Biznews

“ทางรอดของ Developer” เมื่อลูกค้าเปลี่ยน เราต้องปรับ

มีคำถามว่า พฤติกรรมผู้บริโภคทุกวันนี้เป็นอย่างไร จากข้อมูลของ www.smartsme.tv ระบุว่า หากพูดถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค 4.0 มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปออกมาเป็น 4C ดังต่อไปนี้

1) Current มีความทันต่อยุคสมัย เวลา เช่น ผู้บริโภคมีความต้องการรับประทานอาหารไม่เพียงแค่อิ่มท้องเท่านั้น แต่มีความต้องการรับประทานอาหารสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารออแกนิก ซึ่งผู้ประกอบการที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับกระแสที่เกิดขึ้น

2) consistent ความคาดหวังต่อคุณภาพที่เห็นบน Packaging เมื่อซื้อมาใช้หรือรับประทานเข้าไปต้องได้ตรงตามที่บอกไว้ สิ่งที่การันตี สร้างความเชื่อใจให้กับลูกค้าได้ คือเครื่องหมายมาตรฐานต่างๆ ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3) Connect มีการเชื่อมต่อในทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่เพียงผู้ค้ากับผู้บริโภค แต่ยังรวมไปถึงผู้ค้ากับผู้ค้า ผู้บริโภคกับผู้บริโภค กลายเป็นชุมชนขึ้นมา

4) Created ผู้บริโภคจะคาดหวังการสร้างสรรค์ ต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ เช่น อาหาร อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสร้างไลฟ์สไตล์แบบใหม่ สามารถต่อยอดสร้างสรรค์ไปจากเดิม

มองผู้บริโภคในวันข้างหน้า

ด้วยยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้บริโภคในยุค 4.0 จะมีลักษณะของการศึกษา ค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านทางกูเกิล แตกต่างจากเมื่อก่อนที่มักใช้สินค้าประเภทเดียวกัน ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องการหาข้อมูลมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีการวางแผนให้ดี ทำความเข้าใจต่อผู้บริโภคว่า เมื่อทำสินค้าออกมาแล้วต้องการสื่อสารอะไรไปยังผู้บริโภค จะเสนอคุณสมบัติเด่นอะไรเป็นตัวชูโรงให้ผู้บริโภคสนใจ และที่ลืมไม่ได้ คือ นวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสินค้า ซึ่งจะช่วยให้สินค้าน่าดึงดูดยิ่งขึ้น

คราวนี้มาดูในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กันบ้าง รายใหญ่คงไม่ต้องพูดถึงเพราะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกันไปแล้ว ขณะที่ Developer ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ วิธีคิดใหม่เช่นเดียวกัน

เว็บไซด์ TerraBKK จัดเสวนาเรื่อง “ทางรอดของ Developer” เมื่อลูกค้าเปลี่ยน เราต้องปรับ ด้วยการโฟกัสกลุ่มคน Gen Y หรือกลุ่มคนที่เกิดอยู่ในช่วง พ.ศ.2523 – 2537 ซึ่งมีอายุระหว่าง 25-37 ปี ซึ่งเป็นวัยเข้าสู่เริ่มต้นเข้าสู่ตลาดแรงงานและเริ่มมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัย จึงกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการอสังหาฯ

จกการเสวนาดังกล่าว “สุมิตรา วงภักดี ” กรรมการผู้จัดการ TerraBKK สรุปว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจนมี 4 ประการคือ 1.พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จากการเข้ามาของเทคโลยีดิจิทัลต่างๆ 2.สินค้าเปลี่ยน ที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้ทันสมัยขึ้น อาทิ แสนสิริ ใช้ PROPTECH เข้ามาใช้งาน รวมทั้งจัดแคมเปญแนวใหม่เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น WINTER MARKET FEST ค่ายอนันดา ใช้ URBANTECH และจัดกิจกรรม FREEFORM FESTIVAL แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ใช้รูปแบบ Urban เป็นต้น 3.ส่วนประสมทางการตลาดเปลี่ยน โดยเฉพาะกลุ่มคนเจน y ที่เสพติดเทคโนโลยีผ่านโมบาย ชื่นชอบการหาประสบการณ์ สินค้าที่ชอบต้องเป็นยูนีคเท่านั้น 4. ช้อปปิ้งมอลล์ทีมีรูปแบบเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนให้ทันด้วยการรูปแบบออมนิชาแนลเข้ามาใช้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทุกแคมเปญสื่อถึงกันเพราะทุกวันนี้คนไม่มีเหตุในการตัดสินใจซื้อเสมอไป แต่จะดูจาก 3 ปัจจัยคือ EMOTIONS ,SOCIAL และ ENVIROMENT จึงต้องทำให้ง่ายเข้าไว้ สรา้งบรรยากาศให้เกิดและง่ายต่อการตัดสินใจ

นอกจากนี้ จากจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซด์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจน y ที่เข้ามาหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้งบ้านมือสองและโครงการใหม่พบว่า คนเจน y จะให้ความสำคัญกับบ้านทาวน์โฮมหรือบ้านเดี่ยวระดับราคา 1.2-2.3 ล้านบาทคือไม่เกิด 3 ล้านบาท มากกว่า ส่วนใหญ่พบว่ารายได้ไม่เพียงพอคือไม่อยากก่อหนี้โดยไม่จำเป็นเพราะมีภาระอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น บัตรเครดิต ผ่อนรถ เป็นต้น

จามรี เกศตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสูงสุด สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB มองว่า Gen Y เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก ของ SCB มีสูงถึง 35% และเติบโตขึ้นเกือบ 30% จากปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 20% และเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมใช้สื่อออนไลน์มาก ดังน้ัน Developer ต้องทำความเข้าใจให้ดีและปรับใหม่ให้เข้ากับออนไลน์ เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีปรับเปลี่ยนได้ง่ายและเร็วกว่ารายใหญ่ที่มีขั้นตอนการทำงานที่หลากหลาย ด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกดิประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร

โดยจากข้อมูลครึ่งปีแรก 2560 พบว่ารายใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดถึง 78% และรายย่อยมีส่วนแบ่งเพียง 22% เท่านั้น

นางสาวภัทรีดา ภัทรธราดล ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ภัทรีดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในฐานะ Developer รายเล็ก กล่าวว่า เดิมครอบครัวของเธอในรุ่นคุณพ่อดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมากว่า 30 ปี ต่อมาในรุ่นตนซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ได้ขยายไลน์มาพัฒนาอสังหาฯมา 7-8 ปี จากเดิมพัฒนาปีละ 1 โครงการ ปัจจุบันสามารถพัฒนาได้ปีละ 5 โครงการ เพราะมีความต้องการที่จะพัฒนาโครงการให้เทียบเท่ารายใหญ่ จึงได้ศึกษาข้อมูลว่าลูกค้าเราคือใคร จนได้คำตอบว่าเป็น Gen Y ซึ่งมีพฤติกรรมที่หลากหลายมาก นิยมค้นหาข้อมูลทางออนไลน์เพื่อมาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งแม้จะใช้ระยะเวลาในการเลือกช้า แต่ตัดสินใจเร็วมาก จึงต้องทำความเข้าใจลูกค้าทุกมิติและพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์และเข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

โดยปีนี้มีแผนเปิดโครงการแนวราบ 2 แห่งบริเวณปทุมและรังสิต มูลค่าโครงการกว่า 400 ล้านบาท รวมกว่า 170 ยูนิต ราคาเริ่มต้น2.5 ล้านบาทขึ้นไป จับกลุ่มคนเจน y เป็นหลัก และเธอบอกว่าเธอมีต้นทุนคือพื้นฐานงานก่อสรา้งมาจากคุณพ่อ เพียงใส่ดีไซน์ให้เข้าตัวตนของกลุ่มลูกค้าของเธอซึ่งแต่ละโครงการจะไม่เหมือนกัน

นอกจากนี้ ในฐานะที่ยังเป็นรายเล็กที่พนักงาน 1 คนต้องทำหลายสายงานแตกต่างจากบริษัทใหญ่ เธอจึงต้องใช้ตัวช่วยเพื่อให้องค์กรเกิดประวิทธิภาพด้วยการดุงโปรแกรมภายนอกเข้ามาใช้งานบวกกับใช้ข้อมูลรีเสริชมาช่วยอีกแรงก็จะทำให้รายเล็กๆ อย่างเธอสามารถอยู่รอดได้ในวงการอสังหาริมทรัพย์ได้

เจน Y ถือเป็นยุคที่ย้อนแย้งในตัว ช้าแต่เร็ว จึงต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและตรงจุด จึงจะได้ใจคนเจน Y

อีกทั้งธุรกิจอสังหา เป็นธุรกิจที่เข้าง่าย แต่ออกยาก

ดังน้ัน เมื่อลุลูกค้าเปลี่ยน เราต้องปรับ เพื่อความอยู่รอด

Related Articles

Back to top button
X
%d bloggers like this: