มิติใหม่อสังหาไทย! ‘แสนสิริ collab ขายหัวเราะ’ ผุดแคมเปญบ้านนี้ ฮะ ฮะ ฮ่า

หลังจากประสบความสำเร็จ จากแคมเปญ แสนสิริ xบาร์บีคิวพลาซ่ามาแล้ว ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากมาย เนื่องจากไม่เพียงการสร้างไวรัล และการออกโปรโมชันสำหรับลูกบ้านของแสนสิริเท่านั้น แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่ทั้งแสนสิริและบาร์บีคิวพลาซ่าสมประโยชน์(วิน-วิน)กันทั้งคู่
ล่าสุด แสนสิริเดินเครื่องต่อคราวนี้ฉีกแนวการทำแคมเปญการตลาดอีกครั้งด้วยการใช้คาแรคเตอร์ การ์ตูนคลาสสิคอย่าง ขายหัวเราะ ที่ใครๆ ก็รู้จักมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์แสนสิริ
โดยเปิดทีเซอร์ ผ่านTwitter ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ซีอีโอแสนสิริ ก่อนจะเปิดตัวแคมเปญ ‘บ้านนี้ ฮะ ฮะ ฮ่า’ เพื่อให้คนไทยมีบ้ายได้ง่ายขึ้น ในวันอังคารที่ 3 พ.ค.นี้ อย่างเป็นทางการ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การตลาดของแสนสิริในครั้งนี้ ถือเป็น ‘กิมมิก’ทางการการตลาดที่มาถูกที่ ถูกเวลา ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนตับแล่บเช่นนี้ การนำ ‘ขายหัวเราะ’ แบรนด์ที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานมา collab กับแสนสิริ ถือเป็นการสร้างสีสัน เรียกรอยยิ้มได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลายแบรนด์เลือกใช้ตัวการ์ตูนมาสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า เนื่องจาก ตัวการ์ตูนมีความน่ารักและให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร ช่วยลดความเคร่งเครียดและความเป็นทางการของเนื้อหา ตัวการ์ตูนไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุการใช้งาน ลดความเสี่ยงการใช้บุคคลซ้ำกับแบรนด์อื่นที่ทำให้ลูกค้าสับสน ตัวการ์ตูนสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย นำไปใช้สื่อสารได้หลายช่องทางมากกว่าบุคคลจริง
และที่สำคัญตัวการ์ตูนทำให้ตราสินค้าจับต้องได้ มีเอกลักษณ์ มีบุคลิกภาพเฉพาะของตราสินค้า เพื่อสื่อสารหรือถ่ายทอดเรื่องราวของตราสินค้าได้ตรงตามความต้องการ
อนึ่ง ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ในเวลาต่อมา ทางบันลือกรุ๊ป ได้ใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับการจัดทำขายหัวเราะในรูปแบบอีแม็กกาซีน โดยเวอร์ชันทดลองแรกเริ่ม มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน
นอกจากนี้ ขายหัวเราะยังจัดเป็นนิตยสารการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดขายได้กว่าล้านเล่มของแต่ละเดือน ตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
ส่วนขนาดรูปเล่มของขายหัวเราะ ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 [2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า “ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า” มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือขายหัวเราะในปัจจุบัน ส่วนขายหัวเราะฉบับเดิมก็ยังคงพิมพ์ต่อไป จนกระทั่งมีการยกเลิกในเวลาต่อมา เหลือเพียงขายหัวเราะฉบับกระเป๋าเท่านั้น
ราคาขายของขายหัวเราะในสมัยเล่มใหญ่นั้นอยู่ที่ 5 บาท (ต่อมาได้เพิ่มเป็น 6 และ 7 บาท) ต่อมาเมื่อมีการปรับขนาดลงมาเป็นฉบับกระเป๋า จึงมีการปรับราคาหนังสือใหม่เป็น 10 บาท ภายหลังจึงขึ้นราคาเป็น 12 บาท และ 15 บาท (ราคาปัจจุบัน ปรับขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549) ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวันและรายสัปดาห์พร้อมกับมหาสนุก โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) ได้มีการเปลี่ยนกำหนดออกเป็นรายปักษ์ และปรับราคาเป็นเล่มละ 20 บาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สนั่นวงการ!’แสนสิริ’ ผนึก’บาร์บีคิว’ เปิดแคมเปญใหญ่ ‘มีบ้านแถมอิ่มท้อง’
- ทำธุรกิจคนเดียวมันเหงา! ‘ปีโป้’ Collaboration โอสถ กลายเป็น ‘ปีโป้ กลิ่น M-150’ลิมิเต็ดเอดิชัน