Columnist

มูลค่า “ไหทองคำ” บน Youtube

มูลค่า “ไหทองคำ” บน Youtube โดย…ธนก บังผล

 

ถ้า 249 ล้านวิวบนยูทูปของ “ลำไย ไหทองคำ” คือจำนวนครั้งที่คนเข้าไปดูมิวสิควีดีโอ “ผู้สาวขาเลาะ” แบบ Official Lyrics จะสร้างปรากฏการณ์ฟีเว่อร์ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะประเทศไทยเองก็ไม่เคยผลิตเพลงที่มีคนเข้าไปดูมากขนาดนี้มาก่อน

ตัดประเด็นเล็กๆน้อยๆ เรื่องการแต่งกาย การใช้ท่าเต้น การแสดงบนเวที และภาพลวงวัฒนธรรมแบบมือถือสากปากถือศีลออกไป แล้วนำเอาจำนวน 249 ล้านวิวบนยูทูปมาคำนวณหามูลค่าเป็นเงิน จะได้เท่าไหร่?

ที่ผ่านมาการนำเพลง มิวสิควีดีโอ คลิป หรือเทปรายการต่างๆ อัพโหลดขึ้นยูทูปทำกันด้วยความสนุก มีอะไรก็ใส่ลงไปในสื่อสังคมออนไลน์

แต่ในต่างประเทศไม่ได้คิดแบบนั้น เนื่องจากมีการทำคลิปต่างๆอัพโหลดลงยูทูป แล้วสามารถนำมาคำนวณเป็นรายได้เข้ากระเป๋าได้เป็นกอบเป็นกำตั้งแต่เด็กตัวเล็กๆ จนถึงผู้ใหญ่ที่มีไอเดียต่างๆ

เขามีวิธีการคิดเงินต่อจำนวนครั้งที่คนคลิกเข้าไปดูอย่างไร

เริ่มต้นอยู่ที่ 2 ปัจจัยคือ CTR กับ CPC โดย CTR คือ อัตราการคลิกต่อการเห็นโฆษณา เช่น คลิกเข้าไปดูเพลงแต่มีโฆษณาบ้าน ถ้าคนเห็น 100 คนแต่คลิก 50 แปลว่า CTR = 50% หรือในคลิปนั้นมีโฆษณาประกันชีวิต แล้วคนเห็น 100 คน คลิก 20 แปลว่า CTR = 20%

ถ้าโฆษณาบ้าน กับประกันชีวิต ใช้ keyword ในการตั้งชื่อว่า “ลำไย” เป็นชื่อเดียวกัน แปลว่า โฆษณาบ้าน มีความน่าสนใจกว่า โฆษณาประกันชีวิตเพราะมีอัตราการคลิกเยอะกว่า

ส่วน CPC คือ ค่าคลิกเฉลี่ยต่อ 1 คลิก ที่เกิดขึ้นจริง เช่น คลิกละ 3 บาท, 5 บาท เป็นต้น

ในขณะที่ศัพท์อีกตัวที่ควรต้องรู้คือ CPM ซึ่งเป็นค่าคลิกเฉลี่ยต่อการเห็นโฆษณา 1,000 ครั้ง เช่น 1,000 ครั้ง google คิดตังค์ 3 บาท แปลว่าCPM = 3 บาทครับ

CPC ที่เราเห็นใน AdWords จะมี 2 แบบ CPC สูงสุด คือค่าสูงสุดที่เรายอมจ่ายในการคลิกหนึ่งครั้ง ส่วน CPC เฉลี่ย คือค่าใช้จ่ายต่อคลิกที่เราจ่ายจริง ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วจะน้อยกว่า CPC สูงสุดที่ตั้งไว้ ส่วน CPM จะมีได้เฉพาะในโฆษณาแบบดิสเพลย์

CPC = Cost Per Click คือเงินที่ใช้ต่อการคลิก 1 ครั้ง

แต่ PPC = Pay Per Click คือการจ่ายเงินในรูปแบบต่อคลิก

หลายคนอาจจะงง ครับ ผมก็งง ข้อมูลที่นำมาเขียนก็เป็นการค้นคว้าหาจากกูเกิ้ล ด้วยความอยากรู้ เผื่อว่าจะมีใครเข้าใจแล้วมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

เพราะปรากฏการณ์ “ลำไย ไหทองคำ” ไม่ใช่มีแค่มิติท่าเด้าที่นายกรัฐมนตรีออกมาติติงให้ปรับปรุงเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลกระทบจากคำพูดนายกฯ ที่ทำให้ประชาชนจำนวน 3,000 กว่าคนไปยืนรอซื้อตั๋วในตอน 4 ทุ่มเพื่อเข้าไปดูน้องลำไยแสดง จนเจ้าของบริษัท “ไหทองคำ” ยอมรับว่าไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน

จากคิวแถม คือการแสดงที่ขอร่วมแจมบนเวทีกับศิลปินหลัก ค่าตัวน้อยนิด กลายมาเป็นคิวหลักที่มีคนมาขอแสดงเป็นคิวแถม ต้องต่อแถวซื้อตั๋วมากมาย เพื่ออยากจะเข้าไปเห็นน้องลำไย ใส่ชุดสีทอง อันเป็นเอกลักษณ์ของค่ายไหทองคำมาเต้นท่าเด้า

มิติมูลค่าเพิ่มนั้นน่าสนใจ ถ้าเอาตัวเลขกลมๆ 249 ล้านคลิกเข้ามาคิดเป็นเงิน แน่นอนว่าถ้ามีโฆษณาในเพลงผู้สาวขาเลาะ ลำไยจะรับเงินไปแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

ที่ผ่านมารู้มั้ยครับ คนไทยนั้นก็มักจะนำเพลงของคนอื่นมา Cover ลงยูทูป เพื่อเกาะกระแสเพลงนั้นๆ จนบางเพลง บางคลิปมีคนเข้าไปดูมากกว่าOfficial จนคนทำเพลงแทบอยากร้องไห้

สิ่งเดียวที่ทำให้ไม่มีคนเอาเพลง”ผู้สาวขาเลาะ” ของน้องลำไยไป Cover เพราะอะไรรู้มั้ยครับ

…เพราะน้องลำไยมีทั้งเสียงที่ร้องเพลงนี้แล้วมันคึกคักเกินกว่าที่ใครจะมาเลียนแบบได้ ทั้งๆที่ท่าเด้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์นั้น มิวสิคเพลง “ผู้สาวขาเลาะ” ไม่มีให้เห็นด้วยซ้ำ

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: