Robot Bosch BH-85 โรดโชว์ฉลอง 85 ปี “บ๊อช”
ด้วยอายุอานามที่ค่อนข้างมีมาอย่างยาวนานในวัย 85 ปี อีกทั้งคู่แข่งที่นับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกวัน “บ๊อช” ในฐานะผู้นำตลาดสว่านโรตารี่ด้วยส่วนแบ่ง 30% ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าราว 1,500-1,600 ล้านบาท คาดการณ์ปีนี้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของงานโครงสร้างพื้นฐานในไทย ส่งผลให้เกิดดีมานด์ในตลาดขึ้น ทำให้ บ๊อซ ต้องมีการปรับกลยุทธ์รองรับการแข่งขันดังกล่าว ด้วยการชูจุดเด่นเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการที่ครองใจลูกค้าชาวไทยมาอย่างยาวนาน
ธีระทัศน์ ประเสริฐเมธากุล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายเครื่องมือไฟฟ้า บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด ยอมรับว่า ปีที่ผ่านมาตลาดค่อนข้างซบเซาตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผูิบริโภคในบางกลุ่มที่ชะลอตัว แต่ปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจึงเตรียมเดินเกมรุกด้วยการเจาะกลุ่มลูกค้าช่างรายย่อยและผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างให้มากขึ้น ด้วยการเน้นการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ภายใต้งบการตลาดรวมทั้งปีที่ 60-70 ล้านบาท
หนึ่งในแคมเปญสำคัญและถือเป็นไฮไลท์ของปีนี้ คือ การจัดแคมเปญสว่านโรตารี่ครบรอบ 85 ปี ภายใต้งบกว่า 10 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการขายและการตลาดในโอกาสที่สว่านโรตารี่ครบรอบ 85 ปี โดยกิจกรรมส่งเสริมการขายจะมีการจัดอย่างต่อเนื่องทั้งปี ได้แก่ คาราวาน 85 ปี สว่านโรตารี่ พร้อมโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษ โดยจะเริ่มในช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย. 2561 นำร่อง 4 จังหวัดคือ ปากช่อง นครราขสีมา ระยอง เชียงใหม่และหาดใหญ่
ไฮไล์ของโรดโชว์ของบ๊อซในปีนี้คือ การนำหุ่นยนต์ Robot Bosch BH-85 ซึ่งเป็นฝีมือการประดิษฐ์ของนายธนวัติ มณีนาวา หรือ เป๋ เจ้าของ Tamada studio (ทำดะ สตูดิโอ) ที่ใช้เวลาทำเพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น ซึ่งคอนเซ็ปท์ของหุ่นยนต์ตัวนี้ได้สรา้งขึ้นจากเครื่องมือของบ๊อซทั้งหมด ถือเป็นการตอกย้ำแบรนด์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ บ๊อชในประเทศไทย ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน บ๊อช สร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง และสายการผลิตโซลูชั่นส์และการบริการส่วนเครื่องจักรเพื่อบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี ในปี 2559 บ๊อชในประเทศไทยมียอดขาย 11.9 พันล้านบาท (305 ล้านยูโร) และมีพนักงานมากกว่า 1,200 คน
ส่วนกลุ่มบริษัทบ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 400,500 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ในปี 2560 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 7.8 หมื่นล้าน ยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร
กลุ่มบ๊อช ประกอบด้วย บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 450 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่างๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่างๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย บ๊อชครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 62,500 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 125 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน
โรเบิร์ต บ๊อช ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2429 ณ เมือง สตุทการ์ท (Stuttgart) ประเทศเยอรมนีโดย มร.โรเบิร์ต บ๊อช (พ.ศ. 2404 – 2485) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม “ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อความแม่นยำทางกลศาสตร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า” ด้วยโครงสร้างที่พิเศษของโรเบิร์ต บ๊อช ทำให้บริษัทมีอิสระในการดำเนินงาน สามารถวางแผนในระยะยาว และมีความคล่องตัวในการลงทุน จึงเป็นหลักประกันอนาคตของบริษัท โดยมีมูลนิธิ โรเบิร์ต บ๊อช เป็นผู้ถือหุ้นหลัก 92 เปอร์เซ็นต์ของบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช แต่ทว่าสิทธิในการลงคะแนนและอำนาจในการบริหารจัดการจะถูกดูแลโดย คณะผู้บริหารบ๊อช (Robert Bosch Industrietreuhand KG) ซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ปัจจุบันหุ้นส่วนที่เหลือนั้นเป็นของเครือบริษัทบ๊อช และบริษัทโรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช เยอรมนี