Biznews

แม่ค้าขยับ รับลูกค้าพร้อมเปย์

ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเดินหน้า ผลักดันร้านค้าและผู้บริโภคให้หั นมาใช้ e-Payment แทนเงินสดกันมากขึ้น โดยนายกสมาคมการค้าผู้ให้บริการ ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทยคาดกา รณ์ว่าจำนวนธุรกรรมที่ใช้เงิ นสดจะลดลงจาก 90% ในปัจจุบัน สู่ระดับ 50% ภายใน 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว ดังนั้นแล้วบทความนี้จะมาตอบคำถ ามในใจของร้านค้าว่า การใช้ e-Payment จะดีต่อร้านค้าอย่างไร? e-Payment ในรูปแบบไหนจะแพร่หลายในอนาคต? และผู้บริโภคจะหันมาใช้ e-Payment มากขึ้นจริงหรือไม่?

ภาครัฐและเอกชนร่วมผลักดันไทยสู่สังคมไร้เงินสด
หลังจากที่กระทรวงการคลังได้จับ มือกลุ่มธนาคาร กระจายอุปกรณ์รับชำระเงินผ่านอุ ปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ไปทั่วประเทศกว่า 5.5 แสนเครื่อง เพื่อรองรับการชำระเงินผ่านบัตร เครดิต/เดบิต ตามนโยบาย National e-Payment ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้แถลงข่าวเปิดตัว standard QR Code หรือ QR Code มาตรฐานเดียวกัน ให้ผู้บริโภคและร้านค้าสามารถรั บ-จ่ายเงินในรูปแบบ QR Code ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต บัญชีเงินฝากธนาคาร หรือบริการ e-Wallet ของกลุ่ม Non-Bank ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถชำระเงินผ่านผู้ให้บริ การใดก็ได้ ในขณะเดียวกัน เหล่าธนาคารรายใหญ่ของไทยก็พร้อ มใจกันเปิดตัว Mobile Application โฉมใหม่ ที่พร้อมรองรับการชำระเงินด้วย QR Code ด้าน non-bank อย่าง TrueMoney, m-Pay, AirPay และอื่นๆ ก็จัดโปรโมชั่นหนัก เพื่อผลักดันให้มีผู้ใช้งาน e-Wallet ของตนมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างพุ่งเป้าไปที่การสนับสนุ นให้ร้านค้าและประชาชนหันมาใช้ e-Payment ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต/เดบิต Mobile Banking หรือ e-Wallet แทนการใช้เงินสด เนื่องจากการเป็นสังคมไร้เงินสด จะเกิดประโยชน์มากมาย เช่น การช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมแ ละการบริหารจัดการเงินสด อีกทั้งยังสามารถต่อยอดนวัตกรรม ทางการเงินได้หลากหลายในอนาคต ทั้งนี้ จากการประเมินของ VISA พบว่า หากกรุงเทพมหานครสามารถก้าวเข้า สู่สังคมไร้เงินสดได้จะเกิดประโ ยชน์เป็นมูลค่ากว่า 1.25 แสนล้านบาทต่อปี โดยประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับภา คธุรกิจ

คาดการณ์มูลค่าของอานิสงส์ที่กรุ งเทพฯจะได้รับจากการเป็นสังคมไร้ เงินสด*

​หมายเหตุ: มูลค่าอานิสงส์ที่จะได้รับ หากประชาชนทั้งหมดสามารถใช้ e-Payment ได้ในระดับเดียวกันกับกลุ่มที่มี การใช้ e-Payment มากที่สุด 10% แรกในกรุงเทพฯ
ที่มา: รายงาน Cashless Cities โดย VISA

ตัวอย่างการรับ-จ่ายเงินในรูปแบบ QR Code

​ธนาคารและผู้ให้บริการอื่นๆ ต่างจัดโปรโมชั่นหนัก เพื่อผลักดันให้มีผู้ใช้บริการ e-Payment ของตนมากขึ้น

​e-Payment ช่วยธุรกิจเพิ่มยอดขาย-ลดต้นทุน
จากการศึกษาของ Roubini ThoughtLab พบว่าการรับเงินผ่าน e-Payment สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุร กิจได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจขนาดเล็ กจะมียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 17% หลังจากเริ่มรับชำระเงินผ่าน e-Payment เนื่องจากธุรกิจเหล่านั้นจะไม่พ ลาดโอกาสในการขาย หากผู้บริโภคไม่ได้พกเงินสดไว้เ พียงพอต่อการซื้อสินค้า อีกทั้งธุรกิจบางส่วนยังสามารถข ยายตลาดไปยังลูกค้าออนไลน์เพื่ อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของตน สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่จะมียอดขาย เพิ่มขึ้นกว่า 22% เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่สามารถต่ อยอดข้อมูล e-Payment เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริ โภค เพื่อนำเสนอราคาและโปรโมชั่นได้ อย่างตรงกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถเสนอกลยุทธ์ loyalty program เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคกลับม าใช้บริการของตนอีก อย่างไรก็ดี การต่อยอด e-Payment เพื่อทำการตลาดนั้นไม่จำกัดอยู่ เพียงธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ร้านค้าในจีนที่นิยมให้บริการรั บชำระเงินผ่านมือถือ เพราะร้านค้าเหล่านั้นสามารถสร้ างความสัมพันธ์กับลูกค้า (customer engagement) ได้โดยการแนะนำให้ลูกค้ากดติดตา ม page ของร้านค้า เพื่อให้ร้านค้าสามารถส่งคูปองส่ วนลด และโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับลูกค้าได้

e-Payment ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าอย่าง ไร?

​นอกจากนี้ การใช้ e-Payment แทนเงินสด จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาในกา รดำเนินการรับ-จ่ายเงิน และประหยัดต้นทุนโดยตรงที่ธุรกิ จต้องใช้ในการบริหารเงินสด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างพนักงานให้ไ ปขึ้นเช็ค เฝ้าเงินสดที่ร้าน ตรวจสอบเงินสด หรือแม้กระทั่งการป้องกันการโจร กรรม ทั้งนี้ จากการศึกษาของ VISA พบว่า ในกรุงเทพฯ ธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่มีแนวโน้ม ที่จะใช้ e-Payment ในการรับ-จ่ายเงินมากกว่าธุรกิจ ขนาดเล็ก โดยเฉพาะในส่วนของการจ่ายเงินที่ธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าครึ่งยังใ ช้เงินสด ซึ่งอาจเป็นเพราะธุรกิจเหล่านั้ นมีลูกจ้างเพียงไม่กี่ราย และส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งคุ้นชินกับการได้รับค่าจ้าง เป็นเงินสดมากกว่า อย่างไรก็ดี หากการดำเนินการดังกล่าวใช้ระบบ e-Payment ก็จะช่วยประหยัดทั้งเวลา และต้นทุนของธุรกิจในการดูแลเงิ นสดให้กับธุรกิจได้

สัดส่วนของการ “รับ” เงินผ่าน e-Payment เทียบกับเงินสดของธุรกิจในกรุงเ ทพมหานคร (มูลค่า)

​สัดส่วนของการ “จ่าย” เงินผ่าน e-Payment เทียบกับเงินสด (มูลค่า)

​หมายเหตุ: นิยามขนาดธุรกิจ ดังนี้ ธุรกิจขนาดเล็กมีการจ้างงานน้อย กว่า 20 คน ธุรกิจขนาดกลางมีการจ้างงาน 20-50 คน ธุรกิจขนาดใหญ่มีการจ้างงาน 50-200 คน

ที่มา: รายงาน Cashless Cities โดย VISA

การชำระเงินด้วย QR Code มีต้นทุนต่ำ และจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค

สำหรับร้านค้า การรับชำระเงินด้วย QR Code มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเครื่อง EDC ที่ใช้รับบัตรเครดิต/เดบิต เนื่องจากการใช้เครื่อง EDC จะต้องมีการติดตั้งเครื่องและระ บบ อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียม 1.5-3.5% ที่จะคิดในฝั่งผู้ขาย ขณะที่การรับเงินผ่าน QR Code นั้นเป็นการชำระเงินผ่านสมาร์ทโ ฟน โดยผูกกับระบบ PromptPay ซึ่งจะไม่มีค่าธรรมเนียมหากโอนเ งินไม่เกิน 5,000 บาท อีกทั้งเหล่าธนาคารและผู้ให้บริ การอื่นๆ ต่างแข่งขันเพื่อให้บัญชีของตนเ ป็นบัญชีหลักของร้านค้า ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จึงยังไม่คิ ดค่าธรรมเนียมกับร้านค้า และทำให้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องกำ หนดจำนวนเงินขั้นต่ำกับผู้บริ โภคอย่างในกรณีของบัตรเครดิต นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังมีบริการแจ้งเตื อนร้านค้าเมื่อมีเงินเข้ามาในบั ญชี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กั บการรับเงินผ่าน QR Code ด้านผู้บริโภคก็มีแนวโน้มจะใช้ QR Code มากขึ้น ตามจำนวนการผูกบัญชี PromptPay ที่มีมากขึ้น และแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนที่แพ ร่หลายมากขึ้น อีกทั้งผู้ให้บริการทั้งธนาคารแ ละ non-bank ต่างผลักดันให้ผู้บริโภคใช้บริก ารของตนอย่างเต็มที่ ด้วยโปรโมชั่น และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การได้รับเงินคืนเมื่อจ่ายผ่าน QR Code หรือส่วนลดต่าง ๆ

การเติบโตของ e-Commerce เป็นอีกแรงสนับสนุนให้
กับการใช้ e-Payment ของผู้บริโภค

การใช้ e-Payment เป็นสิ่งที่มักจะเติบโตควบคู่ไป กับ e-Commerce เพราะ e-Payment ทำให้การซื้อสินค้าเป็นไปอย่างร วดเร็ว และสะดวกสบาย อย่างเช่น ในกรณีของจีนที่สามารถเปลี่ยนเป็ นสังคมไร้เงินสดได้ภายใน 2 ปี โดยมีจุดเริ่มต้นจากความนิยมในก ารใช้ e-Wallet อย่าง Alipay และ Wechatpay เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ โดยหลังจากที่ผู้บริโภคมี e-Wallet อย่างแพร่หลายก็ส่งผลให้ร้านค้า ออฟไลน์จำนวนมากหันมารองรับการใ ช้จ่ายผ่าน QR Code เพื่อเพิ่มยอดขาย สำหรับประเทศไทยมูลค่าตลาด e-Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตได้กว่า 13% ต่อปี ในช่วง 4 ปีข้างหน้า จากระดับ 6 หมื่นล้านบาทในปี 2017 สู่มูลค่าตลาดราว 1 แสนล้านบาทภายในปี 2021 ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริ โภคมีความคุ้นชินกับ e-Payment มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทยกว่า 39% ยังนิยมการชำระเงินแบบเก็บเงินป ลายทาง (Cash on Delivery: COD) เทียบกับในประเทศจีนที่มีเพียง 8% ลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้เป็นความ ท้าทายสำคัญต่อการเติบโตของ e-Payment ผ่าน e-Commerce ของไทย ทั้งนี้ หากในอนาคตผู้บริโภคสามารถชำระเ งินปลายทาง (COD) ด้วย QR code ได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ e-Commerce เนื่องจากความปลอดภัยที่มากกว่า การเก็บเงินสด อีกทั้งยังไม่ต้องจำกัดจำนวนเงิ นเมื่อพนักงานมาส่งสินค้า เพียงแค่สแกน QR รับชำระเงินตรงไปที่บริษัทได้เล ย

การชำระเงินเพื่อซื้อของออนไลน์ ในไทยส่วนใหญ่ทำผ่านบัตรเดบิต/เ ครดิต และการชำระเงินปลายทาง
หน่วย: % ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ซื้อสินค้ าผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด

​ที่มา: ผลสำรวจของ EIC ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2017 และ Worldpay

สังคมไร้เงินสดจะเป็นจุดเริ่มต้ นให้เกิดการพัฒนาฟินเทคด้านอื่น ๆ ต่อไป

จากกรณีศึกษาของจีนและอินเดีย พบว่าการที่ผู้คนหันมาใช้ e-Payment มากขึ้นจะเป็นการสร้างฐานข้อมูล ด้านการเงินของเหล่า SMEs และบุคคลทั่วไป ทั้งข้อมูลด้านจำนวนเงินที่หมุน เวียนในบัญชี ประเภทของการใช้จ่าย ช่วงเวลาที่มีเงินเข้า-ออก และอื่นๆ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้เป็น credit scoring หรือข้อมูลด้านเครดิตที่สถาบันก ารเงินสามารถนำมาประกอบการพิจาร ณาให้สินเชื่อ nano-finance ได้ อีกทั้งยังนำไปสู่การนำเสนอบริก ารทางการเงินรูปแบบอื่นๆ เช่น การบริการความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) และการประกันภัย (insurance) ทั้งนี้ หากบริการทางการเงินในรูปแบบต่า งๆ สามารถเข้าถึงประชาชนและธุรกิจไ ด้เป็นวงกว้าง ก็จะเป็นการช่วยพัฒนา SMEs ไทย ช่วยการวางแผนทางการเงินของประช าชน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของประชา ชนของรัฐบาลเพื่อการกำหนดนโยบาย ช่วยเหลือที่ถูกต้องและตรงจุ ดในระยะต่อไปอีกด้วย

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: