงินโฆษณา 5 เดือนสุดท้ายหลังเผยโฉมรัฐบาลตู่2

จากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยที่ยังซบเซาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรคต่างๆทั้งในและนอกประเทศ เศรษฐกิจยุโรปที่ตกต่ำ สงครามการค้าจีน-อเมริกา ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยหดตัว  อีกทั้งเงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ส่งออกแย่ และล่าสุดการลดค่าเงินหยวนจีน การยกระดับการชุมนุมประท้วงในฮ่องกง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ  ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆที่มีกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมสื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ภวัต  เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI
และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด หรือ IS กล่าวว่า  โฉมหน้า ครม ตู่2 โดยเฉพาะ รมต. เศรษฐกิจ และนโยบายหลักที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 25-26 กค.ที่ผ่านมา  แม้โดยสรุปเนื้อหาของนโยบายจะครอบคลุมการแก้ปัญหา ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของไทย แต่เรารู้กันดีว่าความท้าทายของรัฐบาลและคณะรมต. ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาสาระของนโยบายและแผนงาน แต่อยู่ที่การลงมือปฏิบัติได้โดยเร็ว ทันต่อสถานการณ์และเห็นผล  หลายๆปัญหาโดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจ จำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการจากหลายๆภาคส่วน นั่นหมายถึง ทีมเศรษฐกิจต้องมีบูรณาการเพื่อให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานสามารถทำงานสอดคล้องและเสริมซึ่งกันและกัน มีเป้าหมายเดียวกันอย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริง รมต.กระทรวงเศรษฐกิจต่างมาจากคนละพรรคการเมืองซึ่งคงเน้นและให้ความสำคัญกับแผนงานที่ตอบสนองนโยบายที่พรรคตนได้หาเสียงเอาไว้ก่อน

เพราะฉะนั้นหากดูจากรูปการณ์ในปัจจุบันแล้ว เรายังต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้านทั้งภายในและภายนอก และดูเหมือนโฉมหน้ารัฐบาลตู่2 ยังไม่สามารถเรียกความมั่นใจจากตลาดได้ในระยะสั้น คงต้องรอดูฝีมือและให้กำลังใจกันต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวไปข้างต้นว่ายังคงมีปัจจัยอื่นๆที่มีกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมสื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อ นั่นก็คือ Technology & Digital Disruption ทำให้นักการตลาดและนักสื่อสารการตลาดต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง แลนด์สเคปของสื่อและธุรกิจโฆษณาก็เปลี่ยนแปลงและได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน

เทคโนโลยีดิจิตัลในส่วนของแพลตฟอร์มดิจิตัลได้สร้าง IMPACT และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะแพลตฟอร์มโซเชียล, E-Commerce (E-Retail/ E-Market Place) ต่างๆ นักการตลาดและนักสื่อสารการตลาดทุกวันนี้มุ่งให้ความสำคัญแพลตฟอร์มดิจิตัลมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งแทบจะพึ่งพาแต่แพลตฟอร์มดิจิตัลในการทำการตลาด/สื่อสารการตลาด จากตัวเลขของ DAAT และการคาดการณ์ของ MI ภายใน 2 ปีนี้ (หรือสิ้นปี 2020) สัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิตัลจะสูงถึงเกือบ 25000 ล้านบาทหรือเกือบ 30% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดมีมูลค่ารวมกว่าเก้าหมื่นล้านบาท (หดตัวลงจากแสนล้านอันเนื่องมาจากการถดถอยของสื่อแมส อาทิ สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือนักการตลาดคนไหนสามารถการันตีได้ว่าการเน้นสื่อสารการตลาดผ่านแพลตฟอร์มดิจิตัลเพียงอย่างเดียวจะสามารถได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจที่สุด หลักคิดในเรื่อง OMNI CHANNEL หรือการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง และต้องเชื่อมโยง สอดคล้องกับ Customer Journey หรือเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า ยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การทำการตลาด/สื่อสารการตลาด บรรลุวัตถุประสงค์และได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึก (Customer Insight) หรือการนำ Big Data มาใช้งานได้มีประสิทธิภาพเพื่อประกอบการวางแผนการตลาด/สื่อสารการตลาด

 

จากที่เคยอัพเดทให้ทราบในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เอ็มไอได้ฟีดแบ็คจากนักการตลาด แม้ว่าสื่อแพลตฟอร์มดิจิตัลเป็นสื่อที่เติบโตและได้รับความนิยมอย่างมาก วัดผลได้  มีข้อมูลสถิติครบ แต่บางครั้งก็ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ มีหลายหมวดสินค้า อาทิ  รถยนต์ มือถือ ประกันภัย หรือ FMCGs แม้แต่สินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโลกดิจิตัล เช่น มือถือ, Application,

E-Commerce การผสมผสานสื่อออฟไลน์และออนไลน์ โดยคำนึง Customer Journey มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มดิจิตัลอย่างเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
X
%d bloggers like this: