Financial

มาตามนัด! ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมีมติเห็นชอบให้นาย ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)คนใหม่แทนนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระในวันที่ 30 ก.ย.นี้

สำหรับประวัติของนายเศรษฐพุฒิ ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดปัจจุบัน

‘ดร.นก’ – ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ ลำดับที่ 21 ปัจจุบันอายุ 55 ปี (เกิด 1 ก.พ. 2508 )

เศรษฐพุฒิ เป็นนักเรียนทุนด้านเศรษฐศาสตร์จาก Swarthmore College ประเทศสหรัฐฯ ก่อนจะได้รับโอกาสเข้าเรียนต่อ และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ประเทศสหรัฐฯ

หลังจบการศึกษา เศรษฐพุฒิ เริ่มทำงานเป็น Business Analyst ที่ McKinsey&Company ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ชื่อดังของสหรัฐฯ ก่อนจะเข้าทำงานเป็น เศรษฐกร ให้กับ ธนาคารโลก ในช่วงระหว่างปี 2535-2541
          

 ปี 2540 ประเทศไทยเกิด วิกฤตต้มยำกุ้ง นายเศรษฐพุฒิ ก็ถูกรัฐบาลไทยเรียกตัวกลับเพื่อมาช่วยฝ่าวิกฤตในคราวนั้น โดยรับตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการร่วม สถาบันวิจัยนโยบายการคลัง กระทรวงการคลัง ทำงานร่วมกับ นายวิรไท ผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบัน

 ปี 2548 นายเศรษฐพุฒิ ก็ถูก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในขณะนั้น ดึงตัวมาช่วยงานใน ทีมกลยุทธ์ โดยรับตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ตลท.

ปี 2550 รับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ ก่อนจะก้าวขึ้นเป็น กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ และหลังจากนั้นไม่นาน ก็เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยถือเป็นหนึ่งในเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในทุกวันนี้
จากนั้นเศรษฐพุฒิ ลาออกจากทุกตำแหน่งใน ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อมาก่อตั้งบริษัทของตัวเองคือ บริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุน

2557 นายเศรษฐพุฒิ ก็ถูกเชิญให้เข้ามานั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการร่วมวางแผนและกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ

 

 

 

ดร.เศรษฐพุฒิ เคยอธิบายถึงส่วนหนึ่งของหนทางแก้ไขเพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ทางออกที่ดีกว่าในยุค ‘The Newer Normal’ ว่า

“เรื่องแรกเราต้องปรับ Mindset ของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเอกชน ประชาชนหรือวิชาการ อย่าคอยให้ภาครัฐลงมือทำอย่างเดียว แต่ควรวางบทบาทให้รัฐเป็น Facilitator ช่วยผลักดันกระบวนการต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนและประชาชนดำเนินการ รวมถึง Mindset เรื่อง Sense of Urgency จากที่เคยคิดว่าเป็นปัญหาในระยะยาว คราวนี้จะปล่อยผ่านไม่ได้แล้ว”

ในยุควิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 “เศรษฐพุฒิ” เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น แก้ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้น

 

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
X
%d bloggers like this: