Biznews

ขุมทรัพย์ที่แท้ทรู!’Silver Gen นักช้อปที่กำลังถูกลืม’ โอกาสสำคัญของทุกแบรนด์!

ผลการศึกษาเรื่อง “นักช้อปที่ถูกลืม 2021” (Forgotten Shopper 2021) ในประเทศไทย    โดย วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย พบว่าแบรนด์ นักการตลาด และผู้โฆษณา ต่างเฮโลกันสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z และมิลเลนเนียลกันอย่างมากมายในช่วงปีหลังๆ นี้ จนผู้บริโภครุ่นอายุก่อนหน้าอาจรู้สึกถูกมองข้ามหรือหมางเมิน แบรนด์ลืมไปแล้วว่าไม่ได้มีเพียงผู้บริโภครุ่น Gen Z และมิลเลนเนียลเท่านั้นที่มีเงินและศักยภาพในการใช้จ่าย ที่จริงแล้วคนรุ่นอาวุโสกำลังค้นหาความสุขในช่วงชีวิตวัยหนุ่มสาวของพวกเขาอีกครั้ง มีเวลาที่จะหาความสุขได้อย่างเต็มที่ และมีกำลังซื้อสูงไม่แพ้ผู้คนในรุ่นอายุน้อยกว่าอีกด้วย

สรุปประเด็นเรื่องวิธีคิดและการรับรู้ของคนกลุ่ม Silver Gen

  • หัวใจยังมีไฟอยู่: ผู้อาวุโสอาจมีสภาพร่างกายที่ผ่านกาลเวลามานานกว่า แต่ความนึกคิดและจิตใจของพวกเขายังอยู่ในช่วงวัย 30 กว่าๆ เท่านั้น
  • ใช้ชีวิตให้เต็มที่: ชาว Silver Gen มีเวลา มีเงิน และมีอิสระที่จะเข้าสังคมและใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการได้มากว่าคนรุ่นอื่นๆ ในปัจจุบัน!
  • ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างไกลยิ่งขึ้น: การที่ชาว Silver Gen เชื่อในวัฒนธรรมและประเพณีไม่ได้หมายความว่าพวกเขาล้าสมัยหรือตกเทรนด์ ผู้ใหญ่รุ่นอาวุโสอาจจะไม่กล้าได้กล้าเสียเท่ากับคนรุ่นอายุน้อยกว่าเนื่องจากมีโอกาสเกิดความสูญเสียในด้านต่างๆ ได้ แต่พวกเขายังคงมีความสนใจและชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และคอยติดตามเทรนด์ใหม่ๆ ในยุคสมัยปัจจุบันอยู่เสมอ

สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

  • การเติบโตของแบรนด์ไม่ได้มาจากคนรุ่นอายุน้อยๆ เท่านั้น
  • การทำตลาดของแบรนด์ไม่ควรมุ่งไปที่คนรุ่นใดเพียงรุ่นเดียว การขับเคลื่อนการเติบโตผ่านการสร้างแบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภคหลากหลายรุ่นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง กลุ่ม Silver Gen ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปสามารถสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ได้เช่นกัน ซึ่งแบรนด์สามารถออกแบบวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วนเพื่อพวกเขาได้
  • การสื่อสารและงานโฆษณาของแบรนด์ส่วนมากจะพุ่งเป้าไปที่คนรุ่นอายุน้อยกว่า และมักจะมองข้ามหรือละเลยกลุ่ม Silver Gen ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • แบรนด์ต้องตระหนักมากขึ้นว่าชาว Silver Gen ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปสามารถเริงร่ากับการใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระโดยไม่ต้องกังวลเรื่องลูก ครอบครัว หรือแรงกดดันและความเครียดเรื่องงาน
  • ปรับมุมมองของแบรนด์ใหม่ มองชาว Silver Gen ว่า Young at Heart
  • แบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับผู้สูงวัยเสียใหม่ มองเห็นพวกเขาเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังใช้ชีวิตอย่างเริงร่ากว่าที่เคย มีสิ่งที่คิดจะทำมากมาย และไม่แยแสว่าใครจะมองพวกเขาอย่างไร
  • แบรนด์มีโอกาสเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพสูงอย่างชาว Silver Gen ได้โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามความต้องการ ความสนใจ และเอื้อให้พวกเขาได้สนุกกับใช้ชีวิตและมีสุขภาพที่ดีต่อเนื่องต่อไป
  • นอกจากนี้ แบรนด์ควรใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแสดงให้คนรุ่น Silver Gen วัย 50 ปีขึ้นไปได้เห็นด้วยว่าพวกเขาเป็นผู้บริโภคที่มีส่วนในการผลิต (Prosumer) และเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้งาน (User Generated Content – UGC)
  • องค์ความรู้มากมายจากประสบการณ์ของชาว Silver Gen
    • เปลี่ยนทัศนคติเหมารวมและสมมุติฐานในแง่ลบที่มีต่อผู้อาวุโสว่าพวกเขามีข้อเรียกร้องมากมายไร้เหตุผล และนำเสนอด้านอื่นๆ ที่เป็นพลังบวกของชาว Silver Gen ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
    • ผู้ใหญ่วัยอาวุโสมีสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับผู้คนมากมายในสังคม

 

สรุปประเด็นเรื่องครอบครัวและชีวิตทางสังคมของคนกลุ่ม Silver Gen

  • ธนาคารของครอบครัว: กล่าวโดยทั่วไป ชาว Silver Gen ยังคงเป็นผู้ลงทุนหลักอันดับ 1 ของครองครัว พวกเขายังคงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมอย่างสูงในการซื้อของลูกๆ ไม่ว่าจะเป็นรถคันแรกหรือการช่วยออกเงินดาวน์เพื่อซื้อบ้าน ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่วัยสูงอายุยังกลายเป็นผู้ช่วยกู้สถานการณ์ทางการเงินในยามฉุกเฉินอีกด้วย เช่นในกรณีที่ลูกๆ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเฉพาะหน้า เป็นต้น
  • หนึ่งในผู้ตัดสินใจหลัก: การซื้อหลายๆ อย่างในบ้านยังคงอยู่ภายใต้การชี้นำหรือการตัดสินใจของผู้ใหญ่วัยสูงอายุ
  • สัมผัสทางกายมีความสำคัญ: ชาว Silver Gen ให้ความสำคัญกับการสัมผัสทางกายและสื่อสารกับแบบพบหน้ามากกว่าการติดต่อแบบดิจิทัล อย่างไรก็ตาม มีพื้นที่ชุมชนจำนวนไม่มากนักที่สามารถตอบสนองความจำเป็น ความต้องการ และความปรารถนาของพวกเขา

สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

  • ชาว Silver Gen วัย 50 ปีขึ้นไปคือหนึ่งในผู้ตัดสินใจหลักและผู้ซื้อ
  • ชาว Silver Gen ยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้จุนเจือครอบครัวและดูแลภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของใช้ประจำวันต่างๆ หรือการมีส่วนร่วมอย่างสูงกับการซื้ออื่นๆ ที่เป็นเงินก้อนใหญ่
  • แบรนด์สามารถมีบทบาทในการช่วยเตรียมความพร้อมและร่วมวางแผนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทั้งในด้านสังคม สุขภาพ และการดำเนินชีวิต
  • แบรนด์ควรศึกษาและประเมินผลกระทบของการเข้าถึงบริการทางสังคมต่างๆ ที่อาจช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยได้
  • พลังขับเคลื่อนตลาดของกลุ่มคนวัย 50 ปีขึ้นไป
  • ชาว Silver Gen ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปคือผู้ซื้อคนสำคัญของครอบครัว ในขณะที่ผู้ใช้มักจะเป็นคนในรุ่นอายุน้อยกว่า
  • แบรนด์จำเป็นต้องวางแผนการเสนอขายตลอดจนเส้นทางการซื้อของตน เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายในรุ่นต่างๆ
  • สร้างพื้นที่ชุมชนเพื่อชาว Silver Gen
  • แบรนด์มีโอกาสที่จะจับมือกับพื้นที่ชุมชนต่างๆ ตลอดจนอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้คนในเซ็กเมนท์นี้
  • อีกบทบาทหนึ่งที่แบรนด์สามารถทำได้คือ ส่งเสริมการก่อตั้งสมาคมหรือศูนย์ผู้สูงวัย เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและงานต่างๆ ณ ชุมชนในพื้นที่

สรุปประเด็นเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนกลุ่ม Silver Gen

  • อายุมากน้อยอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง: ชาว Silver Gen ในวัย 50 ปีขึ้นไปยังคงรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นกว่าที่เคย
  • สร้างสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจอย่างสมดุล: การรักษาสมดุลที่ดีระหว่างสุขภาพร่างกายและจิตใจคือกุญแจสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งการได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ดี นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และร่วมกิจกรรมยามว่างที่สนุกสนาน คือสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำหรับผู้ใหญ่วัยสูงอายุ
  • สุขภาพและความงามย้อนกลับไม่ได้: ชาว Silver Gen ไม่ได้อยากจะดูเด็กเสมอไป แต่กุญแจสำคัญคือต้องการรู้สึกอ่อนวัยและสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
  • ปลูกสร้างการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี: การตรวจพบความผิดปกติแต่เนิ่นๆ และการป้องกัน คือกุญแจสำคัญในการเพาะเลี้ยงพลังชีวิตเพื่อสุขภาพและความมีชีวิตชีวาในระยะยาว ช่วยให้ผู้ใหญ่วัยสูงอายุทำในสิ่งที่ชื่นชอบต่อไปได้เรื่อยๆ

สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

  • สุขภาพร่างกาย
  • สุขภาวะทางกายมีความสำคัญต่อผู้อาวุโสและผู้ใหญ่ที่เข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนั้นแบรนด์จึงสามารถเจาะตลาดใน เซ็กเมนต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ เช่น วิตามิน โรงพยาบาล ประกัน ฯลฯ
    • แบรนด์ควรจะนำเสนอแง่มุมที่ว่า การดูแลร่างกายให้แข็งแรงและมีสุขภาวะที่ดี คือวิธีที่คนรุ่นอาวุโสจะสามารถใช้ชีวิตได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น แทนที่จะนำเสนอภาพของพวกเขาในฐานะคนที่ “แก่” และ “ต้องพึ่งพาผู้อื่น”
  • สุขภาพจิตใจ
  • แบรนด์ยังสามารถเจาะตลาดกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงทางจิตใจ เช่น เกมในรูปแบบแอปพลิเคชั่นง่ายๆ ซึ่งผสานทั้งผลิตภัณฑ์ เกมตอบคำถาม การเรียนรู้ เกร็ดความรู้ต่างๆ ฯลฯ ไว้ด้วยกัน หรือกิจกรรมทางดนตรีผ่านเพลย์ลิสต์เพลงจากวันวานทาง YouTube และ Spotify และกิจกรรมพบปะกันของชุมชนคนวัน 50 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยตอบสนองความจำเป็น ความต้องการ และความปรารถนาต่างๆ เพื่อสุขภาวะใจกายและความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา

 

สรุปประเด็นเรื่องชีวิตเกษียณและการเงินของคนกลุ่ม Silver Gen

  • ชีวิตเกษียณไม่มีอยู่จริง: ชาว Silver Gen ไม่มีแผนสำหรับชีวิตวัยเกษียณและไม่สนใจจะเกษียณตัวเองก่อนกำหนด พวกเขาต้องการทำงานจุนเจือครอบครัวของพวกเขาและมีส่วนช่วยหารายได้เข้าบ้านต่อไป
  • ชาว Silver Gen วัย 50 ปีขึ้นไปมีบทบาทสำคัญในครอบครัว: ในหลายๆ กรณี ผู้อาวุโสคือคนที่เป็นหลักในการหารายได้ของครอบครัว ดังนั้นพวกเขาจึงมีกำลังซื้อสูงและเป็นหนึ่งในผู้ตัดสินใจหลักของครอบครัว
  • ช่องว่างในการวางแผนการลงทุน: เป็นเรื่องน่าสนใจที่ชาว Silver Gen ส่วนใหญ่ไม่ได้มีแผนการลงทุนเตรียมพร้อมไว้แล้ว นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ด้านการเงินที่จะเจาะตลาดได้
  • การลงทุนความเสี่ยงต่ำ: ชาว Silver Gen ชอบลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น ทองคำและอสังหาริมทรัพย์ มากกว่าสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำแต่ว่ายังคงให้ผลตอบแทนได้สูง

 

สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

  • ประสิทธิภาพและแรงขับ
  • แบรนด์มีโอกาสสำคัญในการตอบสนองความต้องการของชาว Silver Gen เนื่องจากพวกเขายังสนุกกับการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงและมีรายได้สูง
  • แบรนด์อาจศึกษาโอกาสการเติบโตของเครื่องดื่มบำรุงสมอง เครื่องดื่มให้กำลังงานและเครื่องดื่มสำหรับการเล่นกีฬา แอปพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเซ็กเมนต์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  • แผนการลงทุนเพื่อ “ชีวิตที่เต็มที่ยิ่งขึ้น”
  • เนื่องจากพวกเขาจะยังไม่เกษียณในเร็ววันนัก แบรนด์ด้านการเงินสามารถคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อกระตุ้นและเติมเติมความต้องการของชาว Silver Gen วัย 50 ปีขึ้นไปให้ใช้ชีวิตกินอยู่ดีและรักษาความกระปรี้กระเปร่าเอาไว้ เช่นการวางแผนการลงทุนเพื่อชีวิตที่สองและการมีเงินเก็บเพื่อเที่ยวรอบโลก เป็นต้น
  • แบรนด์ด้านการเงินควรเสาะหาวิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองจับต้องได้มากขึ้น เช่น นำเสนอผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทันที ซึ่งพวกเขาจะสามารถสัมผัสได้ แทนที่จะบอกเรื่องผลประโยชน์ที่พวกเขาจะได้ต่อไปในอนาคตอันไกลโพ้น
  • ตลาดอสังหาริมทรัพย์สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นนี้ได้ด้วยเช่นกัน อาทิ การสร้างชุมชนเพื่อชาว Silver Age ที่ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง

 

สรุปประเด็นเรื่องเทคโนโลยีและสื่อของคนกลุ่ม Silver Gen

  • กิจวัตรและพฤติกรรมที่มีอยู่เดิม
  • ชาว Silver Gen มีกิจวัตรและพฤติกรรมเดิมอยู่แล้ว ซึ่งพวกเขาจะผสานใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียวกับกับกิจวัตรประจำวันของพวกเขา
  • เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้สร้างแบบแผนกิจวัตรและพฤติกรรมชุดใหม่ขึ้นแต่อย่างใด
  • สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือเสริมให้กับชีวิตของพวกเขา
  • ชาว Silver Gen วัย 50 ปีขึ้นไปมีความสุขกับการติดต่อเพื่อนฝูงและเสาะหาความบันเทิงจากอุปกรณ์และช่องทางโซเชียลมีเดียของพวกเขา
  • นับวันจะถูกทิ้งห่างมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ในขณะที่เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ฉลาดขึ้น ก้าวล้ำขึ้น และผสานตัวเข้าสู่ชีวิตประจำวันมากขึ้นนั้น ยิ่งนับวันชาว Silver Gen โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะยิ่งไล่ตามสิ่งเหล่านี้ไม่ทันกันมากขึ้นเรื่อยๆ

 

สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

  • เทคโนโลยีใหม่และการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX Design)
  • ชาว Silver Gen ไม่เห็นว่าประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่มีความน่าสนใจแต่อย่างใด และคิดว่าเครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและเรียนรู้
  • แบรนด์ควรจะยึดมั่นในหลักการสำคัญของ UX ในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ในเรื่องโฮมเพจ หน้าจอเริ่มต้น และปุ่มเปิด/ปิด เพื่อตอบสนองและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายสำหรับคนรุ่นนี้
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
  • ชาว Silver Gen ต้องการทำความเข้าใจว่าพวกเขาจะสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ มาผสานเข้ากับพฤติกรรมและกิจวัตรเดิมของพวกเขาได้อย่างไร แบรนด์จะต้องผสานผลิตภัณฑ์ของตนเข้ากับพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ให้ได้ โดยไม่สร้างแบบแผนกิจวัตรและพฤติกรรมชุดใหม่ให้กับพวกเขา
  • การตลาดผ่าน KOL
  • แบรนด์อาจจะยังคงใช้ KOL เพื่อโปรโทมผลิตภัณฑ์ตามปกติในการเข้าหาผู้บริโภคกลุ่มนี้ แต่ KOL เหล่านี้จะต้องหยิบยกปัญหาที่มีเหมือนกับพวกเขา โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนในกลุ่มอายุเดียวกันหรือเป็นคนดังแต่อย่างใด

10 ประเด็นเด่นจากผลการศึกษา

  1. เอ็นจอยกับปัจจุบัน ไม่อยากต้องทิ้งชีวิตแบบที่เป็นอยู่และมีความสุขกับมันต่อไป พวกเขาจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตในแบบที่เป็นอยู่ และมีความสุขกับมัน มากกว่าการขวนขวายหาเงินเพิ่ม หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่

 

  1. ร่ำรวยเวลา เพราะพวกเขาไมได้ขัดสนเรื่องเวลา มีเวลาเหลือเฟือ จึงไม่ได้เน้นให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว รีบเร่งมากนักแต่กลับให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือและการที่สามารถคืนสินค้าได้ โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่น่าสนใจมากกว่าด้านอื่นๆ
  2. ชื่นชมคนรุ่นอายุน้อยกว่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องทำตาม พวกเขาชื่นชมกับการที่คนรุ่นอายุน้อยกว่าเป็นแนวหน้ากล้าทดลองอะไรใหม่ๆ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาเลือกที่จะใช้ตามหรือทำตามเสมอไป
  3. สุขภาพดีเป็นเรื่องของร่างกาย สุขภาพสำหรับพวกเขาคือการคงความ “สมบูรณ์แข็งแรง” และสามารถทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และการมีสุขภาพจิตและใจที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่ง เพื่อให้ไปถึงสุขภาพกายที่แข็งแรงด้วย
  4. ชีวิตเกษียณไม่มีอยู่จริง พวกเขาไม่เห็นว่าตนเองจะเกษียณ พวกเขายังต้องทำงานเนื่องจากมีภาระหน้าที่ทางการเงิน หรือไม่ก็เพื่อแก้เบื่อ
  5. ทุกอย่างต้องจับต้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวกับการลงทุน พวกเขาไม่เชื่อในสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถสัมผัส มองเห็น หรือรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสพื้นฐานได้ หรือไม่คุ้นเคยกับมัน และให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องได้ในโลกแห่งความเป็นจริงมากกว่าในโลกดิจิทัล
  6. ผสานเทคโนโลยีใหม่เข้ากับกิจวัตรเดิมเพราะพฤติกรรมเก่าเปลี่ยนยาก ในการจับตลาดกลุ่มนี้ เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียใหม่จะต้องเข้ากันกับกิจวัตรที่คนรุ่นนี้มีอยู่เดิมด้วยจึงจะสามารถกระตุ้นอัตราการยอมรับหรือการเข้ามาใช้แพลตฟอร์มใหม่ๆ ของพวกเขาได้
  7. ตัดสินใจซื้อจากคนที่มีปัญหาเดียวกันไม่ใช่คนดัง ผู้ที่สามารถส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขาคือผู้ที่มีปัญหาคล้ายๆ กันหรือมีความน่าเชื่อถือ โดยที่ไม่มีปัจจัยเรื่องอายุมาเกี่ยวข้อง
  8. 60+ เข้าไม่ถึงโซเชียล พบว่าการเปิดรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์ต่างๆ มีอัตราลดลงอย่างมาก ในกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งที่เป็นกลุ่มที่สามามารถสร้างโอกาส และมีพลังทางการซื้อสูง
  9. พวกเขาต้องการมีพื้นที่ของพวกเขาเอง พวกเขาต้องการให้มีแบรนด์ ผลิตภัณฑ์และสถานที่ที่ได้รับการออกแบบและตอบสนองความต้องการของเขาโดยเฉพาะ พวกเขาไม่ต้องการให้แบรนด์ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือน “ตัวแถม” หรือเป็นส่วนเกินในสังคม

 

7 สิ่งที่แบรนด์สามารถช่วยชาว Silver Gen ได้

  1. จัดผู้ใหญ่วัยอาวุโสเป็นผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มหลักในการศึกษาวิจัยผู้บริโภคของแบรนด์
  2. ใช้ข้อความที่สื่อสารครอบคลุมถึงพวกเขา แสดงให้เห็นว่าการสูงวัยขึ้นก็มีแง่มุมที่ดี
  3. แสดงราคาและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
  4. มีการจำลองการใช้งานให้ผู้ใช้สูงวัยสามารถทดลองใช้ได้ในแบบออนไลน์
  5. ให้ความมั่นใจเรื่องการป้องกันการหลอกลวงและความปลอดภัยของข้อมูลตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของการสัมผัสประสบการณ์กับแบรนด์
  6. มีเครื่องหมายช่วยบอกเส้นทางหรือขั้นตอนการใช้งาน ยิ่งสร้างประสบการณ์ที่ชัดเจนและง่ายได้มากเท่าไรยิ่งดี มิฉะนั้นผู้ใหญ่วัยอาวุโสอาจจะยอมแพ้เสียก่อนเนื่องจากไปต่อไม่ถูก
  7. มีพนักงานที่เป็นมนุษย์คอยให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งานหากเกิดความผิดพลาดหรือติดขัดใดๆ ขึ้น พร้อมกับเสนอการฝึกอบรมการใช้งานอย่างครบถ้วนครอบคลุมทุกเนื้อหา การสอนวิธีใช้งานควรจะครอบคลุมสิ่งต่างๆ เช่น ปุ่มสำหรับไอคอนต่างๆ ในอินเตอร์เฟส เอกสารการสอน และวิธีการง่ายๆ ในการอัพเดทซอฟท์แวร์

 

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: