“ฟิวเจอร์พาร์ค” เผยความคืบหน้าฟิวเจอร์ซิตี้
เอ่ยชื่อ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จัก เพราะอาณาจักรแห่งนี้กว้างใหญ่ไพศาล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธิน-ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี บริหารโดยบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2538 พร้อมกับฟิวเจอร์พาร์ค บางแค มีการแบ่งโซนต่าง ๆ ออกเป็น 6 พื้นที่ คือ Fashion Park, Digital Park, Gourmet Park, Campus Park, Alive Park และ Banking Park
พิมพ์ผกา หวั่งหลี ทายาทคนสำคัญของตระกูลคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมด เธอใช้เวลากว่า 20 ปี ปลุกปั้นที่ดินผืนใหญ่ 600 ไร่ มรดกตกทอดจากย่าทองพูล หวั่งหลี จนกลายเป็นแลนด์มาร์คย่านรังสิต ปรับกลยุทธ์และฝ่าวิกฤตหลายรอบ ล่าสุดเปิดโครงการ Zpell @ Futurepark ส่วนต่อขยาย เงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท ปรับภาพลักษณ์ใหม่ ไม่ใช่แค่ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตอนเหนือ แต่เป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยของกลุ่มลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ และกำลังเร่งต่อจิ๊กซอว์แจ้งเกิดอาณาจักร “ฟิวเจอร์ซิตี้ (Future City)” เต็มรูปแบบ หลังประกาศแนวคิดนี้มานานกว่า 10 ปี บนพื้นที่ททั้งหมดกว่า 600 ไร่ ภายใต้เงินลงทุนกว่า แสนล้านบาท
ล่าสุด ฟิวเจอร์พาร์ค เผยความคืบหน้าฟิวเจอร์ซิตี้ พร้อมวางแผนการตลาดระยะยาวรองรับดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ในไตรมาส 4 นี้
นางรัตนา อนันทนุพงศ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัดเผยถึงความคืบหน้าของโปรเจคฟิวเจอร์ซิตี้ว่า เป็นแนวคิดของการที่จะพัฒนาที่ดินจำนวน650ไร่บริเวณโดยรอบฟิวเจอร์พาร์ค ให้เป็น “Center of Premium lifestyle and activity : ศูนย์รวมการใช้ชีวิตอย่างมีระดับของกรุงเทพฯ ตอนเหนือ” ที่ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์รวมการค้าปลีกที่สมบูรณ์ ได้แก่ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้าน,ศูนย์ออกกำลังกายขนาดใหญ่, ซูเปอร์ริจินัลมอลล์โรงพยาบาลเปาโล, โรงแรมและสปอร์ตฮับ โดยเปิดกว้างการลงทุนในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท
ความคืบหน้าของโครงการฯ ล่าสุด ที่เปิดให้บริการในปี 2561
• สปอร์ตฮับศูนย์รวมการออกกำลังกายขนาดใหญ่และสปอร์ตรีเทลช้อปชั้นนำ ประกอบด้วย“ฟิวเจอร์
อารีน่า”บนพื้นที่ 20ไร่ มีสนามฟุตบอล-ฟุตซอล, สนามแบตมินตัน, คลับเฮาส์-ร้านอาหาร, ส่วนบริการครบวงจรและลานจอดรถกว่า 300 คัน พร้อมด้วยศูนย์การเรียนรู้ด้านฟุตบอล และแบดมินตันในลักษณะอะคาเดมี นอกจากนี้ยังมี sport magnet, Sport Activity ได้แก่ สกี, ไอซ์สเก็ต, ฟิตเนส, โยคะ, โรงเรียนฝึกสอนมวยไทย, โรงเรียนเทควันโด, trampoline Jump และร้านสปอร์ตรีเทลชั้นนำ เพื่อสร้างความเป็นสปอร์ตฮับอย่างแท้จริงและสมบูรณ์แบบ
• ศูนย์รวมรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักธุรกิจระดับภูมิภาค ที่ต้องการเดินทางต่อไปในภาคต่อไปใน
ภาคเหนือ อีสาน ด้วยพื้นที่โครงการอยู่ใกล้สนามบินดอนเมือง บริษัทจึงได้ร่วมพัฒนากับพันธมิตรธุรกิจสร้างโรงแรม 2 โครงการ คือ โรงแรมระดับ 4 ดาว พื้นที่ 9 ไร่ อาคารสูง 11 ชั้น ประกอบด้วยห้องพัก 227 ห้อง, ห้องประชุมสัมนา, สระว่ายน้ำ และลานจอดรถ 151 คัน และโรงแรมระดับ 2 ดาว พื้นที่ 1 ไร่ เป็นอาคารสูง 7 ชั้น 79 ห้อง (ที่พักราคาประหยัด) และลานจอดรถ 35 คัน ทั้ง 2 โครงการจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2563
ในส่วนการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นอาณาจักรฟิวเจอร์ซิตี้ ด้านอื่นๆ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรธุกิจมืออาชีพหลายกลุ่ม เพื่อร่วมสร้างความสมบูรณ์แบบบนที่ดินแห่งนี้ โดยบริษัทฯ ปรับถนนภายในโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่มาใช้บริการ และรองรับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
และในส่วนของฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ “จากที่ศูนย์การค้าฯ ได้ทำการตลาดแบบเจาะรายเซกเมนท์ เน้น 3 กลุ่มหลัก ครอบครัว วัยรุ่น และสูงอายุ มุ่งให้ศูนย์การค้าเป็น “EXTRAODINARY EVERYDAY”ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ ที่คนทุกวัย มาใช้ชีวิตได้ทุกวัน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าใน 3 กลุ่มไลฟ์สไตล์ และทำให้เกิดคอมมูนิตี้ของแต่ละกลุ่มชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดแคมเปญและกิจกรรมที่เพิ่มความถี่ทุกสัปดาห์ คือ Food Fever และStar on Stage ทำให้ลูกค้าทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้น 10 %
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ที่ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว และ Internet of thing เข้ามามีบทบาทสำคัญ เราจึงได้ปรับเพิ่มกลยุทธ์ เสริมศักยภาพด้านบริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความแข็งแกร่งให้มากยิ่งขึ้น
– ปรับประสิทธิภาพบริการ FREE WIFI ความเร็วสูง 50 Mbps สนองตอบความสะดวกด้านการสื่อสารแบบเรียวไทม์ ของลูกค้าในทุกพื้นที่ โดยร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
– ดึงพันธมิตรกลุ่มธนาคาร 8 ธนาคารชั้นนำ ได้แก่ กรุงเทพ, ไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, กรุงศรีอยุธยา, ออมสิน, ทหารไทย และธนชาติ อำนวยความสะดวกด้วยการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มช่องทางการชำระสินค้า ระหว่างร้านค้าและลูกค้า ในรูปแบบ QR Code ให้สอดคล้องกับนโยบายสังคมไร้เงินสดของภาครัฐ ซึ่งจะเริ่มช่วงเดือนกันยายนนี้ วางเป้าหมายร้านค้าที่ร่วมโครงการช่วงแรกจำนวน 60%ของจำนวนร้านค้าทั้งหมด
– ติดตั้ง iBox ตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ โดยร่วมกับไปรษณีย์ไทย อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มนักช้อป
ออนไลน์ ที่ไม่สะดวกรับพัสดุที่บ้าน ซึ่ง iBoxคือ ตู้ล็อกเกอร์ที่สามารถนำจ่ายพัสดุให้แก่ผู้รับ โดยมีระบบตรวจสอบยืนยันความถูกต้องด้วยรหัสผ่าน OTP หรือ One time password
– ปรับกลยุทธ์การสื่อสารบนโลกออนไลน์ ด้วยการขยายช่องทางสื่อสาร อัพเดทข่าวสารให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละกลุ่มให้ตรงช่องทาง รวมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันมีความทันสมัย และเพิ่ม Engagement ในทุกช่องทางของโซเชียลมีเดีย เพื่อให้บริการและโปรโมชั่นต่างๆ offer ได้ทันท่วงทีและโดนใจ รวมทั้ง Mobile Application และสร้างการมีส่วนร่วม และสนุกให้ลูกค้าใน Big Event ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบ Big Data ให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
นางรัตนา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังเตรียมบิ๊กอีเว้นท์และแคมเปญไว้กระตุ้นกำลังซื้อในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี อย่างแคมเปญปีใหม่, เคาท์ดาวน์ และกิจกรรมย่อยต่างๆ อีกกว่า 10 งาน ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามาใช้บริการที่ฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ในปี 2561 เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายแน่นอน ทั้งนี้จากการเปิดให้บริการสเปลล์ 3 ปี มีลูกค้ากลุ่มเอเพิ่มขึ้น20% ลูกค้าใช้จ่ายต่อบิลเฉลี่ย 2,200บาท โดยมองว่าปัจจุบันภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีต่อเนื่อง หากแต่เลือกที่จะใช้จ่ายอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
ปัจจุบัน ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค อดีตทุ่งนารังสิตที่เคยมีคนดูถูกว่าทำศูนย์การค้ามาขายใคร มีพื้นที่บริการ 5.8 แสนตร.ม. บนที่ดิน 108 ไร่ หากรวมบรรดาแม่เหล็กอย่าง โฮมโปร อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ เทสโก้ โลตัส ที่เรียกว่า “ฟิวเจอร์พาร์ค ซิตี้” ใช้พื้นที่รวม 154 ไร่ โดยมีลูกค้าหมุนเวียน 2 แสนคนช่วงวันหยุด และ 1.67 แสนคนในวันธรรมดา หรือเฉลี่ยมีลูกค้าใช้บริการ 1.8 แสนคนต่อวัน เป็นไปตามเป้าหมายด้วยความสมบูรณ์ของ ฟิวเจอร์พาร์ค และ “สเปลล์” ที่มาเสริมทัพหวังดักลูกค้ากลุ่มคนมีสตางค์โดยเฉพาะ
ความสำเร็จของฟิวเจอร์พาร์ค ซิตี้ สะท้อนจากปริมาณลูกค้าหมุนเวียนจากเปิดบริการวันแรก 17 มี.ค.2538 เพียง 5 หมื่นคนต่อวัน วันนี้ทะลุกว่า 2 แสนคนต่อวันเข้าไปแล้ว โดยร้านค้า 80% ยังคงอยู่คู่ฟิวเจอร์พาร์คมาตลอด