Biznews

คิดนอกกรอบ ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ Wellness Tourism

Wellness Tourism เป็นเทรนด์ที่มาแรงของการท่องเที่ยวทั่วโลก โดยภาพรวม อุตสาหกรรม Wellness Industry สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการให้บริการ คือ บริการการดูแลสุ ขภาพจากภายในและภายนอก ตัวอย่างการบริการดูแลสุ ขภาพจากภายใน เช่น บริการการให้คำปรึกษาด้ านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ การแพทย์เชิงป้องกันเฉพาะบุคคล รวมถึงอาหารเสริมและยารั กษาโรคทางเลือก เป็นต้น ในขณะที่การบริการดูแลสุ ขภาพจากภายนอกจะมีตัวอย่างที่ พบเห็นได้บ่อย เช่น ธุรกิจด้านความงามและการชะลอวัย บริการสปาและองค์ประกอบ รวมถึงการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ทั้งนี้ จากการประมาณการของ Global Wellness Institute (GWI) พบว่าธุรกิจด้ านความงามและการชะลอวัยมีสัดส่ วนสูงที่สุดราว 26% ในปี 2015

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้ มลดลงอยู่ที่ราว 22% ในปี 2020 ในขณะที่ธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น บริการด้านความสมบูรณ์ของร่ างกายและจิตใจ การแพทย์เชิงป้องกันเฉพาะบุคคล รวมถึงการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism มีแนวโน้มเติบโตจาก 19 ล้านล้านบาทในปี 2015 เป็น 27 ล้านล้านบาทในปี 2020 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสู งถึง 7% ต่อปีในช่วงปี 2015-2020 แสดงให้เห็นถึงโอกาสของธุรกิจรู ปแบบใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการดูแลสุ ขภาพแบบองค์รวมที่กำลังเป็นที่ นิยมทั่วโลก

Wellness
Wellness

Wellness Tourism เป็นกระแสรักสุขภาพในลั กษณะของการ “ป้องกันโรค” และ “ส่งเสริม” ให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยการเติบโตดังกล่าวมีปัจจั ยสนับสนุนหลัก 3 ประการ ประการแรกคือ การขยายตัวของชนชั้นกลางทั่ วโลกที่มีระดับรายได้ที่สูงขึ้ นซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้จ่ ายด้านท่องเที่ยวมากขึ้นด้วย ประการที่สองคือ ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาใส่ใจเรื่ องสุขภาพของตนเองมากขึ้น ซึ่งถูกกระตุ้นจากโรคไม่ติดต่ อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCDs) และความเครียดจากการทำงาน และสุดท้ายคือเทรนด์การท่องเที่ ยวที่นิยมการสัมผัสประสบการณ์ แปลกใหม่ในแหล่งท่องเที่ ยวมากกว่าการท่องเที่ยวแบบดั้ งเดิม สะท้อนถึงแนวโน้มตลาดท่องเที่ ยวที่หันมาให้ความสำคัญกับ Wellness Tourism มากขึ้นและจะเติบโตควบคู่ไปกั บตลาด Medical Tourism ซึ่งเป็นตลาดหลักของธุรกิจท่ องเที่ยวเชิงสุขภาพที่คาดว่ าจะเติบโตสูงถึงราว 16% ต่อปีในช่วงปี 2017-2020

ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้ องการประสบการณ์แปลกใหม่ส่ งผลให้ Wellness Tourism ต้องพัฒนารูปแบบเพื่อสร้ างความแตกต่าง ยกตัวอย่างเช่น สปาไร้เสียง (silent spa) ของกลุ่มโรงแรม Vamed Vitality World ในออสเตรียคือตัวอย่างสปาที่มี การออกแบบอาคารให้มีความพิ เศษโดยมีลักษณะคล้ายกับวิ หารของศาสนาคริสต์เพื่อให้แขกที่ ใช้บริการรู้สึกว่ากำลังพักผ่ อนอยู่ในสถานที่สงบปราศจากเสี ยงรบกวน[1] ซึ่งเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ ยวที่ต้องการตัดสิ่ งรบกวนจากสภาพแวดล้อมภายนอก

Wellness
Wellness

นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรม On-demand Meditation ของโรงแรม The Benjamin ในนิวยอร์กที่ออกแบบโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท โดยแขกที่เข้าพักสามารถรับบริ การได้ตลอดเวลาผ่านระบบโทรศัพท์ ภายในโรงแรมซึ่งตอบโจทย์นักท่ องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ต้ องการคลายเครียด ขณะที่ธุรกิจจัดระเบียบความฝั นอย่าง Dream Reality Cinema ในรัฐแคลิฟอร์เนียที่นำผลการศึ กษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกั บความฝันของมนุษย์มาสร้างธุรกิ จโดยการจำลองสถานการณ์เพื่ อกระตุ้นให้เกิดความฝันที่สร้ างความสุข ช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับ ลดความเครียด กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจิ นตนาการ เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจด้านสุขภาพแบบดั้งเดิมอย่ างสปายังได้มีการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุ ขภาพมาสร้างสรรค์บริการที่ฉี กแนวไปจากเดิมโดยสามารถให้บริ การแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่ านกระบวนการเคมีบำบัดได้ซึ่ งจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นและมี ความมั่นใจในตนเองมากขึ้น โดยสปาลักษณะนี้เริ่มเป็นที่นิ ยมมากขึ้นในทวีปยุโรปและสหรัฐฯ

การท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ยังมีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับเศรษฐกิจไทยได้อีกมาก โดยข้อมูลจาก GWI พบว่าไทยมีรายรับจากการท่องเที่ ยวแบบ Wellness Tourism เติบโตต่อเนื่องราว 7% ต่อปีในช่วงปี 2013-15 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดสูงถึงราว 3.2 แสนล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลกและเป็นอันดับ 4 ในทวีปเอเชียรองจากจีน ญี่ปุ่นและอินเดียและเป็นสัดส่ วนราว 3% ของ GDP โดยรายรับกว่า 90% ของไทยมาจากธุรกิจด้ านความงามและการชะลอวัย ธุรกิจการแพทย์เชิงป้องกัน ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงกี ฬาและการผจญภัย เป็นต้น ในขณะที่ธุรกิจสปามีสัดส่ วนรายรับราว 10% นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวทั่ วไปยังพบว่านักท่องเที่ยวที่เดิ นทางท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism จะมีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ ยวสูงกว่าถึงราว 61% เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มีกำลังซื้อสูง และมักเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพั กผ่อนเป็นเวลานาน สะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิ จจากกระแสการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ในอนาคตที่ยังสดใส เนื่องจากประชากรทั่วโลกเริ่มมี อายุยืนยาว ใส่ใจสุขภาพของตนเอง และให้ความสำคัญกับการพักผ่ อนโดยการท่องเที่ยวมากขึ้น

ไทยได้มีการลงทุนในธุรกิ จหลายประเภทที่สอดคล้องกั บเทรนด์ Wellness Tourism มาระยะหนึ่งแล้ว โดยจุดแข็งของธุรกิจ Wellness Tourism ของไทย คือ การประยุกต์ใช้ทรัพยากรด้านสุ ขภาพที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น ธุรกิจสตูดิโอสอนการทำสมาธิ และโยคะที่ประยุกต์ความรู้ด้ านการทำสมาธิตามหลักพุทธศาสนา ธุรกิจสปาที่ใช้สมุนไพรหรือทรั พยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้ างประสบการณ์แปลกใหม่ รวมถึงธุรกิจการสอนทักษะกี ฬาประจำชาติอย่างมวยไทยที่กำลั งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ ยวชาวต่างชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังมีธุรกิจอีกหลายรูปแบบที่ แปลกใหม่และเป็นที่นิยมในต่ างประเทศที่ไทยควรเล็งเห็ นโอกาสในการนำมาประยุกต์เพื่ อตอบสนองความต้องการของนักท่ องเที่ยวต่างชาติและคนไทยให้มี ความหลากหลายยิ่งขึ้น

Wellness
Wellness

อีไอซีประเมินว่า Wellness Tourism เป็นโอกาสสำหรับผู้ ประกอบการไทยในการพัฒนาธุรกิจรู ปแบบใหม่ๆ โดยผู้ประกอบการอาจสร้างสรรค์ แนวคิดการให้บริการแบบใหม่ที่มี ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์รับรอง หรือการปรับรูปแบบการให้บริ การที่มีอยู่แล้ว เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่ วนผสมของสมุนไพรที่หาได้ในท้ องถิ่น การบำบัดด้วยเสียงธรรมชาติ การบำบัดด้วยกลิ่นหอมระเหย (aromatherapy) การบำบัดด้วยน้ำทะเล (thalassotherapy) การบำบัดด้วยโคลน (mud therapy) หรือการให้บริการห้องซาวน่าที่ ผู้ใช้บริการสามารถรั บชมการแสดงต่างๆ พร้อมกันไปด้วยระหว่างใช้บริ การเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่ าประทับใจ

ธุรกิจโรงแรมสามารถปรับตัวเพื่ อคว้าโอกาสจากการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ได้ง่ายกว่าผู้ประกอบการกลุ่มอื่ น เนื่องจากธุรกิจโรงแรมสามารถเข้ าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ าพักได้โดยตรงและต่อยอดสร้างมู ลค่าเพิ่มจากการให้บริการ โดยนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ ยวแบบ Wellness Tourism โดยอาจร่วมมือกับธุรกิจอื่นในพื้ นที่เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านกิ จกรรมที่หลากหลายแก่แขกที่เข้ าพัก หรืออาจพัฒนารูปแบบการให้บริ การที่มีอยู่เดิมให้มี ความแปลกใหม่ เช่น บริการสปาด้วยทรายขัดผิวจากทะเล สปาหอยมุกหรือการใช้น้ำมั นหอมระเหยจากสมุนไพรท้องถิ่ นมาสร้างบรรยากาศเพื่อให้ผู้ใช้ บริการรู้สึกถึงความแตกต่างที่ ไม่สามารถพบได้โดยทั่วไป ทั้งนี้ จากข้อมูลของ CBRE Hotels พบว่าสถานพักแรมที่มีพื้นที่ให้ บริการสปาแก่แขกที่เข้าพั กในสหรัฐฯ จะมีสถิติค่าห้องพักเฉลี่ยต่ อคืนสูงกว่าสถานพักแรมทั่วไปถึ งราว 14-28%

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: