ทศวรรษที่ 3 “บราเดอร์” โตแบบยั่งยืน
กว่า 20 ปีที่บริษัท บราเดอร์ประเทศไทย (Brother)ก่อกำเนิดและดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน 2 ทศวรรษท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย แน่นอน บราเดอร์ก็ต้องมีการปรับตัวเช่นกัน ขณะที่ บราเดอร์ทั่วโลก มีมากว่า 100 ปี สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองนาโกย่าประเทศญี่ปุ่น
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาธุรกิจบริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)จำกัด นับว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี จะมีก็แต่เพียงปี 2551 ที่ประเทศไทยประสบภาวะวิ กฤตเศรษฐกิจเท่านั้นที่การเติบโตลดลง นั่นสะท้อนได้ถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจในไทยอันเป็นตลาดหลักที่บริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันไทยเป็นตลาดที่ทำรายได้อันดับ 1 เมื่อเทียบกับบราเดอร์ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และหากมองภาพรวมทั้ง 13 ประเทศที่บราเดอร์ฯทำตลาดอยู่ ได้แก่ เอเช่ีย อาฟริกา ตะวันออกกลาง ประเทศไทยยังสร้างสัดส่วนรายได้ถึง 19% และเป็นอันดับ 1 ในแง่รายได้เช่นกัน
นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดใจกับ BizpromptInfo ว่า การก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ของบราเดอร์ในประเทศไทย ในภาพกว้างยังต้องรอนโยบายจากบริษัทแม่เนื่องจากเป็นการวางนโยบายโดยรวมเพื่อใช้พร้อมกันทั่วโลก โดยที่ผ่านมาได้วางกลยุทธ์ระดับโกลบอล 3 ปี สำหรับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ 3 เรื่องภายใต้ชื่อ CSB 2018 ซึ่งดำเนินการใน 3 เรื่องได้แก่ บิสซิเนส ทรานส์ฟอเมชั่น, โอเปอเรชันนอล ทรานส์ฟอร์เมชั่นและ ทาเลนต์ ทรานส์ฟอเมชั่น โดยจะเสร็จสิ้นในปีนี้จึงต้องรอนโยบายใหม่ในปีหน้า
“โดยส่วนตัวผมเองถือว่าบราเดอร์ฯอยู่ในเทรนด์ที่ดี มีการเติบโตทุกปี ต้องการการเติบโตอย่างมั่นคงไม่หวือหวา ทำให้เราเติบโตได้ทุกปี ขณะที่ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากทำให้บริษัทต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาไม่ใช่ทำแค่สำหรับ 3 ปีตามแผน แต่ต้องปรับทุกปี ทุก 3 เดื่อนทุกเดือน”
กลยุทธ์ทรานส์ฟอเมชั่นยังซ่อนนัยยะสำคัญตรงที่ไม่เน้นการเติบโตอย่างหวือหวา แต่จะเน้นการปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนผ่านรับการเปลี่ยนแปลง นั่นหมายความว่า ทำให้บริษัทได้ใช้เวลาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาปรับปรุงภายในครั้งใหญ่ใน 3 ด้านซึ่งผู้บริหารอธิบายเพิ่มเติมว่าประกอบด้วย การจัดพอร์ตสินค้า การปรับปรุงระบบภายในของบริษัททั้งหมด และการพัฒนาบุคลากรที่เน้นคนรุ่นใหม่เป็นหลักเพื่อสร้างฟันเฟืองให้บริษัทเติบโตได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่ง
ด้านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตทางธุรกิจของ บราเดอร์ ในปี 2561 นั้น จะยังเดินหน้ารุกตลาดในกลุ่มธุรกิจองค์กรและราชการดังเช่น 2 ปีที่ผ่านมา และจะรุกหนักในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยจะเน้นเจาะเข้าไปยังกลุ่มโรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา ซึ่งนอกจากจะขยายตลาดสู่จังหวัดเศรษฐกิจหลักแล้ว ยังเดินตามรอยนโยบายภาครัฐขยายไปสู่ 55 จังหวัดหัวเมืองระดับรองด้วย
โดยจะจับมือดีลเลอร์กว่า 200 รายทั่วประเทศ นำเสนอโซลูชั่นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย ปัจจุบัน ด้านเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2561 นั้น คาดว่ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น บราเดอร์ จึงได้พัฒนาโซลูชั่นที่ตอบความต้องการทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์โดยเฉพาะเพื่อเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มนี้ ดังที่เราได้ทำสำเร็จในกลุ่มลูกค้าองค์กรตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ช่องทางการขายของกลุ่มสินค้าไอทีจะร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายเพื่อพัฒนาสู่การขายผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทยในยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเปิดตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยจะขยายไปยัง 55 จังหวัดหัวเมืองรองตามนโยบายภาครัฐ โดยจะเน้นเจาะเข้าไปยังกลุ่มโรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา ภายใต้ความร่วมมือกับดีลเลอร์กว่า 200 รายทั่วประเทศ นำเสนอโซลูชั่นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย เนื่องจากคาดว่าในปีนี้ กลุ่มธุรกิจ SMEe จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม จึงได้พัฒนาโซลูชั่นทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์โดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งหลังจากรุกตลาดองค์กรอย่างต่อเนื่องตั้งเป้าจะมีลูกค้ากลุ่มองค์กรเพิ่มขึ้นเป็น 30 % ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันมีสัดส่วน 15 %
สำหรับภาพรวมยอดขายในปีงบประมาณ 2560 กลุ่มเครื่องพิมพ์ยังถือเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้สูงสุดมีสัดส่วนที่ 85% รองลงมากลุ่มจักรเย็บผ้า 10% และเครื่องพิมพ์ฉลาก 5%
โดยตลาดรวมเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ปี 2560 มีปริมาณ 979,822 เครื่อง เติบโตขึ้น 4 % จากปี 2559 (อ้างอิงจาก IDC) ในขณะที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท Brother เติบโต 13 %
ตลาดรวมเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ปี 2560 มีจำนวน 304,428 เครื่อง ลดลง 2% จากปี 2559 (อ้างอิงจาก IDC) แต่ยอดขายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ บราเดอร์เติบโต 8 %
ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์สแกนเนอร์ บราเดอร์ มียอดขายเติบโต 6 %
ในปี 2560 บราเดอร์ เป็นผู้นำตลสด Mono Laser MFC มีส่วนแบ่งตลาด 37 % เป็นอันดับ 3 จากตลาด Mono Laser Printer มีส่วนแบ่งตลาด 24% และเป็นอันดับ 3 จากตลาด Inkjet MFC(Tank) มีส่วนแบ่งตลาด 20 %
ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ฉลาก(Label Printet)ที่ขยายจากกลุ่มผู้บริโภครายย่อยและกลุ่มธุรกิจองค์กรไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรและไฟฟ้าขยายเพิ่มขึ้น 14 % ส่วนผลิตภัณฑ์จักรเย็บผ้าทั้งกลุ่มจักรประเภทปักและจักรเพื่อใช้ในครัวเรือน เติบโตขึ้น 29 % เนื่องจากเทรนตลาดผู้บริโภคคนรุ่นใหม่มีความสนใจทำอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น ทาง บราเดอร์ พยายามจะผลักดันเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่ผลิตสินค้า DIY มากขึ้น
นายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมความสำเร็จปีงบประมาณ 2560 (เมษายน 2560 – มีนาคม 2561) ที่คาดว่าจะสามารถสร้างอัตราการเติบโตได้สูงถึง 6% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมา ทั้งยังสูงกว่าตลาดรวมของเครื่องพิมพ์ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 3% (อ้างอิงจาก IDC) โดยบราเดอร์สามารถสร้างการเติบโตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในโอกาสดำเนินธุรกิจครบ 20 ปีในไทย
บราเดอร์ (ประเทศไทย) มีสัดส่วนในอาเซียน 40% ซึ่งประเทศในอาเซียนมีทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และประเทศไทย ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญต่อบราเดอร์กรุ๊ป สำหรับในปีงบประมาณ 2561 (เมษายน 2561 – มีนาคม 2562 ) เราคาดว่า บริษัทฯ จะสามารถทำยอดรายได้โตขึ้นไม่ต่ำกว่า 6%
ท่ามกลางยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามา Disruption ในทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจปรินเตอร์ การวางกลยุทธ์ CS B2018 น่าจะเป็นก้าวสำคัญที่บราเดอร์เดินมาถูกทาง
ต้องจับตากลยุทธ์ระดับโกลเบิล ที่เตรียมล้อนซ์ในปีหน้าว่าจะวางทิศทาวและก้าวเดินทั่วโลกรวมถึงบราเดอร์ ประเทศไทย อย่างไรต่อไป
แต่สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือความพร้อมที่จะปรับตัวรองรับการเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง …..