Biznews

ปรุงรส ปรุงสุขภาพ มัดใจแม่บ้านยุคใหม่

แม้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2012-2016) มูลค่าตลาดเครื่องปรุงรสประกอบอ าหารโดยรวมในไทยจะเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ราว 6% ต่อปี แต่กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส พื้นฐานอย่างน้ำปลาและผงชูรสกลับมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของสังคมเมือง ขนาดครอบครัวที่เล็กลง และร้านอาหารต่างๆ ที่มีให้เลือกอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การทำอาหารกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเวลา

ทั้งนี้ ในปี 2016 ตลาดเครื่องปรุงรสประกอบอาหารใน ไทยมีมูลค่ารวมกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยใน 5 ปีที่ผ่านมากลุ่มเครื่องปรุงรสป ระกอบอาหารพื้นฐาน เช่น น้ำปลา ผงชูรส ซีอิ๊ว พริกไทย และน้ำมันหอย เป็นต้น ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 67% ของมูลค่าตลาด มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพียง 4.7% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ ยของตลาดเครื่องปรุงรสโดยรวมที่ 5.5% อีกทั้งยังมีแนวโน้มเติบโตชะลอตั วต่อเนื่องในช่วง 4 ปี ข้างหน้าอีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เครื่ องปรุงรสส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตอ บโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้ นในเรื่องความสะดวกและรวดเร็วได้

ในทางกลับกัน อีไอซีพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสสำเร็จรูปกลับมีแนวโน้มเติบโ ตสูงถึง 8.2% ต่อปีเพราะสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไ ตล์แม่บ้านไทยยุคใหม่ได้ดี

เครื่องปรุงรส
เครื่องปรุงรส

ปัจจุบันตลาดเครื่องปรุงรสกลุ่ม นี้มีสัดส่วนราว 23% ของมูลค่าตลาด โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอ ย่างมาก ได้แก่ ซอสปรุงรสประกอบอาหารสำเร็จรูป ผงปรุงรสประกอบอาหารสำเร็จรูป และซุปก้อนซุปผงสำเร็จรูป เนื่องจากเป็นตัวช่วยให้การทำอา หารสะดวกและประหยัดเวลามากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสสำ เร็จรูปเหล่านี้ในหลากหลายรู ปแบบและรสชาติ ประกอบกับการเร่งทำการตลาดจากผู้เล่นหลักในตลาด

ยกตัวอย่างเช่น Lobo ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ซอสและผงปรุงรสสำ เร็จรูปมากกว่า 80 ชนิด หรือเมนูรสดีของอายิโนะโมะโต๊ะอี กกว่า 15 ชนิด เป็นต้น โดยจากการเร่งทำตลาดในกลุ่มผลิต ภัณฑ์เครื่องปรุงรสสำเร็จรูปนี้ ส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของมู ลค่าตลาดเครื่องปรุงรสประกอบอาห ารโดยรวม โดยคาดว่ามูลค่าตลาดจะมีแนวโน้ม เติบโตได้สูงต่อเนื่อง ไปอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2020

นอกจากการตอบโจทย์ผู้บริโภคในเรื่องความสะดวกสบายและความหลากหลาย ของสินค้าแล้ว ยังต้องตอบโจทย์เรื่องสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วย

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาส ตร์กระทรวงสาธารณสุขในปี 2015 ระบุว่าโรคยอดฮิตของคนไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไตวาย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคควา มดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้ นถึง 93% และ 67% YOY ตามลำดับ ขณะที่โรคไตวายก็ไต่อันดับขึ้นมาอย่างรวดเร็วภายใน 3 ปีเท่านั้น เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงของคนไทยในปัจจุบันเกินปริมาณเหมาะสมที่ กำหนดต่อวันถึง 2 เท่า หรือเกินกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ซึ่งโรคเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทยไม่ว่าจะเ ป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันสูง รสจัด หรือปรุงเค็ม เป็นต้น ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเหล่านี้ เป็นตัวกระตุ้นให้คนไทยรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น

โดยพบว่ามูลค่าตลาดอาหารและเ ครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในกลุ่มสิ นค้าที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไขมัน เกลือ และสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ในระดับต่ำ รวมทั้งอาหารเสริมวิตามินและแร่ ธาตุ หรืออาหารที่ทำจากธรรมชาติและออร์แกนิคมีอัตราการเติบโตต่อเนื่ องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึงราว 6.2% ต่อปี

โดยในปี 2016 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุ ขภาพมีมูลค่าอยู่ที่ราว 1.8 แสนล้านบาท โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่ดีต่อ สุขภาพมีอัตราการเติบโตสูงถึง 9% ต่อปี ในขณะที่ตลาดเครื่องปรุงรสเพื่อ สุขภาพในไทยยังถือว่ามีความหลาก หลายน้อยมากในปัจจุบัน รวมทั้งยังมีรสชาติไม่ค่อยอร่อย และมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติในตล าดถึงราว 2 เท่า

อีไอซีเชื่อว่ารูปแบบการแข่งขัน ในอนาคตจะต้องเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรสที่สามารถตอบโจทย์ ผู้บริโภคได้ทั้งในเรื่ องความสะดวกและสุขภาพพร้อมๆ กัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันแทบจะไม่มี ผลิตภัณฑ์แบรนด์ใดในท้องตลาดที่ สามารถชูจุดขายทั้ง 2 ประเด็นนี้ได้

สะท้อนถึงช่องว่างและโอกาสทางธุ รกิจให้เติบโตได้อีกมาก ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมเค รื่องปรุงรสยังได้รับแรงสนับสนุ นจากนโยบายของสำนักงานคณะกรรมกา รอาหารและยาด้วยมาตรการแบบสมั ครใจในตั้งแต่ปี 2016 ด้วยสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ (healthier logo) บนผลิตภัณฑ์หากสามารถปรับสูตรลด น้ำตาล โซเดียม และไขมันในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกั บอาหารลงได้

ซึ่งในปัจจุบันเริ่มเห็นผลิตภัณ ฑ์เครื่องปรุงรสประกอบอาหารเพื่ อสุขภาพที่ลดปริมาณโซเดียมลงในกลุ่มเครื่องปรุงรสพื้นฐานอย่ างน้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว และน้ำมันหอยบ้างแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการพัฒน าผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสประกอบอ าหารเพื่อสุขภาพจะมีความหลากหลา ยมากขึ้น และขยายไปยังกลุ่มเครื่องปรุงรส สำเร็จรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามา รถในการแข่งขันและตอบสนองความต้ องการผู้บริโภคไทยยุคใหม่อีกด้ วย

การทำการตลาดทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคด้ วยเนื้อหาที่น่าสนใจและเข้าใจง่ าย ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วย ให้ผู้บริโภคสนใจประกอบอาหารเอง ที่บ้านมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือแม่บ้ านยุคใหม่ โดยจะเน้นไปที่การสอนทำอาหารทาน เองในครัวเรือนแบบง่ายๆ สอนการใช้ผลิตภัณฑ์ประกอบอาหารแ ละเครื่องปรุงรสต่างๆ ซึ่งพบว่าปัจจุบันได้รับการตอบรั บที่ดีอย่างมาก เช่น เฟซบุ๊กเพจคนอร์ รสดี โลโบ กินข้าวกัน หมีมีหม้อ พาทำพาทาน ศุภชัยเสมอมิตร และ easycooking เป็นต้น ซึ่งเฟซบุ๊กเพจเหล่านี้มีผู้ติด ตามตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักล้านคน

โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เน้นการเข้ามาเรียนรู้เทคนิคการทำอาหารที่ สามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ พร้อมซักถามข้อสงสัย สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทำอ าหารเองที่บ้านที่ยังคงได้รั บความนิยม เนื่องจากผู้บริโภคสามารถควบคุม และเลือกคุณภาพของวัตถุดิบต่างๆ ได้เอง และมีราคาเฉลี่ยที่ถูกกว่าการรั บประทานอาหารเพื่อสุขภาพนอกบ้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยสนั บสนุนให้ตลาดเครื่องปรุงรสมี แนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: