ธุรกิจลิฟท์ยังสะเทือน!’มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์’ เปิดสมัครใจลาออก จ่ายสูงสุด37เดือน

สะเทือนวงการธุรกิจลิฟท์ ‘มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์’ เปิดสมัครใจลาออก จ่ายชดเชยสูงสุดตามกฏหมายแรงงานสูงสุด 37เดือน เซ่นพิษโควิด
ยังคงกวาดล้างทุกธุรกิจให้ราบเป็นหน้ากลองอย่างต่อเนื่อง สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้หลายบริษัท หลายธุรกิจสูญหายไปในพริบตา
ล่าสุด บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ เอเซีย จำกัด (AMEC) โรงงานผลิตลิฟท์และบันไดเลื่อนที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ มีหอทดสอบลิฟท์ที่สูงที่สุดในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ได้ประกาศโครงการสมัครใจลาออกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บริษัทจะประกาศผลการพิจารณาผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ลาออกตามโครงการภายในวันที่ 2 กันยายน 2563 ทั้งนี้บริษัทจะจัดประชุมชี้แจงให้กับพนักงานผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้ลาออกตามโครงการสำหรับการกำหนดการวันเวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง สิทธิประโยชน์และเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับพนักงานที่ได้รับการอนุมัติให้ลาออกตามโครงการนี้
ค่าจ้างค่าทำงานล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดและค่าอื่นๆคำนวณถึงวันสุดท้ายของการทำงาน ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ในปีที่ออกและสิทธิสะสมระหว่างปีที่ออกจากงาน เงินกองทุนสำรองชีพส่วนผสมของพนักงานและส่วนสมทบของบริษัท เงินช่วยเหลือพิเศษตามตารางดังนี้
1. อายุงาน 20 ปีขึ้นไป ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 53 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 13เดือน 10วัน (400วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 24เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 37เดือน 10วัน
1.1 อายุงาน 20 ปีขึ้นไป ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) อายุ 54 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 13เดือน 10วัน (400วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 19เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 32เดือน 10วัน
2. อายุงาน 10ปี แต่ไม่ครบ20ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 53 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 10เดือน (300วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 22เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 32เดือน
2.1 อายุงาน 10 ปีแต่ไม่ครบ20ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) อายุ 54 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 10เดือน (300วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 17เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 27เดือน
3. อายุงาน 6ปี แต่ไม่ครบ10ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 53 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 8เดือน (240วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 22เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 30เดือน
3.1 อายุงาน 10 แต่ไม่ครบ20ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) อายุ 54 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 8เดือน (240วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 17เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 25เดือน
4. อายุงาน 3ปี แต่ไม่ครบ6ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 53 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 6เดือน (180วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 20เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 26เดือน
4.1 อายุงาน 3ปี แต่ไม่ครบ6ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) อายุ 54 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 6เดือน (180วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 15เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 21เดือน
5. อายุงาน 1ปี แต่ไม่ครบ3ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 53 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ3เดือน (90วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 18เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 21เดือน
5.1 อายุงาน 1ปี แต่ไม่ครบ3ปี ( อายุพนักงานนับถึง 31 ธันวาคม 2563) อายุ 54 ปี
-(ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ) เงินช่วยเหลือพิเศษเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานคือ 3เดือน (90วัน)
– เงินช่วยเหลือพิเศษของบริษัท ได้รับ 13เดือน
– เงินช่วยเหลือพิเศษรวมทั้งสิ้น 16เดือน
ขอบคุณข้อมูล ข่าวสารชลบุรี-ระยองออนไลน์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- บ.แม่’ธนาธร’ก็ไม่รอด! ‘ไทยซัมมิท พีเคเค’ เปิดสมัครใจลาออก จ่ายสูงสุด 18.3 เดือน
- ‘AAT’ โรงงานประกอบรถยนต์ FORD-MAZDA เปิดโครงการสมัครใจลาออก!
- โควิดทุบยอดรถวูบ ! ‘มิตซูฯ’เปิดสมัครใจลาออก