Biznews
ชีวิตยุค’โควิด-19′ อยู่ยังงัยให้คิดบวก

ตอนนี้ หลายคนพอเห็นตัวเลขผู้ติดเช ื้อเพิ่มแค่วันละ 6 คน อาจจะลิงโลด แล้วแล่นออกไปนอกบ้านเป็นว่ าเล่น แต่ดังที่โฆษก ศบค. ย้ำอยู่เสมอว่า #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาต ิ ยังจำเป็น เพราะสิ่งที่เราทำวันนี้ จะไปปรากฏผลใน 14 วัน ข้างหน้า ดังนั้น ถ้ายังต้อง #อยู่บ้านออนไลน์ไม่ติดเชื้ อ จะออนไลน์ยังไงให้คิดบวกกัน ดี
.
…CNN ได้ไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพจิตและโซเชียลมีเ ดีย เพื่อขอคำแนะนำว่าจะอยู่บนโ ลกออนไลน์เพื่อให้ผ่านวิกฤตินี้ได้อย่ างไร และจะคิดบวกได้ยังไงในสถานก ารณ์เช่นนี้
.
1. “เสพสื่อออนไลน์อย่างมีสติ” ถึงตอนนี้ คนส่วนใหญ่คงจะรู้แล้วว่า ควรจะติดตามสื่อไหน ถึงจะเป็นประโยชน์กับชีวิต คงไม่มีแล้วที่ไปติดตามเพจไ ร้สาระหรือเรียกยอดไลก์ แล้วเห็นเขาโพสต์คลิปหรือโพ สต์หลอกลวงที่รู้ว่าหลอกลวง แล้วยังแชร์ให้คนอื่น เพราะกลัวคนอื่นไม่รู้ว่ามั นหลอกลวง
.
สิ่งที่ควรทำคือ การควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ ต ว่าอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไรที่เราจะบริโภคข่ าว ซึ่งโดยปกติ ข่าวเชิงลบมักขายได้กว่าข่า วเชิงบวกอยู่แล้ว เราจึงเห็นข่าวเชิงลบเต็มไป หมด ยิ่งคนช่วยกันแชร์ มันก็ยิ่งโหมกระพือเป็นทวีค ูณ ดังนั้น ทางที่ดีคือ กรองมันออกไปซะ ไม่ต้องไปสนใจ แค่เลือกแหล่งข่าวน่าเชื่อถ ือ 1-2 แหล่งในการติดตาม และกำหนดเวลาเข้าไปดูที่เพจ ข่าวนั้น ๆ แค่วันละ 1-2 ครั้งก็พอ
.
2. “Mute บางอย่างสักระยะ” ไม่ว่าจะเป็นคน เพจ หรือคำ โดยใช้ปุ่ม “Mute” และ “Unfollow” ได้ รอให้ผ่านวิกฤตแบบนี้ไปก่อน แล้วค่อยกลับมาตามใหม่ก็ยัง ได้ บางแพลตฟอร์ม เช่น ทวิตเตอร์ เราสามารถตั้งค่าให้บางคำที ่เราไม่อยากเสพในช่วงนี้ เป็น Mute ได้ อย่างสัปดาห์ที่แล้ว หลายคนคงเบื่อคำว่า “แกงเขียวหวาน” ก็แค่ Mute คำนี้ซะ แล้วถ้ายังไม่พอ ก็ดาวน์โหลดแอปที่ช่วยตั้งโ ปรแกรมให้เราออกจากแพลตฟอร์ มที่เราใช้แค่บางช่วงเวลา หรือหาแอปที่สามารถวิเคราะห ์ได้ว่า เราใช้เวลาออนไลน์ไปอย่างไร
.
3. “ใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ ” มีกลุ่มจิตอาสาหรือกลุ่มปิด ที่สร้างสรรค์ซึ่งผุดขึ้นมา ในสถานการณ์แบบนี้มากมาย ซึ่งเราสามารถติดตามหรือลงม ือร่วมกับกลุ่มเหล่านี้ได้ เช่น การสอนอาชีพออนไลน์ สอนออกกำลังกายออนไลน์ ทาง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม โดย depa Thailand ก็มีกลุ่มอย่าง JobD2U ที่ให้ทั้งคนหางานและคนต้อง การคนทำงานโดยเฉพาะด้านดิจิ ทัล ได้พบปะกัน รวมทั้งยังรวมคอร์สออนไลน์ต ่าง ๆ ให้ผู้ที่ต้องการอัปสกิล รีสกิล หรือเรียนรู้สกิลใหม่ ๆ ได้เห็นช่องทางในการเรียนรู ้
.
อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ จะช่วยเยียวยาความโดดเดี่ยว คือการคอลล์หรือแช็ตกับคนที ่เรารักแบบเห็นหน้า วิดีโอคอลล์คือทางเลือกที่ด ีที่สุดเพราะมันสามารถสื่อส ารผ่านการแสดงออกทางสีหน้าไ ด้ การพูดตลก แล้วเห็นสีหน้าอีกฝ่ายก่อนจ ะขำออกมา มันเพิ่มพลังบวกได้
.
4. “หาสิ่งจรรโลงใจ” หาหนังสนุก ๆ ที่ไม่ใช่หนังเศร้าเคล้าดรา ม่ามาดู หรือดูละครที่มีตัวละครดี ๆ มีพลังบวกที่ทำให้เราอยากทำ ตาม บนออนไลน์ยังมีคลังความรู้ม ากมายให้เราได้อัปสมองโดยไม ่ต้องออกจากบ้าน หรือตั้งเป้าระยะยาวหลังจาก ผ่านช่วงเวลานี้ เพราะชีวิตยังต้องไปต่อและผ ่านช่วงเวลานี้ (ลองดูประสบการณ์จากประเทศจ ีนที่เผชิญวิกฤติก่อนใครอย่ างหนักแล้วผ่านมันไปอย่างรว ดเร็วก่อนใคร ๆ เช่นกัน) ถ้าที่บ้านมีสวนก็ออกไปใช้ช ีวิตกลางแจ้ง ถ้าไม่มีก็เปิดหน้าต่างรับอ ากาศสดชื่นบ้าง ฟังเพลงออนไลน์ที่ทำให้สงบ ฝึกสมาธิ หรือออกกำลังกายที่ทำได้ในบ ้าน อยู่กับปัจจุบัน แทนที่จะกังวลในสิ่งที่ยังไ ม่เกิด
.
…CNN ได้ไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ
.
1. “เสพสื่อออนไลน์อย่างมีสติ”
.
สิ่งที่ควรทำคือ การควบคุมการใช้อินเทอร์เน็
.
2. “Mute บางอย่างสักระยะ” ไม่ว่าจะเป็นคน เพจ หรือคำ โดยใช้ปุ่ม “Mute” และ “Unfollow” ได้ รอให้ผ่านวิกฤตแบบนี้ไปก่อน
.
3. “ใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์
.
อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพที่
.
4. “หาสิ่งจรรโลงใจ” หาหนังสนุก ๆ ที่ไม่ใช่หนังเศร้าเคล้าดรา

.
อ้างอิงจาก https://edition.cnn.com/