Biznews

ยีนส์ Never Die

ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคหรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods)เท่าน้ันที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น จากผลการวิจัยของบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) ผู้ทำการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก ในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคหรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ที่ได้เผยผลวิจัยชุดใหญ่ “อนาคตของตลาด ในช่องทาง อี-คอมเมิร์ช” พร้อมชี้แนวโน้มและปัจจัยในการเจาะตลาดอี-คอมเมิร์ช ตามพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ของคน 5 ทวีป”พบว่า ภาพรวมการเติบโตของวงการอุตสาหกรรม FMCG ทั่วโลก ในปี 2559 สิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน 2559

สำหรับช่องทางปกตินั้น มีอัตราเพียง 1.3% และคาดการณ์ว่า จะตกลงเหลือเพียง 1.2% ในปี 2560 ในทางตรงกันข้าม มูลค่าตลาด FMCG ในช่องทางอี-คอมเมิร์ช กลับมีอนาคตสดใส มีอัตราเติบโตถึง 15% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นับเป็นอัตรา 4.4% หรือเป็นมูลค่า $ 48,000 ล้าน ของยอดขายรวมของสินค้าทั้งนี้ คาดว่า สินค้าที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ จะสามารถเติบโตสูงในอัตรา 9% หรือเป็นมูลค่า $ 150,000 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมของกลุ่ม FMCG ในปี พ.ศ. 2568

ตลาดกางเกงยีนส์ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท เมื่อปีก่อนๆ มีอัตราการเติบโตราว 10% แต่ในปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปีนี้คาดว่าจะเติบโตเป็นตัวเลขเดียวเนื่องมาจากลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง เป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากช่องทางอีคอมเมิร์ชด้วยเช่นกัน เห็นได้จากการปรับกลยุทธ์ของแบรนด์ใหญ่ๆ หลายแบรนด์ที่เข้าหาช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ล่าสุด ลีวายส์ ในฐานะผู้นำตลาดกางเกงยีนส์ในประเทศไทย ภายใต้การจัดจำหน่ายโดยบริษัท ดีเคเอสเอช(ประเทศไทย) โดยวรรณภาณี ทัศนาญชลี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บอกว่า ถือโอกาสฉลองครบรอบ 144 ปีลีวายส์ทั่วโลกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2560 ได้เปิดตัวเว็บไซด์ www.levis.co.th เพื่อเป็นการขยายช่องทางเข้าถึงลูกค้าลีวายส์และรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ด้วยเว็บไวด์ 3 ภาษาคือภาษาไทย อังกฤษ และภาษาจีน พร้อมท้ังต้ังเป้าหมายการเป็น Omni Channel Retailer และ personalized Marketing โดยจะพัฒนาแอพพลิเคชั่น Jeanspiration ให้เป็นไลฟ์สไตล์แอพพลิเคชั่น รวบรวมเทรนดืการแต่งกายเดนิมและสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นได้ทันที่

ซึ่งการเปิดตัวเว็บไซด์ในครั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในตลาดอาเซียนหลังบริษัทแม่ต่อสัญญาการทำตลาดอีก 10 ปี โดยลีวายส์คาดหวังช่องทางออนไลน์ในคร้ังนี้ไว้ที่ยอดขาย 10% ของรายได้ทั้งซึ่งถือว่ามีปริมาณสูงมากเมื่อเทียบกับลีวายส์ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในเซาท์อีสเอเชียที่มียอดขายออนไลน์ไม่เกิน 5% ของรายได้ทั้งหมด

นอกจากการเปิดตัวเว็บไซด์ในประเทศไทยแล้ว ลีวายส์ยังคงเดินหน้าทำตลาดในประเทศอื่นๆ ที่ได้รับสิทธิคือพม่า โดยมีแผนจะเข้าไปเปิด 8-10 สาขาในเมืองหลักๆ อาทิ ย่างกุ้ง รวมทั้งเปิดตลาดในประเทศลาว 2-3 แห่งในปีนี้และปีหน้า โดยจะเริ่มที่พม่าก่อนเนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่และมีโอกาสในการทำตลาดมาก ขณะที่ในประเทศ ลีวายส์มีแผนเปิดสาขาเพิ่มอีก 17-20 สาขาโดยปลายปีเปิดที่ไอคอนสยาม

วรรณภาณี มองภาพรวมของการแข่งขันในตลาดยีนส์ปีนี้ว่า รุนแรงมาทุกยุคทุกสมัยซึ่งในฐานะที่ลีวายส์เป็นที่ 1ต้องรักษายอดขายให้ต่อเนื่อง โดยวางตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์เป็น Lifestyle Brands จากก่อนหน้าที่วางเป็น Denim Brands เนื่องจากกางเกงยีนส์ตัวเดียวมีอายุการใช้งานสูงถึง 60 ปี โอกาสในการซื้อใหม่ยากมากจึงต้องปรับโซลูชั่นใหม่ๆ แต่ยังคงความเป็นตัวตนด้วยการขยายไลน์ไปยังแอคเซสเซอรี่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เสื้อ กระเป๋าสตางค์ หมวก

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพฤติกรรมของคนไทยต่อการซื้อยีนส์พบว่าน้อยมากเพียงปีละครั้ง ขณะที่ลูกค้าลีวายส์ซื้อ 3 ครั้งต่อปี ลูกค้าหลักของลีวายส์ส่วนใหญ่อายุ เฉลี่ย 30 ปีขึ้นไปไม่นิยมบอกต่อ มีความเป็นส่วนตัวสูง การเปิดตัวเว็บไซด์จึงเข้ามาตอบโจทย์การซื้อสินค้าโดยขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังจังหวัดที่ยังไม่มีช้อปของลีวายส์มีโอกาสเข้าถึงสินค้าลีวายส์มากขึ้น

ประวัติลีวายส์

ปี 1853 นาย Levi Strauss ชาวบาวาเรีย ได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อ Levi Strauss & Co. (LS&CO.)ขึ้นที่อเมริกา ในปี 1873 Levi Strauss และ Jacob Davis ได้ผลิตยีนส์ Levi’s® ออกมาเป็นแบรนด์ยีนส์แรกของโลก ทุกวันนี้แบรนด์The Levi’s® มีชื่อเสียงไปกว่า 160 ประเทศ และบริหารธุรกิจโดยลูกหลานของLevi Strauss นอกจากนั้น Levi Strauss & Co. (LS&CO.) ยังมีแบรนด์อื่นที่อยู่ภายใต้ ได้แก่ Dockers® และ Levi Strauss Signature™

– Levi’s เข้ามาครั้งแรกในประเทศไทยในปี 1950 โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดอา.จวน (R.jaun Trading ) 22 ปีต่อมา ลีวายส์ได้เข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทยชื่อ Levi Strauss (Thailand) Co., Ltd. เพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าลีวายส์ โดยให้บริษัทแองโกล ไทย จำกัด เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย

– ปี 1975 แองโกลไทยได้หมดสัญญาจัดจำหน่ายลง อื้อจือเหลียงจึงตั้งบริษัทใหม่ ชื่อบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด เพื่อนำเข้าและขายพร้อมทั้งผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence จากบริษัทแม่ โดยเป็นการผลิตบางรุ่นที่บริษัทแม่ให้ผลิต พร้อมกันนี้ได้ยกเลิก Levi Strauss (Thailand) Co., Ltd. จากนั้นปี 1987 บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อบริษัท ดีเคเอสเอช(ประเทศไทย)จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence อย่างเป็นทางการแทนพาราวินเซอร์ กับอื้อจือเหลียง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ MC ได้ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไวรัลมาร์เก็ตติ้งที่กำลังเป็นที่นิยม สร้าง ไวรัล คลิป น้องใหม่ “ความสมบูรณ์แบบในแบบคุณ…BEAUTIFULLY IMPERFECT” โดยนำเสนอผ่านช่องทางดิจิทัลมีเดีย เพื่อถ่ายทอดแนวคิดที่ต่างมุมมอง หวังปลุกกระแสตื่นตัวในหมู่ผู้บริโภคให้มองเห็นความสมบูรณ์แบบในตัวคุณ

ณเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหม? ว่าคุณไม่ชอบอะไรในตัวเอง? คุณอยากเปลี่ยนแปลงส่วนไหน? หรือมีอะไรที่คุณคิดว่ายังไม่ดีพอ…คุณอาจคิดว่าคุณไม่สมบูรณ์แบบ…แต่จะดีแค่ไหน ถ้าความไม่สมบูรณ์แบบเหล่านั้น มันคือความสมบูรณ์แบบในตัวคุณ…”BEAUTIFULLY IMPERFECT…ความไม่สมบูรณ์แบบ ที่สมบูรณ์แบบที่สุด” สำหรับ ไวรัลคลิป เรื่องนี้ ต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมแชร์ และถ่ายทอดความประทับใจ ผ่านการนำเสนอโดยการทดลอง “ ความสมบูรณ์แบบในแบบคุณ” โดยคำตอบเหล่านั้นมาจากตัวแทนอาสาสมัครกับการทดลองด้วยคำถามง่ายๆ “ คุณไม่ชอบอะไรในตัวเอง “ และรับฟังอีกหนึ่งคำตอบจากคนพิเศษของพวกเขาด้วยคำถาม “คุณชอบอะไรในตัวเขา” ซึ่งคำตอบที่ได้นั้นจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ต่างมุมมอง

นั่นคือ การปรับตัวเสื้อผ้ายีนส์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ การรักษาลูกค้ามิให้คู่แข่งมาแย่งไป ท่ามกลางการแปรผันของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยากต่อการต้านทาน

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: