จากอสังหาสู่ร้านกาแฟ ปรากฏการณ์ CROSS MARKETING
หลังจากที่เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2543 โดยบริหารพื้นที่เช่าภายในศูนย์การค้าในชื่อ IT Junction ศูนย์มือถือครบวงจร โดยเป็นหน่วยงานหนึ่งในบริษัทเจ มาร์ท จำกัด(มหาชน) บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด(มหาชน) ขยายธุรกิจต่อเนื่องโดยเน้นขยายธุรกิจด้านค้าปลีกมาโดยตลอด ด้วยการเปิดตัวโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ติดต่อกันทุกปี รวม 3 แห่ง ได้แก่ เดอะแจส วังหิน, เดอะแจส รามอินทรา และแจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ ซึ่งถือเป็นยุคที่คอมมูนิตี้มอล์กำลังรุ่งเรืองก็ว่าได้
ด้วยหลากหลายสถานการณ์ที่ไม่ค่อยส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจมากนักทำให้เจเอเอส แอสเซ็ท เริ่มกลับมามองหาธุรกิจที่มีการเติบโต สุดท้ายมาลงที่ร้านกาแฟ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เติบโตมาโดยตลอด ปัจจุบัน ร้านกาแฟรีเทลมีมูลค่าตลาด 1.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มข้ึนจากปีที่แล้วที่มีมูลค่าราว 1.7 หมื่นล้านบาท อีกทั้งอัตราการบริโภคกาแฟคนไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างนอร์เวย์ สวีเดนที่มีการบริโภคสูงสุด 5 แก้วต่อวันต่อคน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา 3.1 แก้วต่อวันต่อคน ขณะที่ไทยเรามีการบริโภคน้อยอยู่ที่ 1 แก้วกว่าๆ ต่อวันต่อคน ถือเป็นโอกาสและช่องทางในการทำตลาดเพื่อเสริมพอร์ตโฟลิโอให้กับเจเอเอส
ล่าสุด เปิดตัวบริษัทน้องใหม่ ““บีนส์แอนด์ บราวน์ “ทุนจดทะเบียน 42 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนการถือครองหุ้นของเจเอเอส แอสเซ็ท อยู่ที่ 60% และคอฟฟี่ โปรเจคท์ 40%”เข้าบริหารธุรกิจร้านกาแฟแบรนด์ “คาซ่า ลาแปง” (Casa Lapin) ร้านกาแฟคนไทย โโยมีเป้าหมายขยายสาขาต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 10 สาขา
ไม่เพียงเดินหน้าเปิดสาขาใหม่ๆ ในประเทศเท่าน้ัน “บีนส์แอนด์ บราวน์”คิดการใหญ่หวังนำกาแฟแบรนด์ไทยออกไปสู้กับกาแฟในตลาดต่างประเทศ เป้าหมายอยู่ที่เมืองใหญ่แห่งดินแดนกาแฟอย่างโตเกียว โซล ฮ่องกง ไทเป และสิงค์โปร์ เป็นสเต็ปต่อไป

สุพจน์ วรรณา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (J) และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด บอกว่า การตั้งบริษัทใหม่ “บีนส์แอนด์บราวน์” (Beans & Brown) เพื่อเข้าบริหารธุรกิจร้าน กาแฟแบรนด์ Casa Lapin ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับพอร์ตธุรกิจค้าปลีก แต่ยังเป็นก้าวแรกในการรุกเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารและกาแฟ ซึ่งสนใจมานานแล้วจนเกิดการพูดคุยและบรรลุข้อตกลงในที่สุด
ปัจจุบัน Casa Lapin มี 7 สาขา แบ่งออกเป็น 3 สาขาที่ทางบีนส์แอนด์บราวน์เป็นเจ้าของ ได้แก่ ซอยสุขุมวิท 26, ซอยพหลโยธิน 7 (ซอยอารีย์) และเมเจอร์ เอกมัย ส่วนอีก 4 สาขาเป็นร้านของพาร์ทเนอร์ที่ดำเนินงานร่วมกับ บริษัทฯ ในรูปแบบของส่วนแบ่งรายได้ ได้แก่ สาขาซอยสุขุมวิท 49, GMM Studio ซอยสุขุมวิท 23, เพลินจิต และราชเวที ด้านหน้าโรงแรมเอเวอร์กรีน เพลส กรุงเทพ
เป้าหมายทางธุรกิจของ Casa Lapin บีนส์แอนด์บราวน์เตรียมจะเปิด Casa Lapin อีก 3 สาขาในปีนี้ โดยอยู่ในทำเลย่านธุรกิจใจกลางเมืองทั้งหมดอย่างทองหล่อ เดอะสตรีทรัชดา และ ATT U BANGNA และตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป มีแผนที่จะเปิดอย่างน้อย 10 สาขาต่อปี โดยมีไฮไลท์อยู่ที่การเปิดแฟล็กชิปสโตร์ ขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางเมตร ในศูนย์การค้า ระดับพรีเมียมใจกลางกรุงเทพอย่างสยามพารากอน
บีนส์แอนด์บราวน์ ตั้งเป้ารายได้เติบโตต่อเนื่อง 600% ภายใน 3 ปี จาก 60 ล้านบาท ในปีนี้ เพิ่มเป็น 180 ล้านบาทในปี 2561 และ 270 ล้านบาทในปี 2562 และ 360 ล้านบาทในปี 2563 ซึ่งเป็นปี ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปิดสาขาครบ 40 แห่งทั่ว กรุงเทพ
สุรพันธ์ ทันตา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายปฏิบัติการ บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด 1 ในผู้้ร่วมก่อต้ัง Casa Lapin บอกถึงสาเหตุที่ตัดสินใจขายหุ้นให้กับเจเอเอสเป็นเพราะเคมีตรงกัน และจะช่วยให้สามรถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วกว่าทำเพียงลำพัง ถ้าต้องการไปให้ไว การมีพาร์ทเนอร์คือคำตอบ
ปัจจุบัน Casa Lapin มีโครงสร้างรายได้ 70% จากการจำหน่ายกาแฟและเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ และอีก 30% จากอาหารและเบเกอรี่ ซึ่งในอนาคตจะมีรายได้จากการขายสินค้าของที่ระลึกเพิ่มเข้ามา โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ของร้านคือคนรุ่นใหม่ที่นิยมบริโภคสินค้าคุณภาพและชอบงานดีไซน์
ปรากฏการณ์คร้ังนี้ตอกย้ำว่า ในโลกแห่งเทคโนโลยีครองเมือง ครองโลกในเวลานี้ การทำมาร์เก็ตแบบ CROSS MARKETING เป้าหมายคือ WIN WIN กลายเป็นกลยุทธ์ที่หลายค่ายหยิบมาใช้อย่างถูกที่ ถูกเวลา
เชื่อว่านี่คงไม่ใช่เคสสุดท้ายแน่นอน