Biznews

นักการตลาดเจอหิน ผู้บริโภคมีแบรนด์ในใจก่อนไปช้อป

งานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค โดย  Google ในหัวข้อ “Think CPG” ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคท่ี่หมดไปอย่างรวดเร็ว อาทิ สินค้าสำหรับเด็กแรกเกิด สินค้าดูแลผิวหน้า สินค้าดูแลเส้นผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่สื่อมีการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย ในปี 2559 อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยมีมูลค่าสูงถึง 2.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทรนด์สำคัญในการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมีอะไรบ้าง?

 

ผลการวิจัยที่ค้นพบมีดังนี้:

 

  • ผู้บริโภคไทยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยช่องทางการค้นหาสินค้าและบริการที่หลากหลาย ผู้บริโภคไปที่ร้านด้วยจุดประสงค์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะซื้อ โดยกว่า 6 ใน 10 (61%) ของผู้บริโภคไทยเห็นพ้องต้องกันว่าการใช้สมาร์ทโฟนทำให้พวกเขาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อจริงมากขึ้นกว่าเดิม

  • ผู้บริโภคไทยเปิดใจรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ในขณะที่หาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สนใจ กว่าครึ่งหนึ่ง (58%) ของคนไทยเผยว่าพวกเขาค้นพบแบรนด์ใหม่ๆ ในระหว่างที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเขาสนใจ ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักการตลาดที่ต้องการสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค

  • สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก 8 ใน 10 ของคนไทย (80%) ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ เช่น สินค้าสำหรับเด็กแรกเกิด ผ่านทางสื่อออนไลน์

  • เสิร์ชเอนจินมีอิทธิพลมากที่สุด กว่า 8 ใน 10 (85%) ของผู้ที่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคพบว่าเสิร์ชเอนจินเป็นเครื่องมือในการหาข้อมูลที่มีอิทธิพลมากที่สุด โดยกว่า 93% ใช้เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดูแลผิวหน้า

  • วิดีโอมีบทบาทในการเลือกแบรนด์ด้วยเช่นกัน 95% ของคนไทยกล่าวว่าวิดีโอออนไลน์ทำให้พวกเขามีความรู้สึกต่อแบรนด์ๆ หนึ่งในเชิงบวกมากขึ้น

 

Google Think CPG 4

คำแนะนำสำหรับนักการตลาด:

นับวันโลกของเราก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแหล่งข้อมูลให้เลือกมากมาย แต่การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักการตลาดสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี การวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็น ในอดีตนักการตลาดต้องพึ่งพาแหล่งข้อมูลทางอ้อมเพียงอย่างเดียว อาทิ ข้อมูลประชากร เช่น อายุและเพศ

 

ในขณะที่ข้อมูลประชากรยังคงมีความสำคัญในการวางแผนการตลาด แต่เจตนาของผู้บริโภคหรือสิ่งที่ผู้คนต้องการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญที่นักการตลาดต้องตอบสนองให้ได้

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: