ครอบครัวอาเซียนยังเป็น Traditional
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ “HILL ASEAN” (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN) คลังสมองทางวิชาการที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2557 โดยบริษัทฮาคูโดโด อิงค์ บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น เผยผลการวิจัยล่าสุด เจาะลึกความคิดและพฤติกรรมของ sei-katsu-sha[1] ในหัวข้อ “New perspectives on Gender Equality at Home: บ้านนี้ใครสตรอง?” ภายในงานสัมมนา ASEAN SEI-KATSU-SHA FORUM 2017 ครั้งที่ 4
งานวิจัยเชิงลึกชิ้นนี้เป็นการสำรวจการแบ่งความรับผิดชอบเรื่องงานบ้าน และการเลี้ยงดูบุตรของคู่สามีและภรรยาในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงกระบวนการคิดของทั้งคู่ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ที่สำคัญยังแนะนำกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อให้โดนใจคนกลุ่มนี้มากที่สุด ทั้งนี้ HILL ASEAN (ฮิลล์ อาเซียน) จัดงานสัมมนาลักษณะนี้เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับ sei-katsu-sha ซึ่งเป็นคำนิยามที่ริเริ่มโดยฮาคูโฮโด หมายถึงการศึกษาปัจเจกบุคคลในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างรอบด้าน
ปัจจุบัน ความเท่าเทียมทางเพศ ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากในสังคมโลก HILL ASEAN จึงได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาศึกษาในมุมมองของ sei-katsu-sha โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องความเท่าเทียมระหว่างคู่สามีภรรยา
จากงานวิจัยพบว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนปัจจุบันมีลักษณะครอบครัวแบบ Traditional หรือ “ครอบครัวแบบดั้งเดิม” ที่สามีทำงานนอกบ้านและภรรยาเป็นฝ่ายดูแลงานบ้านและเลี้ยงลูกน้อยลงคิดเป็นสัดส่วนเพียง 22.7% เท่านั้น ขณะที่ครอบครัวส่วนใหญ่ทุกวันนี้มักแบ่งหน้าที่การทำงานบ้านและเลี้ยงดูลูกร่วมกันมากกว่า ในสัดส่วนมากถึง 75.7% โดยครอบครัวลักษณะดังกล่าวสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ ครอบครัวแบบ Task-based Sharing หรือ “ครอบครัวที่แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนตามภาระงาน” โดยสามีและภรรยาจะช่วยกันทำงานบ้านและเลี้ยงดูลูกโดยแบ่งหน้าที่อย่างเท่าเทียม ประเภทที่ 2 คือ ครอบครัวแบบ Flexible Sharing หรือ “ครอบครัวที่สามีและภรรยาช่วยกันทำงานทุกอย่างและสลับหน้าที่กันได้ตามความสะดวกของแต่ละคน” นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าครอบครัวแบบ Switched หรือ “ครอบครัวที่สามีและภรรยาสลับบทบาทหน้าที่กัน (Switched) คือ ภรรยาเป็นฝ่ายASEAN_En_0102.pngทำงานนอกบ้าน ขณะที่สามีอยู่บ้านคอยดูแลงานบ้านและเลี้ยงลูก ปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 1.5%
งานวิจัยชิ้นนี้ได้แบ่งประเภทครอบครัว ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ประเภทที่ 1) Traditional หรือครอบครัวแบบดั้งเดิม ซึ่งสามีทำงานนอกบ้าน ขณะที่ภรรยารับผิดชอบดูแลงานบ้านและเลี้ยงลูก ประเภทที่ 2) Task-based Sharing หรือครอบครัวที่ช่วยกันทำงานโดยแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน โดยสามีและภรรยาจะช่วยกันทำงานบ้านและเลี้ยงดูลูกโดยแบ่งหน้าที่อย่างเท่าเทียม ประเภทที่ 3) Flexible Sharing หรือครอบครัวที่ช่วยกันทำงานตามความสะดวกของแต่ละคน โดยครอบครัวประเภทนี้ สามีและภรรยาจะช่วยกันรับผิดชอบงานทุกอย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านทั่วไป การเลี้ยงลูก และงานอื่นๆ ตามเวลาที่แต่ละคนสะดวก และประเภทที่ 4) Switched หรือครอบครัวที่สลับบทบาทหน้าที่กัน ครอบครัวแบบนี้ภรรยาจะเป็นฝ่ายทำงานนอกบ้าน ขณะที่สามีจะคอยดูแลทำงานบ้านและเลี้ยงลูก
ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่า แต่ละกลุ่มมีระดับความพึงพอใจต่อการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน โดยคู่สามีภรรยาในครอบครัวประเภทที่ 2 นั้น มีความพอใจมากต่อการจัดสรรหน้าที่ที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่าครอบครัวแต่ละประเภทยังมีขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าที่แตกต่างกันอีกด้วย
3 เหตุผลที่ทำให้ครอบครัวอาเซียนแบ่งหน้าที่กันทำ
1. สามีและภรรยาทำงานนอกบ้าน: มากกว่า 80% ของครอบครัวในอาเซียน คู่สามีและภรรยาทำงานด้วยกันทั้งคู่
2. การส่งเสริมบทบาทสตรี: มุมมองความคิดที่มีต่อผู้หญิงเกี่ยวกับการทำงาน และความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
3. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เส้นแบ่งระหว่างเพศจางลง: ปัจจุบันเราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในการทำงานและการเลี้ยงดูบุตรได้
ระดับความพึงพอใจของครอบครัวทั้ง 4 ประเภท
จากการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจมีการแปรผันไปในครอบครัวแต่ละประเภท ทั้งนี้ ครอบครัวแบบ Task-based Sharing ที่มีการแชร์ความรับผิดชอบร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน เป็นกลุ่มที่มีความพึงพอใจสูงสุด และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจระหว่างกลุ่มสามีและกลุ่มภรรยา ยังมีความแตกต่างกันน้อยที่สุดอีกด้วย
· พื้นที่ที่สำรวจ: สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) กรุงเทพฯ (ไทย) จาการ์ตา (อินโดนีเซีย) โฮจิมินห์ ซิตี้ (เวียดนาม)