ปรากฏการณ์ “สรยุทธ์”
วิถีของหมองูที่ต้องตายเพราะงู
โดย…ธนก บังผล
อดีตนักเล่าข่าวที่ทำให้นักหนังสือพิมพ์ต้องมองค้อนจนตาขวาง เพราะทำงานกันแทบตายสุดท้ายถูกเอามาอ่านแบบฟรีๆผ่านโทรทัศน์ ด้วยลีลาที่ยากจะมีใครเหมือน “สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา” จึงกลายเป็นที่ติดตาของผู้รับสื่อในเวลาอันรวดเร็วและจดจำได้แม่ เพราะเขาทำงานไม่มีวันหยุด ช่วงพีคๆ เปิดทีวีทิ้งไว้ก็เจอตั้งแต่เช้า กลางวัน เย็น
ก่อนจะโด่งดังเป็นพลุแตก สรยุทธ์เป็นนักข่าวการเมืองของสำนักข่าวเนชั่น ประจำที่ทำเนียบรัฐบาล จนกระทั่งเนชั่นเริ่ม “มัลติมีเดีย” คือมีโทรทัศน์ ทำให้สรยุทธ์ได้เริ่มจัดรายการกับ “สุทธิชัย หยุ่น”
ต่อมาจัดรายการกับ กนก รัตน์วงศ์สกุล ที่ช่อง 9 อสมท. ก่อนจะจัดรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคดีจนทำให้สรยุทธ์ พบกับวิบากกรรมในวันนี้ เนื่องจากมีการตรวจพบว่ารายการ คุยคุ้ยข่าว ซึ่งผลิตโดย บริษัท ไร่ส้ม ของสรยุทธ ถูกกล่าวหายักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลา กว่า 138 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ที่สรยุทธ เป็นกรรมการผู้จัดการ มี น.ส.อังคณา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ้ม เป็นกรรมการบริษัท ได้ทำสัญญาผลิตรายการกับบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2548 ถึงวันที่ 15 ก.ค. 2549 ร่วมกันผลิตรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00-13.00 น.
โดย อสมท. ตกลงแบ่งเวลาโฆษณาให้บริษัท ไร่ส้มฯ ได้ครั้งละ 5 นาที ถ้ามีโฆษณาเกินกว่ากำหนด บริษัท ไร่ส้มฯ จะต้องชำระค่าโฆษณาเกินเวลาให้ อสมท. ในอัตรานาทีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท และร่วมผลิตรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ทุกคืนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.30-22.00 น. โดย อสมท. ตกลงแบ่งเวลาโฆษณาให้บริษัท ไร่ส้มฯ ได้ครั้งละ 2 นาที 30 วินาที ถ้ามีโฆษณาเกินกว่ากำหนด บริษัท ไร่ส้มฯ ต้องชำระค่าโฆษณาเกินเวลาให้ อสมท. ในอัตรานาทีละไม่ต่ำกว่า 2.4 แสนบาท
เรื่องมาแดงเอาก็เมื่อตอน เดือน ก.ค. 2549 นางบุณฑนิก บูลย์สิน รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด 1 ได้สังเกตพบว่า รายการข่าวเที่ยงคืน มีการออกอากาศล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด จึงได้ทำการตรวจสอบและได้เรียกน.ส.พิชชาภา เอี่ยมสะอาด อดีตพนักงานบริษัท อสมท. มาสอบถามในที่ประชุม ก่อนจะรับสารภาพต่อหน้าทุกคนว่า บริษัท ไร่ส้ม มีการโฆษณาเกินเวลา และไม่มีการรายงานเพื่อเรียกเก็บเงินจริง
“สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา
นอกจากนี้และน.ส.พิชชาภา ยังได้ใช้น้ำยาลบคำผิดเฉพาะคิวโฆษณาเกินเวลาในส่วนของบริษัท ไร่ส้ม ในใบคิวโฆษณารวมของ อสมท. เพื่อปกปิดความผิดที่ได้กระทำขึ้นตามคำแนะนำของ สรยุทธ และ น.ส.มณฑา ธีระเดช พนักงานของบริษัท ไร่ส้ม ก่อนที่จะเกิดการตรวจสอบเรื่องนี้ขึ้น
นี่คือต้นตอที่ทำให้นำมาสู่การฟ้องร้อง ซึ่งทาง บริษัท ไร่ส้ม ได้เงินจากเอเจนซี่เข้าบริษัท เป็นจำนวน 138 ล้านบาท แต่ไม่แจ้งทางอสมท. โดย บริษัท ไร่ส้ม ยังจ่ายเงินพนักงาน อสมท. คนหนึ่งด้วยเงิน 7 แสนบาทเพื่อปกปิดการได้เวลาโฆษณาเกิน
กล่าวกันว่า เงิน 138 ล้านบาท นี้ เทียบไม่ได้เลยกับกำไรที่บริษัท ไร่ส้ม ได้มา 2,928.4 ล้านบาท
และเพราะความพีคของสรยุทธ์บนหน้าจอทีวี ทำให้แนวความคิด “ทีวีดิจิตอล” ถือกำเนิดขึ้นมา เนื่องจาก ต่อมาบริษัท ไร่ส้ม และ บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ ของสรยุทธ์ ยังคงผลิตรายการเล่าข่าวออกมาป้อนให้กับ ช่อง 3 จนเรตติ้งทีวีทะลัก เม็ดเงินโฆษณาจากห้างร้านสินค้าต่างๆ ต้องการวิ่งเข้าสู่ช่อง 3 เพียงรายเดียว และต้องเป็นรายการข่าวที่สรยุทธ์ จัดเท่านั้น
หลังเกิดเรื่อง สรยุทธ์ ยังคงรับค่าตัวที่หักจากโฆษณา แตกต่างจากผู้ประกาศคนอื่นๆที่มีรายได้เป็นเงินเดือน ว่ากันว่า รายได้ต่อวันของสรยุทธ์ ไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 1 แสนบาท
รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ต้องเพิ่มเวลาออกอากาศมาเป็น 6 นาฬิกา ถึง 9 นาฬิกา เพราะเรตติ้งกระฉูด ยังมีช่วงกลางวัน และบ่ายๆ วันละ 3 เวลา ที่เราเห็นสรยุทธ์เฉิดฉายบนจอโทรทัศน์ ไม่นับเรื่องล่าเสาร์อาทิตย์ ซึ่งการทำงานแบบกรรมกรข่าวที่ “ไม่มีวันหยุด” และทำงานแค่วันละ 6 ชั่วโมง
“สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา
เทียบกับนักข่าวหนังสือพิมพ์สำนักต่างๆ ที่ทำงานทั้งวัน เงินเดือนได้หมื่นกว่าบาท แต่เขียนข่าวให้สรยุทธ์เอาไปอ่าน ในรายการโดยไม่ได้เงินสักบาทเดียว ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า “เอาเปรียบ” เพื่อนร่วมอาชีพหรือไม่
และเมื่อพอมีทีวีดิจิตอล เพื่อหวังดึงโฆษณาไปยังช่องอื่นๆ ในช่วงแรกนั้นต้องพบกับความยากลำบากมากที่จะเปลี่ยนใจเจ้าของบริษัทห้างร้านที่ยังภักดีกับแบรนด์สรยุทธ์ จนทำให้ 2 ปีแรกของการเปิดฟรีทีวีแบบดิจิตอลนั้น แทบกระอักเลือด
แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เป็นที่ประจักษ์กันดีแล้วว่า หาคนที่มีฝีมือเทียบเท่าเพียงครึ่งหนึ่งของสรยุทธ์ยังลำบาก
“สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา
อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สรยุทธ์ได้ยุติบทบาท ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2559 หลังจากถูกสื่อมวลชน และ สังคมกดดัน
บาดแผลที่ย้อนกลับมาทำร้ายสรยุทธ์ จากช่อง 9 อสมท. ซึ่งบริหารงานแบบรัฐวิสาหกิจ เป็นที่ทราบกันดีว่าหากพบว่ามีความผิดจะเป็นเรื่องใหญ่โตโดยมีตัวอย่างจาก วิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ตอนนี้ก็อยู่ในเรือนจำเช่นกัน
คนที่มีพรสวรรค์สูง มีเสน่ห์ในการเล่าข่าวจับประเด็น เมื่อพบกับความสำเร็จ ทำไมถึงจบลงด้วยความผิดพลาดของตัวเอง ตรงนี้เป็นบทเรียนที่สังคมไทยเชื่อมานานแล้วว่า “หมองูตายเพราะงู”
Post Views:
802
Like this:
Like Loading...
Related