
ถอดบทเรียนสื่อ “ผอ.กอล์ฟ-จ่าคลั่ง”
โดย “ธนก บังผล”
17 ชั่วโมงแห่งการรอคอยเป็นอันจบสิ้ น หลังข่าวการ “จับตาย” จ่าทหารคลั่งปืนโหดบุกยิงผู้บริ สุทธ์และเจ้าหน้าที่รวมมีผู้เสี ยชีวิตทั้งหมด 25 ราย
แม้จะจบแบบไม่แฮปปี้เอนดิ้ง แต่ถ้าถามผมว่า จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา ควรถูกวิสามัญหรือเปล่า ก็คงต้องตอบตามตรงว่าควรด้ วยประการทั้งปวง
เนื่องจากก่อเหตุอุกฉกรรจ์ยิ งคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไม่เกี่ ยวข้องต้องเสียชีวิตไปหลายศพ ถ้าถูกจับเป็นก็ยิ่งกว่าละครแล้ วครับ
เขาทำให้ในสังคมไทยที่เคยมี รอยยิ้มต้องตื่นตระหนกอย่างที่ สุด
และแน่นอนว่าผู้ไม่เกี่ยวข้ องในเหตุการณ์อย่างเช่นผู้เป็ นแม่ของจ่าคลั่งนายนี้ก็ไม่ สมควรถูกสังคมตำหนิเช่นกัน
แค่ลูกชายก่อเหตุก็ช้ำ ใจมากพอแล้ว

เริ่มต้นปีคดีอาชญากรรมของไทยถู กจุดให้ตื่นตัวด้วยกรณี โจรปล้นร้านทองยิง3ศพ ซึ่งเหล่านักสืบไซเบอร์เกรียนคี ย์บอร์ดเกือบทำคดีพัง
สร้างดราม่าอย่างเป็นระบบให้คดี เขว นี่ยังโชคดีที่หน่วยกนุมาน กองปราบปราม ซุ่มจับตัวผู้ก่อเหตุไว้ได้ โดยมือปืนไม่สามารถหลบหนี
แต่พอมาเจอคดีที่ก่อเหตุข้ามคื น ปรากฏว่าวัฏจักรเดิมๆกลับมาอี กครั้งคือสื่อมวลชนเองที่เป็นตั วปั่นสถานการณ์ให้ยุ่งเหยิง
ในโลกโซเชียลเขากระหน่ำกันให้ เละเลยนะครับ ทั้งกรณีไลฟ์สดและกรณีคุ กคามญาติผู้เสียชีวิต
พูดถึงเรื่องไลฟ์สดหน้างาน การใช้โซเชียลมีเดียในสนามข่ าวนั้นเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มี เทคโนโลยีนี้ นักข่าวยังสามารถทำหน้าที่ได้ เป็นอย่างดีและไม่เคยถู กประชาชนด่าว่ามากมาย
ส่วนหนึ่งเพราะจริงๆแล้ วการรายงานข่าวไม่ต้ องการความเร็ว แต่ต้องการความถูกต้อง
พอมีสื่อออนไลน์ก็เริ่มแข่งขั นกันเรื่องความเร็ว นโยบายถูกผิดว่ากันทีหลั งเพราะคนพร้อมจะลืม เริ่มทำให้การทำงานแบบชุ่ยๆแพร่ ระบาด
ประกอบกับสื่อโทรทัศน์ในปัจจุ บันมีหลายสถานี เพราะฉะนั้นจึงมีการโยงว่ าความเร็วในการรายงานข่าวสัมพั นธ์กับเรตติ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้ องนะครับ
การไลฟ์สดในปัจจุบันของบางสื่ อนอกจากจะสร้างความเกะกะให้กั บผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่แล้ว สิ่งที่ทำให้เราเห็นได้ชัดเลยว่ าเมื่อสื่อ “หมดมุข” จากสถานการณ์ที่ยังไม่คืบหน้ าโดยหันมารายงานเกี่ยวกั บการทำงานของเจ้าหน้าที่ยิ่ งทำให้ทุกฝ่ายอึดอัดเพิ่มมากขึ้ น
ผู้รับสารก็อึดอัดใจที่จะรับ เจ้าหน้าที่ก็อึดอัดที่จะไล่นั กข่าว นั่นทำให้หลายๆครั้งสื่อจึงไม่ ได้รับความร่วมมือและไม่ได้รั บการยอมรับเหมือนเดิม

ผมคิดว่าวงการสื่อสารมวลชนในปั จจุบัน พลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นครั บในกรณีนี้คือ ขาดการบ่มเพาะสั่งสอนเรื่ องจรรยาบรรณจากรุ่นสู่รุ่น
ทำให้นักข่าวรุ่นใหม่ไม่ตระหนั กถึงจรรยาบรรณ รวมถึงนโยบายของแต่ละสถานีที่ เน้นเรตติ้งเป็นหลักหลงลืมว่ าอะไรควรไม่ควร
สิ่งที่ตามมาคือวงจรอุบาทว์ กล่าวคือเมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ ๆขึ้นมา สื่อก็จะไลฟ์สดเพื่อลงเฟซบุ๊ กของสถานีเนื่องจากผังเวลาการถ่ ายทอดสดไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่กำลังดำเนินไป ซึ่งประชาชนกำลังต้องการรั บทราบข้อมูลข่าวสาร
เมื่อไลฟ์สดหรือรายงานเน้ นความเร็ว ความผิดพลาดก็สูงครับ เมื่อเกิดความผิดพลาดความน่าเชื่ อถือของสื่อมวลชนก็ลดลง เมื่อสื่อถูกด่าเว็บข่าวปลอมก็ ระบาด พอจบเหตุการณ์คนก็ลืม และเมื่อเกิดเหตุขึ้นใหม่ การทำงานซ้ำรอยเดิมก็กลับมาเป็ นวงจรที่ไม่มีการถอดบทเรียน ให้ความรู้รวมทั้งกระตุ้นเตื อนการทำงานอย่างจริงจัง
ประเด็นต่อมาคือการคุกคามญาติผู้ เสียชีวิต และ/หรือ การสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่ในเหตุ การณ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม
ได้ยินมาว่าสถานีโทรทัศน์ช่ องหนึ่งโทรศัพท์ไปสัมภาษณ์แม่ ของเหยื่อผู้เสียชีวิตโดยที่แม่ ยังไม่ทราบว่าลูกของตัวเองถูกยิ ง
การกระทำอย่างนี้เราเรียกว่า “ฆ่าซ้ำ” หรือในอดีตเรียกว่า “ข่มขืนซ้ำ”
เนื่องจากเคยมีกรณีแถลงข่ าวเหยื่อซึ่งเป็นผู้เสี ยหายจากการถูกข่มขืนแล้วสื่อตั้ งคำถามตอกย้ำประเด็นความรู้สึก เช่น ถูกข่มขืนกี่ครั้ง รู้สึกอย่างไร ร้ายแรงสุดคือถามว่าเสร็จไหม?
กรณีคุกคามญาติผู้เสียชีวิตก็ เช่นกันครับ การตั้งคำถามว่า รู้สึกอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่ไม่ได้ผ่านการกลั่ นกรองจากสมองเลยแม้แต่น้อย
นั่นหมายความว่านักข่าวไม่มีวุ ฒิภาวะเพียงพอในการทำงาน
ดังนั้นผมจึงย้ำเสมอว่านักข่ าวเก่าๆจึงสำคัญอย่างยิ่ งในการถ่ายทอดประสบการณ์และจริ ยธรรม จรรยาบรรณ ให้กับนักข่าวรุ่นใหม่ๆที่อายุ การทำงานยังไม่ถึง10ปี
ซึ่งหลักสูตรที่ทางสมาคมวิชาชี พสื่อพยายามจัดอบรมขึ้นก็ไม่ สามารถทดแทนตรงนี้ได้
ผมได้อ่านทวิตข้อความของผู้ใช้ งานบางคนที่บอกว่าสื่อต้องเป็ นสติให้กับประชาชน
จะว่าผมเพี้ยนก็ได้นะครับ… การรายงานข่าวไม่ใช่ รายการธรรมะนะครับ ที่จะมาให้สติกัน
สื่อมีหน้าที่สะท้อนความจริงที่ ปรากฏในสังคมอย่างตรงไปตรงมา ในสถานการณ์ฉุกเฉินสื่อควรให้ ความรู้หรือสร้างองค์ความรู้ขึ้ นมาเพื่อให้ประชาชนได้รับมือ
และถ้าสื่อสะท้อนความจริงได้ อย่างตรงไปตรงมา รู้ว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสั งคมโดยรวม แค่นี้การทำงานของสื่อก็ถือว่ ามีจรรยาบรรณในระดับหนึ่งแล้ว

ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่แย่งกั นรายงานข่าว แต่แย่งกันทำลายความน่าเชื่อถื อของสื่อมวลชนด้วยกันเอง
หลายสื่อทำงานอย่างจริงจังเหน็ ดเหนื่อยเราต้องชื่นชมครับ ในสนามข่าวไม่มีคดีไหนง่ายเลย คนทำงานก็แค่อยากได้กำลั งใจและคำติชมเพื่อปรับปรุง
แต่บางสื่อก็สุดจะทน คนด่าว่ายังทำอยู่
เสียงของผมมันเบาครับ บ่นไปก็เท่านั้นเพราะสุดท้ายแล้ ววงจรอุบาทว์นี้ถูกปลูกฝังกั นไปเรียยร้อยแล้ว
ถ้าจะต้องส่งเสียงให้ดังอีกครั้ งหนึ่ง คงไม่เอ่ยถึงจรรยาบรรณแล้วครับ
แต่อยากจะบอกน้องๆในสนามข่าวว่ า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” คิดอยู่เสมอว่าแต่ ละคำถามและการปฏิบัติงานนั้ นเหยื่อและญาติผู้สูญเสียคื อญาติเราเอง แล้วการทำงานจะไม่หยาบอย่างทุ กวันนี้แน่นอน