BiznewsFinancialUncategorized

ส่องธุรกิจแบงก์หนีตาย ! หันผนึกต่างชาติแก้วิกฤตหนีดิสรัป

ปรากฏการณ์วงการธาคารพาณิชย์เมืองไทยเข้าขั้นวิกฤตก็ว่าได้เนื่องมาจากการโดนดิสรัปอย่างหนักจนหลายธนาคารต่างรัดเข็มขัดด้วยการหยุดขยายสาขาพร้อมกับลดจำนวนพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบาก

 

หนทางหนึ่งที่หลายธนาคารนำมาใช้ในเวลาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวคือการออกไปซื้อกิจการในตลาดต่างประเทศเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเสริมทัพองค์กรหวังกระจายความเสี่ยง

เห็นได้จากที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ ยักษืใหญ่ของเมืองไทยได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขกับ Standard Chartered และ PT Astra International เพื่อเข้าถือหุ้น 89.12% ในธนาคาร PT Bank Permata ซึ่งเป็นธนาคารในประเทศอินโดนีเซีย มูลค่าราว 2,674 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 81,017 ล้านบาท ถือเป็นแบงก์ไทยรายแรกที่ซื้อกิจการธนาคารต่างประเทศผ่านการทำ Merger & Acquisition

ปัจจุบัน PT Bank Permata เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 12 ของประเทศอินโดนีเซีย โดยถ้าหากควบรวมกิจการกำธนาคารกรุงเทพสำเร็จ จะทำให้ PT Bank Permata กลายเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 10 ของประเทศอินโดนีเซียทันที

 

 

ล่าสุดถึงคิวของธนาคารกสิกรไทย มีแผนร่วมลงทุนใน “เมียนมา”หนังสือพิมพ์เมียนมา ไทมส์ รายงานการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมียนมาว่า ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เตรียมซื้อหุ้น 35% ในธนาคาร Ayeyarwaddy Farmers Development Bank (A Bank) ของเมียนมา และได้ยื่นขออนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าวจากธนาคารกลางเมียนมา (CBM)

นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเรื่องธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ และธนาคารกสิกรไทยเข้าพบธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เรื่องการเข้าร่วมลงทุนในธนาคารเอแบงก์นั้น ธนาคารกสิกรไทยขอแจ้งว่าการพบปะในครั้งนี้เป็นการหารือเพื่อพัฒนาธุรกิจของธนาคารในประเทศเมียนมา ซึ่งปัจจุบันตามประกาศของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นั้นสามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจได้ใน 3 รูปแบบดังนี้

1. จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary)

2. จัดตั้งสาขาต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยในเมียนมา (Foreign Bank Branch)

3. การเข้าร่วมลงทุนในธนาคารท้องถิ่นในประเทศเมียนมา (Equity Participation)

ธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ทาง ในการที่จะเข้าไปทำธุรกิจ และจากเนื้อหาของข่าวเรื่องการเข้าพบทางธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาดังกล่าว ความเป็นไปได้ของการเข้าลงทุนยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการพิจารณาของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รวมทั้งธนาคารกำลังเจรจารูปแบบการลงทุนและโครงสร้างที่เหมาะสมที่การเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ใช้เงินลงทุนที่คุ้มค่า สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ธนาคารแห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะอนุมัติหรือไม่ และในรูปแบบใด

สำหรับการขยายธุรกิจสู่ประเทศเมียนมานั้น ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่ทำให้ประชาชนและธุรกิจในเมียนมาสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น (Financial Inclusion) เสริมความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจของเมียนมา ขยายโอกาสและความสัมพันธ์ให้แก่ธุรกิจข้ามระหว่างประเทศไทย-เมียนมาได้มากขึ้นด้วย

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
X
%d bloggers like this: