Biznews

การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ ถอดคำต่อคำ “ไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์” เอสซีจียังต้องเปลี่ยน

เอ่ยชื่อ “เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์” หลายคนคงร้องอ๋อ เนื่องจากบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างในเครือเอสซีจี (SCG) ให้บริการจัดการทางด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย  ภายใต้ไทม์ไลน์ที่น่าสนใจดังนี้  

  • พ.ศ. 2540 – ก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการขนส่งให้กับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2541 – หลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้แยกหน้าที่ในการดำเนินงานการขนส่งออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทโดยใช้ชื่อว่า บางซื่อ ขนส่ง
  • พ.ศ. 2543 – เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซิเมนต์ไทย โลจิสติกส์ จำกัด
  • พ.ศ. 2547 – เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น เอสซีจี  โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด เพื่อการสร้าง Brand ร่วมกันภายใต้ชื่อเอสซีจี

ปัจจุบัน มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจเกี่ยวข้องเติบโตตามไปด้วย และหนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ที่จะขาดเสียไม่ได้ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สำคัญ เห็นได้จากมีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งไทยและยักษ์ข้ามชาติ

การเติบโตที่สวยหรูในธุรกิจโลจิสติกส์ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 2 ล้านล้านบาทกลายเป็นเค้กหอมหวานที่ใครๆ ต่างหมายปอง แต่ในมุมของผู้ประกอบการที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขาใหญ่อย่างบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัดในเครือเอสซีจี สะท้อนถึงบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้สวยหรูชนิดที่น่าสนใจ

“ไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์” กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด มองภาพรวมของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยว่า เป็นธุรกิจที่ชกกันดุเดือด ชนิดทะเลเดือดเลยก็ว่าได้  ผลกำไรเทียบเป็นกระดาษทิชชูมีสองแผ่น แต่ธุรกิจโลจิสติกส์กำไรเหมือนกระดาษทิชชูแผ่นเดียว แต่ก็ยังมีรายใหม่ๆ เข้ามาตลอดเวลา เพราะเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตและเป็นธุรกิจที่รัฐบาลให้การส่งเสริม ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วโอกาสจะออกไปจากธุรกิจค่อนข้างยาก เพราะต้องลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะแวร์เฮ้าส์ รถสำหรับขนส่ง สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ดังนั้นเมื่อเข้ามาเล่นแล้วก็ต้องอยู่กันไปแบบนี้ จนกระทั่งอยู่ไม่ได้ก็หายไป

“โลจิสติกส์เป็นธุรกิจที่เรียกว่า “Burn Cash” มีเงินสดมาเผาเล่นกัน เพียงแต่ใครจะอยู่ได้ยาวกว่ากัน ใครจะกระเป๋าลึกกว่ากัน เคอรี่กำไรไปแล้ว ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นของจีนเข้ามา ใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็ขาดทุน  ขาดทุนเยอะ เพราะต้องสร้างเน็ตเวิร์ก ทำให้การขนส่งไปทั่วประเทศได้  ต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ สร้างสาขา ฮับทั้งหมด เป็นการ Burn Cash”

เมื่อตลาดแข่งขันรุนแรง เอสซีจีแม้จะเป็นยักษ์ใหญ่ก็ต้องมีการพัฒนาและปรับรับการเปลี่ยนแปลง หลายคนคิดว่าเอสซีจีใหญ่ ยังต้องปรับตัวขนาดนี้เลยหรือ ทุกท่านก็เห็น “การเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์” ถ้าอยู่แบบเดิมๆ อยู่ไม่ได้ ผมพูดกับลุูกน้องอยู่เสมอว่า  เราอยากจะเป็นไดโนเสาร์ หรือ แมลงสาบ ที่เป็นสัตว์โลกล้านปีทั้งคู่ ถ้าอยากอยู่รอดต้องเป็นแมลงสาบที่เปลี่ยนแปลงตามโลกได้ แต่ถ้าเลือกเป็นไดโนเสาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามโลกก็เตรียมตัวสูญพันธุ์ได้เลย

“เอสซีจีก็ต้องเปลี่ยนแปลง แม้จะเติบโตจนยอดถึง 20,000 ล้านบาท แต่ถ้าเรามีโอกาสโตถึง 40,000 – 50,000 ล้าน แต่ไม่เปลี่ยนแปลง เราอาจต้องอยู่แค่ 20,000 ล้านแล้วตายไปเพราะมีคู่แข่งเยอะ ดังนั้น
เราต้องเข้าสู่ยุคใหม่  เที่เรียกว่า ดิจิทัล ไดรเว่น โลจิสติกส์ เอาดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง เป็นนิวเคิร์ฟของโลจิสติกส์ ทำให้รายได้และกำไรดีขึ้น เพราะเราจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากสนาม เรดโอเชี่ยน สู่ บลูโอเชียน ดังนั้นในอนาคตรายได้และกำไรต่างๆ จะมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล แพลตฟอร์มต่างๆ”

ทั้งนี้  การยกระดับเอสเคิร์ฟ เราไม่ได้อยู่แต่ในประเทศ ปัจจุบันเรามีแพลตฟอร์มหลายแพลตฟอร์ม เรียกว่า บีทูบี บีทูซี บีทูบีใหญ่มาก และปัจจุบันเรามีธุรกิจครอบคลุมในประเทศภูมิภาคอาเซียน 7 ประเทศ ทั้งใน เมียนมา ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน มีทั้งทางบกและน้ำ มีการลงทุนค่อนข้างเยอะที่ทำแพลตฟอร์มธุรกิจไว้ มีผู้ร่วมทุนระดับโลก เช่น ล่าสุด มีท่าเรือของเราเองที่พระประแดง ซึ่งร่วมทุนกับสิงคโปร์ ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ท่าเรือรายใหญ่อันดับสองของโลก มีคอนเทนเนอร์กว่า 50 ล้านยูนิตที่บริหารอยู่

ไพฑูรย์ยำ้ว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ต้องมีเน็ตเวิร์กทุกที่ เพื่อให้การต่อเนื่องเชื่อมโยงเกิดซีมเลส ไม่มีรอยต่อ

ตลาดอีคอมเมิร์ซโต ในประเทศไทยโตค่อนข้างเร็วและเยอะมาก สาขาที่โตเราเรียกว่า Last mile หรือการขนส่งขั้นสุดท้าย ที่เป็นการขนส่งจากสินค้าไปถึงลูกค้าที่เป็น บีทีซี หรือ ซีทูซี เป็นแอเรียที่เติบโตเยอะ และหมายความว่าคู่แข่งเยอะ การแข่งขันเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพราะเวลาคนเห็นธุรกิจอะไรเติบโต
ผู้เล่นก็จะเข้ามา

“เคอรี่เป็นรายใหญ่อันดับ 1 ในเอกชน แต่ธุรกิจนี้ต้องมองกันยาวๆ ธุรกิจของเคอรี่เข้ามา 10 กว่าปีแล้ว แรกๆ ก็ขาดทุน ตอนนี้คนที่เข้ามาหลังๆ ทั้งหมดต่อจากเคอรี่ ขาดทุนทั้งหมด จนเรียกได้ว่า เป็นธุรกิจที่เรียกว่า Burn Cash มีเงินสดมาเผาเล่นกัน เพียงแต่ใครจะอยู่ได้ยาวกว่ากัน ใครจะกระเป๋าลึกกว่ากัน เคอรี่กำไรไปแล้ว ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นของจีนเข้ามา ใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็ขาดทุน และขาดทุนเยอะ เพราะต้องสร้างเน็ตเวิร์ก ทำให้การขนส่งไปทั่วประเทศได้ และต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ สร้างสาขา ฮับทั้งหมด เป็นการเบิร์น แคช บางคนเข้ามาเอาราคามาดัมพ์กันก่อน แล้วก็กลับประเทศไปสองสามรายแล้ว”

นอกจากนี้ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค จิ๊กซอว์ที่เหลือคือ ฟูล ฟิลเม้นต์ วิธีการคือ ผู้ผลิคสามารถเอาของมาวางไว้ที่เรา ระบบจะยิงมาที่เรา เราจะแพค ส่งถึงผู้บริโภค ธุรกิจนี้ยังถือว่าเป็นบลูโอเชียน มีผู้เล่นไม่เยอะเราจึงเข้าไป

ก้าวเดินของเอสซีจีในธุรกิจโลจิสติกส์ จึงเป็นการก้าวยุคใหม่ ที่เรียกว่า” ดิจิทัล ไดรเว่น โลจิสติกส์” หรือการนำดิจิทัลเทคโนโลยี เข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างรายได้และผลกำไร ถือได้ว่าเป็นนิวเคิร์ฟของโลจิสติกส์ ทำให้รายได้และกำไรดีขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดเรดโอเชียน ไปหาตลาดบลูโอเชียนด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้

ไพฑูรย์ ทิ้งท้ายว่า ทิศทางจากนี้ไปของเอสซีจีคือ สิ่งที่เราเก่งเราจะทำ สิ่งที่เราไม่เก่ง เราก็จะให้ที่อื่นที่เก่งกว่าเข้ามาทำ จึงอยากให้มีสตาร์ทอัพเก่งๆ เยอะๆ เพราะเรามีนโยบายสนับสนุนสตาร์ทอัพ ประเทศข้างเคียงเรามียูนิคอร์นเยอะ คือ มีมูลค่าบริษัทเกินพันล้านยูเอสดอลลาร์แต่ไทยยังไม่มี องค์กรใหญ่ๆ ควรให้การสนับสนุน

และนี่คือการสะท้อนภาพของธุรกิจโลจิสติกส์และก้าวย่างทางเดินบริบทใหม่ของ “เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์”  ยักษ์ใหญ่ในเครือเอสซีจี ที่วันนี้ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน

 

 

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
X
%d bloggers like this: