สื่อออนไลน์ครองใจคนบ้านเฮา
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU งานวิจัย“ภูธร มาร์เก็ตติ้ง ล้วงลึกอินไซต์… สื่อแบบใด จับใจตลาดท้องถิ่น” ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มี จำนวนมากที่สุดในประเทศ โดยมีจำนวนมากกว่า 54 ล้านคน หรือคิดเป็น 84% ของประชากรรวมทั้งประเทศ อันเป็นผลการศึกษาชิ้นล่าสุดของสาขาการตลาด จากการสำรวจกลุ่มคนต่างจังหวัด กว่า 800 คน อายุระหว่าง 20-50 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,001-20,000 บาท พบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาด 3อันดับแรก ที่คนต่างจังหวัดเข้าถึงและมีอิ ทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้แก่ 1. สื่อออนไลน์ (Online Media) 2. สื่อภายในร้านค้า (Point of sales material) และ 3. สื่อทีวี (Television) พร้อมแนะกลยุทธ์ “ภูธร – PHUTORN” เพื่ออัพเกรดการสื่ อสารการตลาดตรงใจผู้บริโภคต่ างจังหวัด ดังนี้ P – Picture & Promotion : เน้นภาพชัดและโปรโมชั่นเด่น เนื้อหาจะในโบชัวร์จะต้องไม่ เยอะ , H – Humour : ตลก ขบขันสอดแทรกความบันเทิ งในรายการทีวี , U – Useful : บอกคุณสมบัติประโยชน์ของสินค้า จะช่วยในการตัดสินซื้อ ณ จุดขาย (POS) , T – Telling a Story : ถ่ายทอดเรื่องราวสะท้อนชีวิตจริ ง และสร้างแรงบันดาลใจ , O – Obvious : สื่อสารตรงประเด็นชัดเจน แจ่มแจ้ง , R – Reliable :แหล่งข้อมูลวางใจ เชื่อถือได้ โดยเฉพาะการรีวิวสินค้า , N – Note of Music : ดนตรีในหัวใจ ใช้ทำนองเพลงในการสื่อสาร
ภูธรออนไลน์
อาจารย์สุพรรณี วาทยะกร อาจารย์สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาการจัดสัมมนาการตลาด “ภูธร มาร์เก็ตติ้ง ล้วงลึกอินไซต์… สื่อแบบใด จับใจตลาดท้องถิ่น” บอกว่า ทุกวันนี้การเปลี่ยนแปลงทางสั งคมและเทคโนโลยี ทำให้ความเจริญจากเมืองกรุงแพร่ ขยายเข้าไปยังพื้นที่ในต่างจั งหวัดมากขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรั บตัวในการใช้กลยุทธ์และการสื่ อสารการตลาด ให้สอดคล้องกับความชื่ นชอบและไลฟ์สไตล์ของคนต่างจั งหวัด เพราะถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ โดยมีจำนวนมากกว่า 54 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 84% ของประชากรรวมทั้งประเทศ จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 65.7 ล้านคน ดังนั้น หากแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ สามารถครองใจผู้บริโภคต่างจั งหวัดได้ ย่อมหมายถึ งโอกาสในการขยายตลาดและสร้ างรายได้ผลกำไรมหาศาล เนื่องจากตลาดภูธรถือเป็ นตลาดใหญ่มีเม็ดเงินสะพัด มากกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท
โดยภาคที่มียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่ อครัวเรือนมากที่สุด คือ ภาคใต้ และภาคกลาง ประมาณเดือนละ 20,000 บาท รองลงมา คือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเดือนละ 15,000 บาท สำหรับกลุ่มสินค้าที่จับจ่ายใช้ สอยมากที่สุดคือ “อุปโภคบริโภค” ด้วยมูลค่าการจับจ่ายที่สูงมาก กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด CMMU จึงทำการศึกษารูปแบบการสื่ อสารการตลาดให้โดนใจผู้บริ โภคในตลาดต่างจังหวัด ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุ บันที่แต่ละแบรนด์มีการแข่งขั นสูงมาก การสื่อสารการตลาดที่ถูกช่องทาง ถูกวิธี และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย มีผลต่อการทำให้สินค้าและผลิตภั ณฑ์เป็นที่รู้จั กและขยายยอดขายได้อย่างรวดเร็ว

ด้าน นายวรท ตรีรัตน์ศิริกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวแทนกลุ่ม “ภูธร มาร์เก็ตติ้ง ล้วงลึกอินไซต์… สื่อแบบใด จับใจตลาดท้องถิ่น” กล่าวว่า จากการศึกษาและวิจัยในเรื่ องของการสื่อสารการตลาดแบบบู รณาการ หรือ IMC (Integrated Marketing Communication) ซึ่งหมายถึงการสื่อสารการตลาดที่ ต้องใช้สื่อหลากหลายรู ปแบบผสมผสานกัน เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิ ภาพสูงสุดไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ รู้จักสินค้าและผลิตภัณฑ์ อันจะส่งผลให้มีโอกาสขายสินค้ าได้มากขึ้นตามไปด้วย โดยจากการสำรวจกลุ่มคน “ภูธร”ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่เกิ ดและอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉลียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง (ไม่รวม กทม.) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างให้อยู่ ในช่วงอายุระหว่าง 20 – 50 ปีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,001 – 20,000 บาท จำนวน 821 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกอีก 32 คน พบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาด 3 อันดับแรก ที่คนต่างจังหวัดเข้าถึงและมีอิ ทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้แก่
1. สื่อออนไลน์ (Online Media) โดยปัจจุบันสื่อออนไลน์เข้าถึ งกลุ่มคนคนต่างจังหวัดเกือบ100% แล้ว โดยคนส่วนใหญ่นิยมเล่นโซเชียลมี เดีย ในช่วงเวลา 20.00 – 24.00 น. อันดับ 1 คือFacebook เพื่อติดตามชีวิตเพื่อน อ่านข่าว สาระต่างๆ ในเพจ และช้อปปิ้งออนไลน์ เฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยจะซื้อจาก Facebook และ Instagram ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยจะเลือกซื้อจากความน่าเชื่ อถือของร้าน ซึ่งวัดได้จากรีวิวสินค้ าและจำนวนคนกดไลค์มากที่สุด อันดับ 2 คือ คือ LINE เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่ อน และ อันดับ 3 คือ Youtube และ Instagram ซึ่งคนต่างจังหวัดชอบดูรายการย้ อนหลังผ่าน Youtube และรายการที่ชื่นชอบคือละครเป็ นต่อ และรายการเกมโชว์ I can see your voice และ The Mask Singer อย่างไรก็ตาม จากผลวิจัยพบว่า 88% ของกลุ่มตัวอย่างมักกดข้ามโฆษณา ยกเว้นโฆษณาตลกขบขันเพราะดูเพื่ อความบันเทิงแต่จดจำแบรนด์ไม่ค่ อยได้ รองลงมาคือโฆษณาเล่าเรื่องราวซึ้ งปนเศร้าหรือดราม่า โดยคนภาคใต้จะชอบโฆษณาที่มี เพลงประกอบมากที่สุด และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่ าคนต่างจังหวั ดในภาคกลางและภาคอีสาน ชอบการโพสต์แบบอัลบัมรูปมากที่ สุด ทว่าคนภาคเหนือชอบแบบรูปเดี ยวเพราะสามารถอ่านจบได้ในหน้ าเดียว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรดึงสิ่งสำคั ญที่ต้องการจะสื่อสารไว้ช่วงแรก เพื่อตอบสนองกลุ่มคนต่างจังหวั ดได้ครบทุกภาค โดยเนื้อหาที่คนต่างจังหวัดให้ ความสนใจบนสื่อออนไลน์มากที่สุ ดคือเนื้อหาที่ให้ข้อมูลที่เป็ นประโยชน์ แต่จะให้ความสนใจกับเนื้ อหาโฆษณาแฝงและดารานักร้องน้ อยที่สุด

2. สื่อภายในร้านค้า (Point of sales material) จากงานวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่ างเคยเห็นสื่อภายในร้านค้าถึง 90% และตัดสินใจซื้อสินค้าจากสื่ อประเภทนี้ถึง 86% โดยป้ายยื่นและป้ายที่อยู่บนชั้ นวางสินค้า เป็นป้ายที่กลุ่มตัวอย่างทุ กภาคพบเห็นบ่อยที่สุด เนื่องจากอ่านง่ายและสามารถตั ดสินใจซื้อได้ทันทีที่หน้าชั้ นวางสินค้า โดยเนื้อหาบนป้ายที่คนต่างจั งหวัดชอบมากที่สุด คือ ป้ายบอกคุณสมบัติของสินค้ าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ชอบป้ายโฆษณาสติ๊กเกอร์ที่ ติดบนพื้น สำหรับโปรโมชั่นที่ชอบมากที่สุ ดคือ 1 แถม 1 แต่โปรโมชั่นที่คนต่างจังหวั ดไม่ชอบคือ การซื้อสินค้าครบจำนวนเงินตามที่ กำหนดแล้วแลกสินค้าพรีเมี่ยม

3. สื่อทีวี (Television) ผลสำรวจของคนต่างจังหวัดเข้าถึ งสื่อทีวี คิดเป็น 89% โดยเฉพาะภาคกลางและภาคอีสานรั บสื่อประเภทนี้มากที่สุด ช่วงเวลาที่ดูทีวีมากที่สุดคือ 20.00น. – 24.00 น. เฉลี่ยใช้เวลาดูประมาณ 1-2 ชั่วโมง ที่น่าสนใจคือคนต่างจังหวั ดสามารถจดจำแบรนด์สินค้าจากสื่ อทีวีได้ถึง88% แต่รูปแบบการโฆษณาที่เป็นที่ จดจำได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทุกวันนี้คนมักจะจดจำสินค้ าและผลิตภัณฑ์จากการโฆษณาแฝง ที่ผสมไปกับเนื้อหาของรายการหรื อซีรีย์ มากกว่าจดจำโดยการขึ้นป้ายหรื อโลโก้สนับสนุนเช่นในอดีต

โดยจากการสำรวจช่องที่ครองเรตติ้ งชาวภูธรมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 คือ ช่อง one (31) รายการที่คนต่างจังหวัดพูดถึ งมากที่สุดคือละครซิทคอม เช่น“ละครเป็นต่อ” และรายการประกวดร้องเพลง เช่น “รายการศึกวันดวลเพลง” โดยจะเห็นได้ว่าคนต่างจังหวั ดเน้นความบันเทิงครบทุกรสชาติ อันดับที่ 2 คือช่อง 3 ผู้ชมส่วนใหญ่เน้นไปที่รายการข่ าว โดยรายการที่พูดถึงมากที่สุดคือ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “ข่าว 3 มิติ” เนื่องจากเป็นข่าวที่ทันเหตุ การณ์ ผู้ประกาศข่าวอ่านข่าวสนุก เนื้อหาครบถ้วน และเจาะลึกในประเด็นข่าวนั้นๆ ได้ดี และ อันดับที่ 3 คือ ช่อง 7 ส่วนใหญ่นิยมดู “รายการกิ๊กดู๋ สงครามเพลง” เนื่องจากเป็นพื้นที่ให้คนต่ างจังหวัดได้แสดงออกถึงวัฒนธรรม เพราะเป็นเพลงที่ใช้ภาษาท้องถิ่ น และ “รายการปลดหนี้” เพราะให้กำลังใจคนที่มีวิถีชีวิ ตคล้ายคลึงกัน
นอกจากรูปแบบการสื่อสารที่ ครองใจผู้บริโภคต่างจังหวัดข้ างต้นแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถเลือกใช้ การสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ผสมผสาน เช่น โฆษณาตามป้ายกลางแจ้ง แจกใบปลิว ทำรีวิวสินค้าให้เกิดกระแสปากต่ อปาก ลงโฆษณาทางวิทยุ ใช้พนักงานขายตรง และออกบูรกิจกรรมแจกของ เพื่อให้เกิดการจดจำและรับรู้ ได้มากขึ้น
โดยจากผลวิจัยดังกล่าวสามารถสรุ ปเป็นกลยุทธ์ “ภูธร – PHUTORN”ซึ่งผู้ ประกอบการสามารถนำไปประยุตก์ใช้ เพื่อให้การสื่ อสารการตลาดตรงใจผู้บริโภคต่ างจังหวัด ดังนี้ P – Picture & Promotion : เน้นภาพชัดและโปรโมชั่นเด่น เนื้อหาจะในโบชัวร์จะต้องไม่ เยอะ ,H – Humour : ตลก ขบขันสอดแทรกความบันเทิ งในรายการทีวี , U – Useful : บอกคุณสมบัติประโยชน์ของสินค้า จะช่วยในการตัดสินซื้อ ณ จุดขาย (POS) , T – Telling a Story : ถ่ายทอดเรื่องราวสะท้อนชีวิตจริ ง และสร้างแรงบันดาลใจ , O – Obvious : สื่อสารตรงประเด็นชัดเจน แจ่มแจ้ง , R – Reliable : แหล่งข้อมูลวางใจ เชื่อถือได้ โดยเฉพาะการรีวิวสินค้า , N – Note of Music : ดนตรีในหัวใจ ใช้ทำนองเพลงในการสื่อสาร