อานิสงค์ “ชิมช้อปใช้”ปลุกชีพค้าปลีกภูธร

ปิดจ็อบไปเรียบร้อยสำหรับแคมเปญชิมช้อปใช้ที่ปลุกสถานการณ์ค้าปลีกโดยรวมให้กลับมาคึกคักอีกครั้งส่งท้ายปี โดยเฉพาะค้าปลีกภูธรที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัว เมื่อประชาชนผ่านด่านอรหันต์ในการลงทะเบียนชิมช้อปใช้สำเร็จต่างมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างครึกครื้นช่วยให้ยอดขายแม้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สามารถเห็นความแตกต่างของเม็ดเงินที่สะพัดอย่างชัดเจน
“ธนพิริยะ” ลุยต่อค้าปลีกภาคเหนือ
ด้วยความขยันและตั้งใจจากรุ่นแรก จากร้านแผงลอยขายของชำในตลาดสดเทศบาลเชียงรายเมื่อปี 2508 ภายใต้ชื่อ “โง้วทองชัย” ค่อย ๆ เติบใหญ่ขึ้นมาเป็นร้านห้องแถว 2 คูหา ปัจจุบันกลายมาเป็น “บริษัท ธนพิริยะ จำกัด มหาชน” ร้านค้าปลีกและขายส่งทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย
อาณาจักรค้าปลีกท้องถิ่นรายนี้บริหารงานโดยตระกูล “พุฒิพิริยะ” ที่กำลังถูกจารึกบนธุรกิจค้าปลีกของไทยภายใต้การนำของคู่สามีภรรยา “ธวัชชัยและอมร” ที่ร่วมกันฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคมากมายจนสามารถเติบโหญ่ วันนี้ ธนพิริยะหรือที่คนท้องถิ่นเรียกสั้นๆ ว่า “ธน” ยืนหยัดอยู่ในตลาดอย่างโดดเด่นและเติบโตขยายกิ่งก้านสาขา ท่ามกลางร้านค้าปลีกท้องถิ่นที่ทยอยปิดตัวลง และยังเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ท้าชนยักษ์ใหญ่จากต่างชาติเรียบร้อยแล้ว
จากแคมเปญชิมช้อปใช้ TNP ค้าปลีกท้องถิ่นไทยจังหวัดเชียงรายแห่งนี้ ได้เปิดสาขาเข้าร่วมโครงการกว่า 20 สาขา จากปัจจุบันมี 27 สาขา ล่าสุด ประกาศตั้ง 2 บริษัทย่อย เพื่อขยายธุรกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ที่อยู่นอกเหนือจังหวัดเชียงราย เตรียมรับโอกาสการเติบโตในอนาคต
เภสัชกรหญิงอมร พุฒิพิริยะ รองกรรมการผู้จัดการ จำกัด (มหาชน) หรือ TNP ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ในจังหวัดเชียงราย มั่นใจว่า แนวโน้มธุรกิจครึ่งปีหลัง จะเติบโตได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว ประกอบกับโครงการ “ชิม ช้อป ใช้” ของภาครัฐบาลที่ออกมาช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนให้คึกคักเพิ่มขึ้น โดยร้านธนพิริยะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว 20 สาขา จากทั้งหมด 27 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย เพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกค้าให้สามารถเข้ามาใช้บริการได้อย่างทั่วถึง
โดยผลตอบรับของโครงการ ชิม ช้อป ใช้ ธนพิริยะได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดขายในช่วงที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สนับสนุนแผนการเติบโตในปีนี้ โดยตั้งเป้าหมายรายได้ทั้งปีเติบโตไม่ต่ำกว่า 10 – 15% จากปีก่อนหน้าทำรายได้อยู่ที่ 1,769.17 ล้านบาท
เพื่อรองรับการขยายโอกาสและการเติบโตในอนาคต ได้จัดตั้งบริษัทย่อย 2 บริษัท ถือหุ้นในสัดส่วน 99.998% ทุนจดทะเบียนบริษัทละ 1 ล้านบาท คาดว่าจะจัดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะเริ่มเปิดดำเนินการภายในเดือนพฤศจิกายน 2562 เพื่อขยายโอกาสการเติบโตในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในโซนภาคเหนือ นอกพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยจังหวัดที่ธนพิริยะขยายไปนอกพื้นที่ในช่วงก่อนหน้านี้ ได้แก่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดีเยี่ยม
ในปี 2562 ธนพิริยะตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่ทั้งสิ้น 5 สาขา ปัจจุบันเปิดไปแล้ว 3 สาขา สนับสนุนให้มีสาขารวมกันทั้งสิ้น 27 สาขา ได้แก่ ร้านธนพิริยะสาขาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 24 สาขา จังหวัดพะเยา 2 สาขา และจังหวัดเชียงใหม่ 1 สาขา ตั้งเป้าสิ้นปีมีสาขา 29 สาขา ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ตอกย้ำผู้นำร้านค้าปลีกท้องถิ่นไทยในจังหวัดเชียงราย ที่แข็งแกร่ง และพร้อมจะบุกตลาดโซนภาคเหนือ
‘ตั้งงี่สุน’ ชม ‘ชิม ชอป ใช้’ เฟสแรกได้ผลเกินคาด
เอ่ยชื่อค้าปลีกเมืองออุดรต้องไม่พลาดรายนี้ ตั้งงี่สุน ซุปเปอร์สโตร์ เจ้าของอาราจักรขาใหญ่ที่ถูกกล่าวขานเป็นอย่างมากถึงแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์มาแล้วอย่างราบคาบ และยืนอยู่แถวหน้าค้าปลีกเมืองอุดรได้อย่างสง่างามกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของค้าปลีกภูธรที่หลายคนสนใจ
มิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ตั้งงี่สุน ซุปเปอร์สโตร์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจห้างค้าปลีกค้าส่ง “ตั้งงี่สุน” จังหวัดอุดรธานี กล่าวถึงแคมเปญ “ชิม ช้อป ใช้” ว่าแม้จะมีปัญหาด้านระบบในช่วงแรกๆ แต่ก็ลุล่วงไปได้ด้วยดี และถือเป็นนโยบายที่เกินความคาดหมายของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่น เนื่องจากมีจำนวนประชาชนเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าในร้านเป็นจำนวนมากทั้ง 2 สาขา ในอำเภอเมือง และอำเภอนาดี จังหวัดอุดรธานี โดยเฉพาะในสาขาที่สอง มีรถเข้ามาจอดเต็มพื้่นที่จอดรถขนาด 10 ไร่ เกือบทุกวันโดยมีปริมาณการหมุนเวียนผู้เข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าในวันธรรมดา เพิ่มขึ้น 50% และเพิ่มเป็น 80%ในวันศุกร์เสาร์-อาทิตย์
“ไม่ใช่แค่เฉพาะในจังหวัดอุดรฯที่คึกคัก แต่ยังรวมไปถึงคนในจังหวัดอุดรฯเอง ก็ยังนำสิทธิ์ชิม ช้อป ใช้ ไปใช้ในจังหวัดตรงข้ามด้วย ซึ่งมองว่ามาตรการฯนี้เข้ามาปลุกบรรยากาศกำลังซื้อค้าปลีกท้องถิ่นในโค้งสุดท้ายปลายปีนี้ได้ค่อนข้างโอเค และสร้างการจับจ่ายหมุนเวียนระหว่างจังหวัดให้เกิดขึ้นและสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับประชาชนท้องถิ่นต่างจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุด้านแคชเลส โซไซตี หรือ สังคมไร้เงินสด ในทางอ้อมอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวว่าส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจท้องถิ่นในระดับหนึ่ง และเป็นสัญญาณที่ดีหากภาครัฐจะเร่งดำเนินมาตรการชิม ช้อป ใช้ในเฟสที่สองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ช่วงปลายปีนี้” มิลินทร์ กล่าว
“ไชยแสง” ปลื้มยอดขายเพิ่ม 70%
กลับมาที่เมืองสิงห์บุรี อีกหนึ่งค้าปลีกที่ยืนหยัดเคียงข้างเมืองถิ่นคนกล้าต้องยกให้ ห้างไชยแสงดีพาร์ทเม้นสโตร์ที่เริ่
ต่อมา ปี พ.ศ. 2517 แนวโน้มของผู้บริโภคทางด้านเสื้
ชื่อเสียงของห้างไชยแสงก็เริ่
ซึ่งก่อสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น บนเนื้อที่ 400 ตารางวา มีพื้นที่ขายรวม 1600 ตารางเมตรตั้งอยู่เลขที่ 910 ถนนขุนสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ใจกลางเมืองจังหวัดสิงห์บุรี ย่านชุมชน การคมนาคมสะดวก บริเวณข้างเคียงเป็นอาคารพาณิ
ปัจจุบัน ไชยแสง บริหารโดยครอบครัว “ตรีชัยรัศมี “ ที่มี 2 สามีภรรยา เทียนชัย-สุนีย์ ตรีชัยรัศมี พร้อมด้วยลูกๆ ที่เริ่มเข้ามาช่วยดูแลกิจการให้กับครอบครัว
“ภาคภูมิ ตรีชัยรัศมี” บุตรชายคนโตของตระกูลรับหน้าที่ดูแลไชยแสง ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ให้ความเห็นถึงแคมเปญชิมช้อปใช้ว่า ถือว่าเป็นโครงการที่ดี และเป็นแคมเปญที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็มีผลต่อจิตวิทยาของประชาชน ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระบบค่อนข้างรัดกุมในเรื่องของการใช้แอพพลิเคชั่น การยืนยันตัวบุคคลและร้านค้า การแสดงโลเคชั่นของทั้งลูกค้าและร้านค้า แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเทคโลยีได้ดียิ่งขึ้น
โดยส่วนใหญ่ประชาชนที่มาใช้บริการ ไชยแสงดีพาร์ทเมนท์สโตร์เดินทางมาจากหลากหลายจังหวัด มีการใช้จ่ายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งซื้อของและบริการต่างๆ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 50-70% จากช่วงปกติ
ชิมช้อปใช้กระหึ่ม “ทวีกิจ”
สำหรับคนบุรีรัมย์และชาวอีสานใต้คงคุ้นหูกับชื่อ “ห้างทวีกิจ” ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองบุรีรัมย์มายาวนานกว่า 45 ปี ทวีกิจ เริ่มต้นมาจากร้านขายของชำเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง จนก้าวขึ้นมาเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัด ขยายกิจการใหญ่โต และที่สำคัญเส้นทางของทวีกิจกว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ธรรมดาเพราะต้องฝ่าฟันวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ชนิดแทบเอาตัวไม่รอดด้วยพลังของผู้ชายหัวใจสิงห์ที่ชื่อ “ทวี โรจนสินวิไล” ผู้ก่อตั้ง กับปราณี โรจนสินวิไล ภรรยาและลูก ๆ จนสามารถกลับมาเริ่มต้นธุรกิจได้อีกครั้งในปี 2545 ภายใต้ชื่อ “ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์”
นอกจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ คือ ทวีกิจ พลาซ่า, ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และทวีกิจคอมเพล็กซ์ จังหวัดสระบุรีแล้ว ยังมีร้านค้าสาขาในอาณาจักรทวีกิจอีก 165 สาขา กระจายอยู่ในพื้นที่อีสานใต้ อาทิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม นครราชสีมา สระแก้ว และอุบลราชธานี
วันนี้ ทวีกิจ ขยายสาขาไปตามอำเภอ และตำบลต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง รวมแล้ว 165 สาขา และจะขยายสาขาต่อไปอย่างน้อยปีละ 10 สาขา โดยเน้นนโยบายทำเลจากใกล้ไปไกล ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปแและยังยืนยันที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่มีแผนขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด
ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจดังเดิม ที่ว่า “ทวีกิจนำความประหยัดและความสุขไปสู่ชุมชน” ที่สำคัญ ทวีกิจทุกสาขา ไม่ขายเหล้า เบียร์ บุหรี่ แม้ว่าจะมียอดขายและกำไรที่ดีมากก็ตาม ตามสโลแกนที่ว่า ทวีกิจไม่ขายเหล้าเบียร์ บุหรี่ เพราะเราห่วงใยคุณและทุกคนในครอบครัว
ปัจจุบัน ทวีกิจ บริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 2 ที่ยอมรับว่า การเปิดตัวของโมเดิร์นเทรดในจังหวัดบุรีรัมย์ทำให้ทวีกิจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมองว่าคู่แข่งที่เข้ามาทำให้ทวีกิจได้พัฒนาห้างอย่างก้าวกระโดดเพื่อสามารถแข่งขันและรองรับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างเต็มที่
“ดรุณี -ศิรินันท์ โรจนสินวิไล” บอกถึงโครงการชิมช๊อปใช้ว่า เป็นโครงการที่ดีมาก จังหวัดบุรีรัมย์โชคดีตรงที่ช่วงเริ่มโครงการ ตรงกับช่วงงาน โมโตจีพี 4-5-6 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นงานใหญ่ระดับโลก ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติกว่า 200,000 คน เมื่อมีโครงการชิมช๊อปใช้ นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตั้งใจมางานนี้จึงลงทะเบียนเลือกจังหวัดบุรีรัมย์ ห้างทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ มีผู้ที่มาใช้บริการ ชิมช๊อปใช้จำนวนมาก เกินคาดการณ์ ตัวเลขยอดขายโตประมาณ 20-25%
ทั้งนี้ ลูกค้าที่มาใช้บริการ มีมาจากหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น โคราช ฯลฯ
ในส่วนของแคมเปญนี้ คิดว่าเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนทั่วไป สนับสนุนให้เกิดการใช้จ่าย การเดินทาง การท่องเที่ยว ทำให้เกิดกระแสการไหลเวียนของเม็ดเงินจำนวนมากไปยังร้านค้า ชุมชน ทั่วทุกจังหวัดทุกภาคของประเทศ
ส่วนกลยุทธ์หลักที่ทำให้ค้าปลีกท้องถิ่นอยู่ได้คือ ประการสำคัญคือต้องยืนหยัดและปรับตัวตามสถานการณ์ ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และไม่ยอมแพ้ โดยเฉพาะต้องไม่แพ้ภัยตัวเองซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนสิ่งที่ท้าทายสำหรับเธอคือ การสานต่อกิจการของครอบครัวให้ก้าวหน้าเจริญเติบโตต่อไปเพราะคุณพ่อทำมาดีแล้ว การรักษามาตรฐานที่ดีและการบริการลูกค้าเป็นสิ่งที่เธอต้องยึดไว้ให้มั่น ที่สำคัญ ทวีกิจได้จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ โครงการต้นกล้าคุณธรรม มอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เป็นเด็กเก่งและดีมีน้ำใจ เรียนดีแต่ขาดแคลน โครงการติวภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟรี สนับสนุนโครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะมอบสิ่งดีๆ สู่ชุมชนและสังคม
ถือเป็นการปิดฉากชิมช้อปใช้เฟสแรกอย่างสวยงามสำหรับค้าปลีกภูธรที่ปลุกความคึกคักขึ้นมาทันตาเห็น ท่ามกลางวงล้อมของค้าปลีกจากส่วนกลาง เสมือนฟ้ามาโปรดก็มิปาน
อดใจรอเฟส 2 ชิมช้อปใช้ที่จะประกาศรายละเอียดในเร็วๆ นี้